ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อนุญาตให้สถาบันการเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าที่ชำระภาษีอากร
โดยใช้บัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.และบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตร
เครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าภาษีอากร
แก่กรมสรรพากร โดยอนุญาตให้สถาบันการเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าที่ชำระภาษีอากรโดย
ใช้บัตรเครดิต เนื่องจากเห็นว่าทำให้ประชาชนมีช่องทางในการชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมที่สถาบัน
การเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บต้องอยู่ในอัตราไม่เกิน 2% ของยอดภาษีอากรที่รับชำระผ่านบัตรเครดิต และเป็น
จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 2 พันบาท ต่อการรับชำระภาษีอากรผ่านบัตรเครดิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์ 2)
2. คาดว่าการส่งออกปี 49 จะขยายตัว 17% อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออก
ของปี 48 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 15.3% มูลค่าการส่งออก 111,288 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็น
ตัวเลขที่น่าพอใจ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะขยายตัวสูงถึง 20% มูลค่า 115,837 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ก็ตาม สำหรับเป้าหมายการส่งออกในปี 49 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 17.5% เทียบ
กับฐานปี 48 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 130,794 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ
ราคาน้ำมันที่จะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยอย่าง
มาก (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจีดีพีภาคการเกษตรปี 48 จะลดลง 1.7% สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
รายงานว่า ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 48 โดยเฉพาะปัญหาสึนามิ ปัญหาน้ำมันแพง ภาวะฝนทิ้งช่วง และปัญหาน้ำ
ท่วมฉับพลันในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรลดลงอย่างมาก แต่เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูง
ขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลัง มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นชดเชยได้ระดับหนึ่ง ทว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการ
เกษตรหรือจีดีพียังคงลดลงกว่า 1.7% ทั้งนี้ การลดลงของจีดีพีภาคการเกษตรประมาณ 1.7% เป็นผลมาจากสาขา
พืชลดลง 2.72% สาขาประมงลดลง 3.71% และสาขาบริการทางการเกษตรลดลง 2.41% ส่วนสาขาที่ปรับตัวสูง
ขึ้น ประกอบด้วย สาขาปศุสัตว์ขยายตัว 9.05% และสาขาป่าไม้ขยายตัว 7.21% นอกจากนี้ สศก.ได้คาดการณ์จีดีพี
ภาคการเกษตรปี 49 โดยคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 48 เกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาป่าไม้เพียงสาขาเดียวที่
ลดลง (ผู้จัดการรายวัน 2)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในเดือน ธ.ค. 48 รายงานจากโตเกียว เมื่อวัน
ที่ 30 ธ.ค. 48 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. ทางการญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 21 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด นับตั้งแต่ที่เคยเป็นเช่นนี้เมื่อปี 34 โดยการเข้าแทรก
แซงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 47 ที่ทางการญี่ปุ่นขายเยนเพื่อหยุดยั้งการแข็งค่าของเงินเยน โดยเงินเยนใน
ขณะนั้นมีค่าประมาณ 108.60 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ที่ผ่านมาเป็นเวลา 15 เดือนนับถึงเดือน มี.ค.
47 ทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลงโดยการขายเยนถึง 35 ล้านล้าน
เยน (298 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าหากเงินเยนแข็งค่าเกินไปจะกระทบต่อการส่งออก
ของญี่ปุ่น และส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้
บริโภคในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินเยนเมื่อเทียบกับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.อยู่ที่ประมาณ 117.30 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 12.5 นับตั้งแต่ต้นปี 48 (รอยเตอร์)
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดของมาเลเซียในไตรมาสที่ 3/48 เกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2/48 ร้อยละ
6.7 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของมาเลเซียเปิดเผยว่า ในไตร
มาสที่ 3 ปี 48 มาเลเซียเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 อยู่ที่ระดับ 19.1 พัน ล. ริงกิต (5.05 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจากระดับ 17.9 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เนื่องจากการเกินดุล
ในบัญชีสินค้า และการฟื้นตัวของการขาดดุลบริการ และบัญชีเงินโอน ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ
60.4 อยู่ที่ระดับ 17 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 10.6 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้
การส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ต่างก็เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 อยู่ที่
ระดับ 138 พัน ล. ริงกิต เพิ่มขึ้นจากระดับ 131.4 พัน ล. ริงกิตในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการนำเข้าที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 อยู่ที่ระดับ 107.9 พัน ล. ริงกิต สำหรับการขาดดุลบัญชีบริการลดลงประมาณ 600 ล้าน
ริงกิตอยู่ที่ 1.6 พัน ล. ลดลงจากระดับ 2.2 พัน ล. ริงกิตในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการขาดดุลในส่วน
ประกอบของการท่องเที่ยวลดลง (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
3 ม.ค.48 จากประมาณการล่วงหน้าของรัฐบาลโดยดูจากตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเดือน ต.ค.
และ พ.ย.48 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 จะขยายตัว ร้อยละ 9.7 ต่อปี สูงกว่าที่ผลสำรวจ
รอยเตอร์คาดไว้ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปีในไตรมาสก่อน โดยเศรษฐกิจขยายตัวใน
ทุกภาคเศรษฐกิจสำคัญทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการและการก่อสร้าง โดยภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ
ส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 48 จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยา
วิศวกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจขยาย
ตัวในอัตราเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี จากการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกเมื่อธุรกิจโรงแรม
ภัตตาคารและร้านค้าดีขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลวันหยุด และแม้แต่ภาคการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะซบเซามานานก็ยังขยาย
ตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันโดยขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปีจากการลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
เช่น คาสิโน 2 แห่งและอาคารศูนย์การเงินริมน้ำ นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ
5.7 ต่อปีในปี 48 หลังจากขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปีในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้น 2.16 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 3 ม.ค.49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
ของเกาหลีใต้ (ซึ่งเป็นประเทศที่มีทุนสำรองฯ สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก) ณ สิ้นเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่
จำนวน 210.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 208.23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ย.48 หรือเพิ่ม
ขึ้น 2.16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจาก ธ.กลางมีกำไรจากการลงทุนในพันธบัตรและหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มิใช่
เงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 90 ทั้งนี้ ตลาดเงินเฝ้าติดตามทุนสำรองฯ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงของทุนสำรองฯ สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการแทรกแซง โดย ธ.กลางในตลาดเงินหรือไม่ ขณะที่ผู้ค้าเงิน
อ้างว่ามีการแทรกแซงด้วยการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. โดย ธ.กลาง เพื่อให้เงินสกุลวอนมีการเคลื่อนไหวอย่างมี
เสถียรภาพในครึ่งเดือนหลังของ เดือน ธ.ค.48 แม้ว่าจะมีการขายเงินดอลลาร์ สรอ.โดยผู้ส่งออกในประเทศ
อย่างมากก็ตาม อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 ในครึ่งหลังของเดือน ธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 ในครึ่งเดือนแรก ธ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ม.ค. 48 30 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.071 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8852/41.1746 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.15078 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 713.73/ 13.66 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 9,950/10,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.43 53.33 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 24 ธ.ค. 48 26.04*/23.49* 26.04*/23.49* 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.อนุญาตให้สถาบันการเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าที่ชำระภาษีอากร
โดยใช้บัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.และบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตร
เครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าภาษีอากร
แก่กรมสรรพากร โดยอนุญาตให้สถาบันการเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าที่ชำระภาษีอากรโดย
ใช้บัตรเครดิต เนื่องจากเห็นว่าทำให้ประชาชนมีช่องทางในการชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมที่สถาบัน
การเงินและนอนแบงก์เรียกเก็บต้องอยู่ในอัตราไม่เกิน 2% ของยอดภาษีอากรที่รับชำระผ่านบัตรเครดิต และเป็น
จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 2 พันบาท ต่อการรับชำระภาษีอากรผ่านบัตรเครดิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์ 2)
2. คาดว่าการส่งออกปี 49 จะขยายตัว 17% อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออก
ของปี 48 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 15.3% มูลค่าการส่งออก 111,288 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็น
ตัวเลขที่น่าพอใจ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะขยายตัวสูงถึง 20% มูลค่า 115,837 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ก็ตาม สำหรับเป้าหมายการส่งออกในปี 49 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 17.5% เทียบ
กับฐานปี 48 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 130,794 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ
ราคาน้ำมันที่จะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยอย่าง
มาก (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจีดีพีภาคการเกษตรปี 48 จะลดลง 1.7% สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
รายงานว่า ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 48 โดยเฉพาะปัญหาสึนามิ ปัญหาน้ำมันแพง ภาวะฝนทิ้งช่วง และปัญหาน้ำ
ท่วมฉับพลันในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรลดลงอย่างมาก แต่เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูง
ขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลัง มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นชดเชยได้ระดับหนึ่ง ทว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการ
เกษตรหรือจีดีพียังคงลดลงกว่า 1.7% ทั้งนี้ การลดลงของจีดีพีภาคการเกษตรประมาณ 1.7% เป็นผลมาจากสาขา
พืชลดลง 2.72% สาขาประมงลดลง 3.71% และสาขาบริการทางการเกษตรลดลง 2.41% ส่วนสาขาที่ปรับตัวสูง
ขึ้น ประกอบด้วย สาขาปศุสัตว์ขยายตัว 9.05% และสาขาป่าไม้ขยายตัว 7.21% นอกจากนี้ สศก.ได้คาดการณ์จีดีพี
ภาคการเกษตรปี 49 โดยคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 48 เกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาป่าไม้เพียงสาขาเดียวที่
ลดลง (ผู้จัดการรายวัน 2)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในเดือน ธ.ค. 48 รายงานจากโตเกียว เมื่อวัน
ที่ 30 ธ.ค. 48 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. ทางการญี่ปุ่นมิได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 21 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด นับตั้งแต่ที่เคยเป็นเช่นนี้เมื่อปี 34 โดยการเข้าแทรก
แซงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 47 ที่ทางการญี่ปุ่นขายเยนเพื่อหยุดยั้งการแข็งค่าของเงินเยน โดยเงินเยนใน
ขณะนั้นมีค่าประมาณ 108.60 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ที่ผ่านมาเป็นเวลา 15 เดือนนับถึงเดือน มี.ค.
47 ทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลงโดยการขายเยนถึง 35 ล้านล้าน
เยน (298 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าหากเงินเยนแข็งค่าเกินไปจะกระทบต่อการส่งออก
ของญี่ปุ่น และส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้
บริโภคในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินเยนเมื่อเทียบกับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.อยู่ที่ประมาณ 117.30 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 12.5 นับตั้งแต่ต้นปี 48 (รอยเตอร์)
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดของมาเลเซียในไตรมาสที่ 3/48 เกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2/48 ร้อยละ
6.7 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของมาเลเซียเปิดเผยว่า ในไตร
มาสที่ 3 ปี 48 มาเลเซียเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 อยู่ที่ระดับ 19.1 พัน ล. ริงกิต (5.05 พัน
ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจากระดับ 17.9 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เนื่องจากการเกินดุล
ในบัญชีสินค้า และการฟื้นตัวของการขาดดุลบริการ และบัญชีเงินโอน ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ
60.4 อยู่ที่ระดับ 17 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 10.6 พัน ล. ริงกิต ในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้
การส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ต่างก็เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 อยู่ที่
ระดับ 138 พัน ล. ริงกิต เพิ่มขึ้นจากระดับ 131.4 พัน ล. ริงกิตในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการนำเข้าที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 อยู่ที่ระดับ 107.9 พัน ล. ริงกิต สำหรับการขาดดุลบัญชีบริการลดลงประมาณ 600 ล้าน
ริงกิตอยู่ที่ 1.6 พัน ล. ลดลงจากระดับ 2.2 พัน ล. ริงกิตในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการขาดดุลในส่วน
ประกอบของการท่องเที่ยวลดลง (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
3 ม.ค.48 จากประมาณการล่วงหน้าของรัฐบาลโดยดูจากตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเดือน ต.ค.
และ พ.ย.48 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 จะขยายตัว ร้อยละ 9.7 ต่อปี สูงกว่าที่ผลสำรวจ
รอยเตอร์คาดไว้ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปีในไตรมาสก่อน โดยเศรษฐกิจขยายตัวใน
ทุกภาคเศรษฐกิจสำคัญทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการและการก่อสร้าง โดยภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ
ส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 48 จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยา
วิศวกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจขยาย
ตัวในอัตราเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี จากการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกเมื่อธุรกิจโรงแรม
ภัตตาคารและร้านค้าดีขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลวันหยุด และแม้แต่ภาคการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะซบเซามานานก็ยังขยาย
ตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันโดยขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปีจากการลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
เช่น คาสิโน 2 แห่งและอาคารศูนย์การเงินริมน้ำ นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ
5.7 ต่อปีในปี 48 หลังจากขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปีในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้น 2.16 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 3 ม.ค.49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
ของเกาหลีใต้ (ซึ่งเป็นประเทศที่มีทุนสำรองฯ สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก) ณ สิ้นเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่
จำนวน 210.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 208.23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ย.48 หรือเพิ่ม
ขึ้น 2.16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจาก ธ.กลางมีกำไรจากการลงทุนในพันธบัตรและหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มิใช่
เงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 90 ทั้งนี้ ตลาดเงินเฝ้าติดตามทุนสำรองฯ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงของทุนสำรองฯ สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการแทรกแซง โดย ธ.กลางในตลาดเงินหรือไม่ ขณะที่ผู้ค้าเงิน
อ้างว่ามีการแทรกแซงด้วยการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. โดย ธ.กลาง เพื่อให้เงินสกุลวอนมีการเคลื่อนไหวอย่างมี
เสถียรภาพในครึ่งเดือนหลังของ เดือน ธ.ค.48 แม้ว่าจะมีการขายเงินดอลลาร์ สรอ.โดยผู้ส่งออกในประเทศ
อย่างมากก็ตาม อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 ในครึ่งหลังของเดือน ธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 ในครึ่งเดือนแรก ธ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ม.ค. 48 30 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.071 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8852/41.1746 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.15078 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 713.73/ 13.66 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 9,950/10,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.43 53.33 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 24 ธ.ค. 48 26.04*/23.49* 26.04*/23.49* 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--