..สุกร..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทุกพื้นที่ ยกเว้นภาคใต้ที่ราคา ยังคงทรงตัว เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ทำให้ราคาสุกรยังคงอยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.91 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.55 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74
..ไก่เนื้อ..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อยังคงทรงตัวที่สัปดาห์ละ 12-13 ล้านตัว ในขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้อ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกจะขจัดไข้หวัดนกให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2550 ซึ่งการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันเอ็กซเรย์พื้นที่ที่เคยมีการระบาดตลอดทั้งปี ถือว่าสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่พอใจ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค พร้อมทั้งออกมาตรการปรับโครงสร้างการเลี้ยงสัตว์ปีกเข้าสู่ระบบฟาร์มเลี้ยงในโรงเรือนทั้งไก่พื้นบ้าน ไก่ชน และเป็ดไล่ทุ่ง
สำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เปิดเผยว่า พบไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แพร่ระบาดในประเทศไนจีเรียซึ่งเป็นพื้นที่การระบาดแห่งแรกในทวีปแอฟริกา จึงได้มีการเตรียมใช้มาตรการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่กับฟาร์มไก่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงในเมืองญาญี เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสไข้หวัดนกแพร่เชื้อ ไปสู่มนุษย์ได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.78 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.49
..ไข่ไก่..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงในทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดวันละประมาณ 27-28 ล้านฟอง ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ที่ประมาณวันละ 23-24 ล้านฟอง ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินในตลาดมากขึ้น ภาครัฐ-ภาคเอกชนมีมาตรการที่จะเก็บ ผลผลิตส่วนเกินในตลาดเพื่อรักษาระดับราคาไว้ไม่ให้ตกต่ำมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 202 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 192บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 239 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 186 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 228 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไข่เป็ด..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 262 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 267 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 221 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..โค..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.72 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.05 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
..กระบือ..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.56 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.99 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 6-12 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทุกพื้นที่ ยกเว้นภาคใต้ที่ราคา ยังคงทรงตัว เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ทำให้ราคาสุกรยังคงอยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.91 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.55 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74
..ไก่เนื้อ..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อยังคงทรงตัวที่สัปดาห์ละ 12-13 ล้านตัว ในขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้อ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกจะขจัดไข้หวัดนกให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2550 ซึ่งการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันเอ็กซเรย์พื้นที่ที่เคยมีการระบาดตลอดทั้งปี ถือว่าสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่พอใจ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค พร้อมทั้งออกมาตรการปรับโครงสร้างการเลี้ยงสัตว์ปีกเข้าสู่ระบบฟาร์มเลี้ยงในโรงเรือนทั้งไก่พื้นบ้าน ไก่ชน และเป็ดไล่ทุ่ง
สำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เปิดเผยว่า พบไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แพร่ระบาดในประเทศไนจีเรียซึ่งเป็นพื้นที่การระบาดแห่งแรกในทวีปแอฟริกา จึงได้มีการเตรียมใช้มาตรการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่กับฟาร์มไก่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงในเมืองญาญี เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสไข้หวัดนกแพร่เชื้อ ไปสู่มนุษย์ได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.78 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.49
..ไข่ไก่..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงในทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดวันละประมาณ 27-28 ล้านฟอง ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ที่ประมาณวันละ 23-24 ล้านฟอง ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินในตลาดมากขึ้น ภาครัฐ-ภาคเอกชนมีมาตรการที่จะเก็บ ผลผลิตส่วนเกินในตลาดเพื่อรักษาระดับราคาไว้ไม่ให้ตกต่ำมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 202 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 192บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 239 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 186 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 228 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไข่เป็ด..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 262 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 267 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 221 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..โค..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.72 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.05 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
..กระบือ..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.56 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.99 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 6-12 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-