รายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 15ธันวาคม 2549
คำต่อคำ - คลิ๊กฟังเสียง
ผู้ดำเนินรายการสวัสดีคะ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีครับ ขอคุยเรื่องข่าวที่ดังที่สุดของวันนี้แล้วกันค่ะ เรื่องของไอทีวี กับชะตากรรมที่กำลังจะต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องมา ไม่ทราบว่าคุณอภิสิทธิ์มีความเห็นยังไงบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์สวัสดีครับ คือผมคิดว่าสิ่งที่มันทำให้คนตกใจคือเห็นตัวเลขค่าปรับ เป็นแสนล้านและขณะนี้ก็คือตามเงื่อนไขก็คือ 45 วัน ซึ่งก็ผมคิดว่าทุกคนก็มองดูแล้วว่ามันคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากนะครับ แต่ว่าผมคิดว่าประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญ แล้วก็สำคัญกว่าเรื่องค่าปรับก็คือเรื่องของเจตนารมย์ของการมีไอทีวี เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องค่าปรับกันในรูปแบบไหนอย่างไรในเชิงของธุรกิจ ผมว่าเป้าหมายที่สำคัญกว่าสำหรับส่วนรวม สำหรับประชาชนแล้วก็คงจะเป็นเป้าหมายสำหรับรัฐบาลก็คือว่าทำอย่างไรให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับมาเป็นทีวีเสรีตามเจตนารมย์ตอนที่เขาก่อตั้งนะครับ
ตอนที่ก่อตั้งเป็นผลพวงชัดเจนมาจากการต่อสู้ของประชาชน สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 นะครับ แล้วก็เป้าหมายที่เกิดขึ้นก็คือการครอบงำสื่อโทรทัศน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยรัฐเป็นปัญหาต่อเรื่องของประชาธิปไตยและก็เป็นปัญหาต่อการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาบ้านเมืองนะครับ ก็ต้องการที่จะเห็นสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งตั้งต้นตั้งแต่การเปลี่ยนโครงสร้างในลักษณะของความเป็นเจ้าของ แล้วก็ตั้งเป้าไว้ชัดเจนว่าจะเป็นโทรทัศน์ที่ให้เนื้อหาสาระกับข่าวสารของประชาชนเป็นหลัก แล้วก็มีการดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลของท่านนายกอานันท์ มาเสร็จสิ้นเอาในสมัยรัฐบาลท่านนายกชวน หลังจากนั้นมาที่มันเกิดปัญหาว่าตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นและต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขสัญญาและก็รวมไปถึงข้อพิพาทนำมาสู่เรื่องการเปลี่ยนสัดส่วนผังรายการ และก็นำมาสู่ปัญหาเรื่องข้อพิพาทและค่าปรับที่ว่า
ซึ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่าเป้าหมายสุดท้ายนี่คือว่าต้องกลับไปทำไอทีวีเป็นไปตามเจตนารมย์เดิมนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าทำได้นะครับ แล้วก็ทำได้โดยไม่น่าจะกระทบกระเทือนต่อคนทำงานด้วยนะครับ แต่ว่าสิ่งที่จะต้องปรับแก้ไปก็คือในเรื่องของส่วนของผู้บริหารและเรื่องของในแง่ของสัญญาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวสถานีกับรัฐบาล เงื่อนไขในการให้สัมปทาน
ผู้ดำเนินรายการคือความเป็นเจ้าของกับรูปแบบโครงสร้างของการบริหาร มันจะนำไปสู่เป้าหมายและเจตนารมย์ดั้งเดิมของไอทีวีด้วย นะครับ
คุณอภิสิทธิ์แต่จริง ๆ แล้วกรอบของการบังคับให้เป็นโทรทัศน์ที่มีความแตกต่าง มันกำหนดอยู่ตั้งแต่วันที่มีการอนุญาตให้ดำเนินการ ต้องเคร่งครัดตรงนั้น แล้วก็อย่าไปกังวลเรื่องอื่นจนทำให้มามีผลกระทบต่อเรื่องนี้ ถ้าไปตั้งเป้าว่าการกำหนดกรอบอย่างนี้แล้วเนี่ยเป็นอุปสรรคต่อการหารายได้ หรือว่าจะส่งผลต่อรายได้ที่มีส่งเข้ารัฐอะไรต่าง ๆ ผมว่าเราก็ผ่าน เพราะว่าเหตุผลที่ทำสถานีโทรทัศน์นี้มาตั้งแต่ต้นที่ว่าไม่ต้องการเอาเรื่องของการเมือง ในเรื่องของผลประโยชน์ของเชิงพาณิชย์เนี่ยมาเป็นตัวตั้ง ในการกำหนดการทำงานว่าให้กำหนดเป้าหมายของการเป็นสื่อที่รับใช้สังคมนี่เป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้นมันต้องหวนกลับไปตรงนั้นให้ได้
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยไหมครับว่าทำไมเบื้องต้นรัฐอาจจะต้องยึดคืนมาแล้วก็เอามาทำเป็นสื่อสาธารณะนะครับ
คุณอภิสิทธิ์ผมคิดว่าเราจะไปใช้คำว่ายึดคืนมันจะฟังดูน่ากลัวนะครับ เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือเอกชนที่เขาจะต้องทำงานกับรัฐ แต่ว่าประเด็นก็คือว่าต้องมาประเมินก่อนว่าทางบริษัทขณะนี้อยู่ในฐานะที่จะปฎิบัติตามสัญญาได้หรือเปล่า แต่ว่าเมื่อมันเกิดเหตุการณ์การผิดสัญญาขึ้นมานั่นจึงเป็นจังหวะหรือเป็นเวลาที่ต้องมาพูดกันว่าแล้วจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์หรือโครงสร้างความเป็นเจ้าของ
ผู้ดำเนินรายการคือถึงแม้ว่าจะมีการเพิกถอนสัมปทานอะไรกันไป คุณอภิสิทธิ์คิดว่าถ้าเกิดว่าไม่ว่าจะอยู่ในมือใครก็ตามก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ผิดสัญญาใช่ไหมคะ
คุณอภิสิทธิ์ครับ ก็คือถ้ามันผิดสัญญาแล้วเท่ากับมันเดินต่อไม่ได้นะครับ ภายใต้กรอบสัญญาเดิมก็ต้องมาทำกันใหม่
ผู้ดำเนินรายการทีนี้มันพูดขยายความจากเรื่องไอทีวีไปถึงขั้นตอน คือมีหลากหลายความเห็น คือนักวิชาการบางท่านก็พูดกันว่าถึงขนาดว่าเทมาเส็กอาจจะมาฟ้องศาลแพ่งให้กลุ่มชินชดใช้ คุณทักษิณกับครอบครัวกลับมาชดใช้
คุณอภิสิทธิ์ผมว่าอันนั้นมันไม่ใช่เรื่องของภาครัฐนะครับ สมมติเทมาเส็กเขามีความรู้สึกว่าตอนที่เขามาลงทุนในเรื่องชินเขาไม่ได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้หรือไรก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายไปว่ากัน ไม่ได้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปเกี่ยวข้องด้วย
ผู้ดำเนินรายการคือมีบางคนจะกลัวอย่างนี้ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ มองว่าอีกหน่อยต่อไปต่างชาติก็จะไม่กล้ามาตกลงอะไรกับเรา เพราะว่าเวลามาตกลงนี้ก็ระดับผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองทั้งนั้นใช่ไหมคะ และก็เป็นเรื่องสัมปทานเรื่องอะไรต่ออะไรอย่างนี้
คุณอภิสิทธิ์ผมเชื่อว่าจะมาบอกว่ามาตกลงเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ของบ้านเมืองคงไม่ได้ เพราะว่าที่ผ่านมารู้สึกทั้งผู้ซื้อผู้ขายก็ยืนยันเป็นเรื่องธุรกิจล้วน ๆ แล้วก็ไม่ควรจะมีเรื่องของตำแหน่งหรือความมีอำนาจในทางการเมืองเข้ามาเป็นตัว เป็นปัจจัย ยิ่งถ้าเป็นเท่ากับการทำธุรกิจที่ไม่สุจริตนะพูดง่าย ๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคงไม่ช้า เพราะเรื่องนี้ ผมคิดว่าถ้าเกิดมีการฟ้องร้องกันอะไรก็ต้องเป็นเรื่องที่ว่ากันไปตามกระบวนการของธุรกิจ และก็หน้าที่ของศาลถ้ามีการฟ้องร้องกัน ก็คือให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเท่านั้นเอง และมันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการที่จะเป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบายอย่างนี้ไป ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการที่มันปฎิบัติตามสัญญากันไม่ได้
ผู้ดำเนินรายการค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเรื่องนี้จะต้องเป็นเรื่องในระหว่างประเทศอะไรก็ต้องก็ต้องชี้ให้ชัดว่ามันธุรกิจล้วน ๆ
คุณอภิสิทธิ์ดังนั้นก็ต้องขีดวงว่าเป็นเรื่องธุรกิจล้วน ๆ ครับถ้าเขาจะมีปัญหากัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกันอะไรกับนโยบายของรัฐ
ผู้ดำเนินรายการครับ อีกเรื่องหนึ่งนะครับ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดูเหมือนว่าวันนี้พูดกันเรื่องที่มาของนายกฯ กันเยอะครับ มุมมองคุณอภิสิทธิ์กับเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง
คุณอภิสิทธิ์คือที่จริงแล้วกระบวนการก็ยังไม่ได้เริ่มต้นนะครับ แต่ว่าคาดว่าสิ้นเดือนนี้คงจะได้ทราบหน้าตาของสภาร่างรัฐธรรมนูญนะครับ แล้วก็ประเด็นเนี่ยผมก็ไม่ทราบว่าที่เป็นข่าวกันออกมามันเป็นความคิดที่มาจากผู้ที่จะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังมากน้อยขนาดไหน แต่ว่าผมก็มีความรู้สึกเป็นห่วงว่าพอจะเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาก็เริ่มจะนำไปสู่ประเด็นความขัดแย้งนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะเห็นมากกว่าก็คือว่าการตั้งหลักให้ชัดนะครับว่าประชาธิปไตยของไทยเนี่ยมันเดินมาไกลนะครับ
รัฐธรรมนูญปี 2540 แม้ว่าจะมีปัญหาเพราะว่าถูกบิดเบือน ถูกทำลายเจตนารมย์หรืออะไรก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่งนะครับ และหลักการสำคัญ ๆ ที่มันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยไทย โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การที่จะต้องมีกลไกการตรวจสอบ การเข้าสู่อำนาจการใช้อำนาจนะครับ การที่ผู้บริหารประเทศมาจากประชาชน และก็สามารถทำงานด้วยการสะท้อนเจตนารมย์ของประชาชนได้ คือสิ่งเหล่านี้คนไปถอยหลัง ไม่ควรไปแตะต้องนะครับ ถ้าทำผมว่ามันมีแต่จะสร้างเงื่อนไขของความขัดแย้ง ความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นนะครับ แต่ว่าเป้าหมายหลักของการจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งนี้ควรจะเป็นการไปปิดช่องว่างและไปแก้จุดอ่อนนะครับ ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามากกว่า
ผู้ดำเนินรายการครับ เพราะฉะนั้นไม่เห็นด้วยใช่ไหมครับว่าจะไปเปิดช่องนายกฯคนนอกแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำเป็นอย่างที่มีคนพูดกันก็ตาม
คุณอภิสิทธิ์คือสำหรับผู้ที่ คือเอาว่าโดยหลักปกติก่อนนะครับ คือหลักปกติถ้าเกิดเห็นตรงกันว่าก็ควรจะมาจากส.ส.ก็ดีแล้วนะครับ แต่ว่าถ้าหากว่าจะมีความห่วงใยว่าเกิดเหตุการณ์คับขัน มีสถานการณ์พิเศษเนี่ยก็คงจะต้องฟังจากผู้เสนอมั้งครับ คำว่าสถานการณ์พิเศษที่ว่ามันเป็นลักษณะไหน มันจะเกิดขึ้นอย่างไรนะครับ
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์ครับ เอาละครับขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ สวัสดีคะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 15ธันวาคม 2549
คำต่อคำ - คลิ๊กฟังเสียง
ผู้ดำเนินรายการสวัสดีคะ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีครับ ขอคุยเรื่องข่าวที่ดังที่สุดของวันนี้แล้วกันค่ะ เรื่องของไอทีวี กับชะตากรรมที่กำลังจะต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องมา ไม่ทราบว่าคุณอภิสิทธิ์มีความเห็นยังไงบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์สวัสดีครับ คือผมคิดว่าสิ่งที่มันทำให้คนตกใจคือเห็นตัวเลขค่าปรับ เป็นแสนล้านและขณะนี้ก็คือตามเงื่อนไขก็คือ 45 วัน ซึ่งก็ผมคิดว่าทุกคนก็มองดูแล้วว่ามันคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากนะครับ แต่ว่าผมคิดว่าประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญ แล้วก็สำคัญกว่าเรื่องค่าปรับก็คือเรื่องของเจตนารมย์ของการมีไอทีวี เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องค่าปรับกันในรูปแบบไหนอย่างไรในเชิงของธุรกิจ ผมว่าเป้าหมายที่สำคัญกว่าสำหรับส่วนรวม สำหรับประชาชนแล้วก็คงจะเป็นเป้าหมายสำหรับรัฐบาลก็คือว่าทำอย่างไรให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับมาเป็นทีวีเสรีตามเจตนารมย์ตอนที่เขาก่อตั้งนะครับ
ตอนที่ก่อตั้งเป็นผลพวงชัดเจนมาจากการต่อสู้ของประชาชน สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 นะครับ แล้วก็เป้าหมายที่เกิดขึ้นก็คือการครอบงำสื่อโทรทัศน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยรัฐเป็นปัญหาต่อเรื่องของประชาธิปไตยและก็เป็นปัญหาต่อการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาบ้านเมืองนะครับ ก็ต้องการที่จะเห็นสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งตั้งต้นตั้งแต่การเปลี่ยนโครงสร้างในลักษณะของความเป็นเจ้าของ แล้วก็ตั้งเป้าไว้ชัดเจนว่าจะเป็นโทรทัศน์ที่ให้เนื้อหาสาระกับข่าวสารของประชาชนเป็นหลัก แล้วก็มีการดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลของท่านนายกอานันท์ มาเสร็จสิ้นเอาในสมัยรัฐบาลท่านนายกชวน หลังจากนั้นมาที่มันเกิดปัญหาว่าตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นและต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขสัญญาและก็รวมไปถึงข้อพิพาทนำมาสู่เรื่องการเปลี่ยนสัดส่วนผังรายการ และก็นำมาสู่ปัญหาเรื่องข้อพิพาทและค่าปรับที่ว่า
ซึ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่าเป้าหมายสุดท้ายนี่คือว่าต้องกลับไปทำไอทีวีเป็นไปตามเจตนารมย์เดิมนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าทำได้นะครับ แล้วก็ทำได้โดยไม่น่าจะกระทบกระเทือนต่อคนทำงานด้วยนะครับ แต่ว่าสิ่งที่จะต้องปรับแก้ไปก็คือในเรื่องของส่วนของผู้บริหารและเรื่องของในแง่ของสัญญาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวสถานีกับรัฐบาล เงื่อนไขในการให้สัมปทาน
ผู้ดำเนินรายการคือความเป็นเจ้าของกับรูปแบบโครงสร้างของการบริหาร มันจะนำไปสู่เป้าหมายและเจตนารมย์ดั้งเดิมของไอทีวีด้วย นะครับ
คุณอภิสิทธิ์แต่จริง ๆ แล้วกรอบของการบังคับให้เป็นโทรทัศน์ที่มีความแตกต่าง มันกำหนดอยู่ตั้งแต่วันที่มีการอนุญาตให้ดำเนินการ ต้องเคร่งครัดตรงนั้น แล้วก็อย่าไปกังวลเรื่องอื่นจนทำให้มามีผลกระทบต่อเรื่องนี้ ถ้าไปตั้งเป้าว่าการกำหนดกรอบอย่างนี้แล้วเนี่ยเป็นอุปสรรคต่อการหารายได้ หรือว่าจะส่งผลต่อรายได้ที่มีส่งเข้ารัฐอะไรต่าง ๆ ผมว่าเราก็ผ่าน เพราะว่าเหตุผลที่ทำสถานีโทรทัศน์นี้มาตั้งแต่ต้นที่ว่าไม่ต้องการเอาเรื่องของการเมือง ในเรื่องของผลประโยชน์ของเชิงพาณิชย์เนี่ยมาเป็นตัวตั้ง ในการกำหนดการทำงานว่าให้กำหนดเป้าหมายของการเป็นสื่อที่รับใช้สังคมนี่เป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้นมันต้องหวนกลับไปตรงนั้นให้ได้
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยไหมครับว่าทำไมเบื้องต้นรัฐอาจจะต้องยึดคืนมาแล้วก็เอามาทำเป็นสื่อสาธารณะนะครับ
คุณอภิสิทธิ์ผมคิดว่าเราจะไปใช้คำว่ายึดคืนมันจะฟังดูน่ากลัวนะครับ เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือเอกชนที่เขาจะต้องทำงานกับรัฐ แต่ว่าประเด็นก็คือว่าต้องมาประเมินก่อนว่าทางบริษัทขณะนี้อยู่ในฐานะที่จะปฎิบัติตามสัญญาได้หรือเปล่า แต่ว่าเมื่อมันเกิดเหตุการณ์การผิดสัญญาขึ้นมานั่นจึงเป็นจังหวะหรือเป็นเวลาที่ต้องมาพูดกันว่าแล้วจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์หรือโครงสร้างความเป็นเจ้าของ
ผู้ดำเนินรายการคือถึงแม้ว่าจะมีการเพิกถอนสัมปทานอะไรกันไป คุณอภิสิทธิ์คิดว่าถ้าเกิดว่าไม่ว่าจะอยู่ในมือใครก็ตามก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ผิดสัญญาใช่ไหมคะ
คุณอภิสิทธิ์ครับ ก็คือถ้ามันผิดสัญญาแล้วเท่ากับมันเดินต่อไม่ได้นะครับ ภายใต้กรอบสัญญาเดิมก็ต้องมาทำกันใหม่
ผู้ดำเนินรายการทีนี้มันพูดขยายความจากเรื่องไอทีวีไปถึงขั้นตอน คือมีหลากหลายความเห็น คือนักวิชาการบางท่านก็พูดกันว่าถึงขนาดว่าเทมาเส็กอาจจะมาฟ้องศาลแพ่งให้กลุ่มชินชดใช้ คุณทักษิณกับครอบครัวกลับมาชดใช้
คุณอภิสิทธิ์ผมว่าอันนั้นมันไม่ใช่เรื่องของภาครัฐนะครับ สมมติเทมาเส็กเขามีความรู้สึกว่าตอนที่เขามาลงทุนในเรื่องชินเขาไม่ได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้หรือไรก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายไปว่ากัน ไม่ได้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปเกี่ยวข้องด้วย
ผู้ดำเนินรายการคือมีบางคนจะกลัวอย่างนี้ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ มองว่าอีกหน่อยต่อไปต่างชาติก็จะไม่กล้ามาตกลงอะไรกับเรา เพราะว่าเวลามาตกลงนี้ก็ระดับผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองทั้งนั้นใช่ไหมคะ และก็เป็นเรื่องสัมปทานเรื่องอะไรต่ออะไรอย่างนี้
คุณอภิสิทธิ์ผมเชื่อว่าจะมาบอกว่ามาตกลงเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ของบ้านเมืองคงไม่ได้ เพราะว่าที่ผ่านมารู้สึกทั้งผู้ซื้อผู้ขายก็ยืนยันเป็นเรื่องธุรกิจล้วน ๆ แล้วก็ไม่ควรจะมีเรื่องของตำแหน่งหรือความมีอำนาจในทางการเมืองเข้ามาเป็นตัว เป็นปัจจัย ยิ่งถ้าเป็นเท่ากับการทำธุรกิจที่ไม่สุจริตนะพูดง่าย ๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคงไม่ช้า เพราะเรื่องนี้ ผมคิดว่าถ้าเกิดมีการฟ้องร้องกันอะไรก็ต้องเป็นเรื่องที่ว่ากันไปตามกระบวนการของธุรกิจ และก็หน้าที่ของศาลถ้ามีการฟ้องร้องกัน ก็คือให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเท่านั้นเอง และมันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการที่จะเป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบายอย่างนี้ไป ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการที่มันปฎิบัติตามสัญญากันไม่ได้
ผู้ดำเนินรายการค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเรื่องนี้จะต้องเป็นเรื่องในระหว่างประเทศอะไรก็ต้องก็ต้องชี้ให้ชัดว่ามันธุรกิจล้วน ๆ
คุณอภิสิทธิ์ดังนั้นก็ต้องขีดวงว่าเป็นเรื่องธุรกิจล้วน ๆ ครับถ้าเขาจะมีปัญหากัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกันอะไรกับนโยบายของรัฐ
ผู้ดำเนินรายการครับ อีกเรื่องหนึ่งนะครับ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดูเหมือนว่าวันนี้พูดกันเรื่องที่มาของนายกฯ กันเยอะครับ มุมมองคุณอภิสิทธิ์กับเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง
คุณอภิสิทธิ์คือที่จริงแล้วกระบวนการก็ยังไม่ได้เริ่มต้นนะครับ แต่ว่าคาดว่าสิ้นเดือนนี้คงจะได้ทราบหน้าตาของสภาร่างรัฐธรรมนูญนะครับ แล้วก็ประเด็นเนี่ยผมก็ไม่ทราบว่าที่เป็นข่าวกันออกมามันเป็นความคิดที่มาจากผู้ที่จะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังมากน้อยขนาดไหน แต่ว่าผมก็มีความรู้สึกเป็นห่วงว่าพอจะเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาก็เริ่มจะนำไปสู่ประเด็นความขัดแย้งนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะเห็นมากกว่าก็คือว่าการตั้งหลักให้ชัดนะครับว่าประชาธิปไตยของไทยเนี่ยมันเดินมาไกลนะครับ
รัฐธรรมนูญปี 2540 แม้ว่าจะมีปัญหาเพราะว่าถูกบิดเบือน ถูกทำลายเจตนารมย์หรืออะไรก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่งนะครับ และหลักการสำคัญ ๆ ที่มันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยไทย โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การที่จะต้องมีกลไกการตรวจสอบ การเข้าสู่อำนาจการใช้อำนาจนะครับ การที่ผู้บริหารประเทศมาจากประชาชน และก็สามารถทำงานด้วยการสะท้อนเจตนารมย์ของประชาชนได้ คือสิ่งเหล่านี้คนไปถอยหลัง ไม่ควรไปแตะต้องนะครับ ถ้าทำผมว่ามันมีแต่จะสร้างเงื่อนไขของความขัดแย้ง ความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นนะครับ แต่ว่าเป้าหมายหลักของการจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งนี้ควรจะเป็นการไปปิดช่องว่างและไปแก้จุดอ่อนนะครับ ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามากกว่า
ผู้ดำเนินรายการครับ เพราะฉะนั้นไม่เห็นด้วยใช่ไหมครับว่าจะไปเปิดช่องนายกฯคนนอกแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำเป็นอย่างที่มีคนพูดกันก็ตาม
คุณอภิสิทธิ์คือสำหรับผู้ที่ คือเอาว่าโดยหลักปกติก่อนนะครับ คือหลักปกติถ้าเกิดเห็นตรงกันว่าก็ควรจะมาจากส.ส.ก็ดีแล้วนะครับ แต่ว่าถ้าหากว่าจะมีความห่วงใยว่าเกิดเหตุการณ์คับขัน มีสถานการณ์พิเศษเนี่ยก็คงจะต้องฟังจากผู้เสนอมั้งครับ คำว่าสถานการณ์พิเศษที่ว่ามันเป็นลักษณะไหน มันจะเกิดขึ้นอย่างไรนะครับ
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์ครับ เอาละครับขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ สวัสดีคะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--