นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงว่า จากนวัตกรรมใหม่ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) เพื่อมุ่งที่จะสร้างเครื่องมือในการติดตามบริหารจัดการเครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคเป็นรายเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ได้ประมาณการไว้ ที่เรียกว่า Macroeconomic Management Charts (MMC) ซึ่ง 1 ใน 9 MMC ที่มีข้อมูลจริงเดือนกุมภาพันธ์ออกมาแล้ว คือ Export - Import Management Chart โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มูลค่าสินค้าส่งออกอยู่ที่ 9,515.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 22.9 ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ในระดับมาก ในขณะที่มูลค่าสินค้านำเข้าอยู่ที่ 9,801.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ในระดับปานกลาง การขยายตัวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ
ดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ขาดดุล -286.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าที่คาดไว้ที่ -691 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลลดลงจากเดือนมกราคมที่ขาดดุล -442 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้ารวม 2 เดือนแรกของปี 2549 ขาดดุล -728.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าใน 2 เดือนแรกจะขาดดุลถึง -1,676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยสรุป การที่มูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวในอัตราเร็วกว่ามูลค่าการนำเข้า แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับและสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2549 และหากดูจากข้อมูลจริง 2 เดือน จะเห็นว่าทั้งปี 2548 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลน้อยกว่าที่เราคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งถือว่าเสถียรภาพยังมีความมั่นคงในระดับที่น่าพอใจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2549 28 มีนาคม 49--
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มูลค่าสินค้าส่งออกอยู่ที่ 9,515.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 22.9 ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ในระดับมาก ในขณะที่มูลค่าสินค้านำเข้าอยู่ที่ 9,801.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ในระดับปานกลาง การขยายตัวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ
ดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ขาดดุล -286.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าที่คาดไว้ที่ -691 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลลดลงจากเดือนมกราคมที่ขาดดุล -442 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้ารวม 2 เดือนแรกของปี 2549 ขาดดุล -728.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าใน 2 เดือนแรกจะขาดดุลถึง -1,676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยสรุป การที่มูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวในอัตราเร็วกว่ามูลค่าการนำเข้า แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับและสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2549 และหากดูจากข้อมูลจริง 2 เดือน จะเห็นว่าทั้งปี 2548 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลน้อยกว่าที่เราคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งถือว่าเสถียรภาพยังมีความมั่นคงในระดับที่น่าพอใจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2549 28 มีนาคม 49--