สศก. แจง ภาวะการผลิตเงาะ ทุเรียน และมังคุดปี 2549 มีผลผลิตโดยรวมลดลงจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ด้าน กษ. เตรียมของบ คชก. 50 ล้าน กระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต พร้อมเร่งผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น คาด มาตรการดังกล่าวจะช่วยพยุงราคาที่เกษตรกรขายได้ไม่ให้ตกต่ำลง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประมาณการผลิตผลไม้ ปี 2549 ได้แก่ เงาะ ซึ่งมีผลผลิตทั้งประเทศประมาณ 476,500 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11 ทุเรียนมีผลผลิตประมาณ 596,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 และมังคุดมีผลผลิตประมาณ 171,800 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 14 โดยแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด และระยอง มีผลผลิตทุเรียนลดลงร้อยละ 8 เงาะลดลงร้อยละ 12 และมังคุดลดลงร้อยละ 47 ซึ่งสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน สำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ผลผลิตเงาะลดลงร้อยละ 8 ทุเรียนลดลงร้อยละ 10 ขณะที่มังคุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สาเหตุมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาการติดดอกและออกผล
จากการที่ผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกในปีนี้ลดลง และออกช้ากว่าปกติประมาณ 1 เดือน คาดว่า ปัญหาราคาผลไม้ปีนี้อาจไม่รุนแรง โดยราคาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คือ ราคาเงาะโรงเรียนที่เกษตรกรขายได้เกรดคละ อยู่ระหว่างกิโลกรัม 8 - 9 บาท ทุเรียนหมอนทองเกรด A อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 14 - 15 บาท และมังคุดเกรด A อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 18 - 20 บาท และคาดว่าราคาจะโน้มต่ำลงในช่วงต้นเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาราคาซึ่งอาจจะตกต่ำได้ในช่วงดังกล่าว จังหวัดนนทบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณจังหวัดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)จำนวน 11 ล้านบาท และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเร่งกระจายผลผลิตในช่วงออกตลาดมาก ไปสู่ตลาดปลายทาง โดยร่วมกับห้างสรรพสินค้า ได้แก่ เทสโก้ โลตัส, คาร์ฟู, ท็อป, แม็คโคร และบิ๊กซี เป็นต้น นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะของบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) 50 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในกรณีที่ราคาผลไม้ตกต่ำอีกทางหนึ่งด้วย พร้อมทั้งเร่งผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยพยุงราคาเงาะ ทุเรียน และมังคุดที่เกษตรกรขายได้ไม่ให้ตกต่ำลง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประมาณการผลิตผลไม้ ปี 2549 ได้แก่ เงาะ ซึ่งมีผลผลิตทั้งประเทศประมาณ 476,500 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11 ทุเรียนมีผลผลิตประมาณ 596,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 และมังคุดมีผลผลิตประมาณ 171,800 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 14 โดยแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด และระยอง มีผลผลิตทุเรียนลดลงร้อยละ 8 เงาะลดลงร้อยละ 12 และมังคุดลดลงร้อยละ 47 ซึ่งสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน สำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ผลผลิตเงาะลดลงร้อยละ 8 ทุเรียนลดลงร้อยละ 10 ขณะที่มังคุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สาเหตุมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาการติดดอกและออกผล
จากการที่ผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกในปีนี้ลดลง และออกช้ากว่าปกติประมาณ 1 เดือน คาดว่า ปัญหาราคาผลไม้ปีนี้อาจไม่รุนแรง โดยราคาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คือ ราคาเงาะโรงเรียนที่เกษตรกรขายได้เกรดคละ อยู่ระหว่างกิโลกรัม 8 - 9 บาท ทุเรียนหมอนทองเกรด A อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 14 - 15 บาท และมังคุดเกรด A อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 18 - 20 บาท และคาดว่าราคาจะโน้มต่ำลงในช่วงต้นเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาราคาซึ่งอาจจะตกต่ำได้ในช่วงดังกล่าว จังหวัดนนทบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณจังหวัดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)จำนวน 11 ล้านบาท และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเร่งกระจายผลผลิตในช่วงออกตลาดมาก ไปสู่ตลาดปลายทาง โดยร่วมกับห้างสรรพสินค้า ได้แก่ เทสโก้ โลตัส, คาร์ฟู, ท็อป, แม็คโคร และบิ๊กซี เป็นต้น นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะของบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) 50 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในกรณีที่ราคาผลไม้ตกต่ำอีกทางหนึ่งด้วย พร้อมทั้งเร่งผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยพยุงราคาเงาะ ทุเรียน และมังคุดที่เกษตรกรขายได้ไม่ให้ตกต่ำลง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-