สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทำให้มีผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบมากเพราะเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดและเฝ้าระวังแทบทุกพื้นที่ ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคหวาดกลัวในการบริโภคและสัมผัสไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ด้านการส่งออก ขณะนี้สหภาพยุโรป (EU) ได้เตรียมกำหนดโควตาภาษี(Tariff Quota)นำเข้าสินค้าไก่จากทั่วโลรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องเกษตรกรและอุตสาหกรรมภายใน ซึ่ง EU ได้ยื่นข้อเสนอไปยัง WTO เพื่อขอแก้ไขตารางที่ผูกพันไว้ใน WTO ขอให้การนำเข้าสินค้าไก่อีก 3 รายการเข้ามาอยู่ในระบบโควตาภาษี ซึ่งประกอบด้วยไก่ปรุงสุก ไก่งวง และไก่หมักเกลือ และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 15 กันยายน 2549 ซึ่งไทยได้เตรียมรับสถานการณ์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้มีการหารือกับสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก เพื่อจัดทำข้อมูลเสนอ EU ที่จะขอขยายโควตาภาษีนำเข้าไก่ปรุงสุก(เสียภาษี 10.3%) ที่ปริมาณ 200,000 ตัน ไก่หมักเกลือ 100,000 ตันต่อปี ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะใช้ฐานตัวเลขจากการส่งออกในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ถ้าหาก EU พิจารณาให้ไทยต่ำกว่าข้อเสนอก็จะต้องเจรจากันในรายละเอียดเรื่องการชดเชยผลประโยชน์ต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.44 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.85 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.70 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.56
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7-13 สิงหาคม 2549
-พห-
สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทำให้มีผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบมากเพราะเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดและเฝ้าระวังแทบทุกพื้นที่ ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคหวาดกลัวในการบริโภคและสัมผัสไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ด้านการส่งออก ขณะนี้สหภาพยุโรป (EU) ได้เตรียมกำหนดโควตาภาษี(Tariff Quota)นำเข้าสินค้าไก่จากทั่วโลรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องเกษตรกรและอุตสาหกรรมภายใน ซึ่ง EU ได้ยื่นข้อเสนอไปยัง WTO เพื่อขอแก้ไขตารางที่ผูกพันไว้ใน WTO ขอให้การนำเข้าสินค้าไก่อีก 3 รายการเข้ามาอยู่ในระบบโควตาภาษี ซึ่งประกอบด้วยไก่ปรุงสุก ไก่งวง และไก่หมักเกลือ และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 15 กันยายน 2549 ซึ่งไทยได้เตรียมรับสถานการณ์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้มีการหารือกับสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก เพื่อจัดทำข้อมูลเสนอ EU ที่จะขอขยายโควตาภาษีนำเข้าไก่ปรุงสุก(เสียภาษี 10.3%) ที่ปริมาณ 200,000 ตัน ไก่หมักเกลือ 100,000 ตันต่อปี ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะใช้ฐานตัวเลขจากการส่งออกในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ถ้าหาก EU พิจารณาให้ไทยต่ำกว่าข้อเสนอก็จะต้องเจรจากันในรายละเอียดเรื่องการชดเชยผลประโยชน์ต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.44 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.85 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.70 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.56
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7-13 สิงหาคม 2549
-พห-