สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพครับ ผมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรครับ ก่อนอื่นก็คงต้องกล่าวสวัสดีปีใหม่นะครับ วันนี้ก็เป็นวันแรกของปีพ.ศ. 2549 ที่เราได้มีโอกาสพบกันแล้วก็เช่นเคยครับในช่วงท้ายรายการสัก 10 นาทีนะครับ ผมจะเปิดโอกาสให้ท่านผู้ฟังที่ต้องการที่จะพูดคุย หรือสนทนา สอบถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโทรศัพท์เข้ามาในรายการนี้ได้นะครับ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 — 244 1482 — 3 นะครับและก็ 02 — 2410055 ก็หวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่า พี่น้องประชาชนคนไทย และท่านผู้ฟังทุกท่านก็ได้พักผ่อนตามสมควรในช่วงของเทศกาลปีใหม่นะครับและวันนี้เป็นวันเริ่มต้นการทำงานของภาคราชการนะครับ ความจริงเมื่อวานนี้พี่น้องในภาคเอกชนได้เริ่มทำงานไปแล้ว 1 วันนะครับ ก็หวังว่าพวกเราจะมีพลังมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการทำงานตลอดปีใหม่นี้ ปี 2549 ให้เป็นปีที่ดีสำหรับทุก ๆ คนและเป็นปีที่ดีสำหรับสังคมไทย ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีมหามงคลของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ครับ
เช้าวันนี้ผมคงจะต้องขอพูดถึงเรื่องของปัญหาที่เราคงจะต้องมีการดำเนินการต่อในฐานะที่เป็นฝ่ายค้านในฐานะที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ เริ่มต้นก่อนปีใหม่ผมก็ได้เดินทางลงไปที่ภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง ที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะในอำเภอที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ พี่น้องประชาชนคนไทย จำนวนมากอาจจะไม่ทราบว่าน้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีหลายพื้นที่ซึ่งยังเจอกับสภาพปัญหาน้ำท่วมขัง และก็ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าน้ำจะระบายลงสู่ทะเลได้ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้อยู่ติดกับทะเลบ้าง อยู่ติดกับทะเลสาบบ้าง และก็ระดับของน้ำใกล้เคียงกัน ฉะนั้นการที่จะปล่อยให้น้ำระบายลงไป หรือรอให้น้ำแห้งนั้นคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เมื่อวันที่ 29 วันพฤหัสที่แล้วหลังจากที่ผมได้พบกับท่านผู้ฟังไปในรายการนี้ 1 วัน ก็ได้เดินทางลงไปที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสร์สินธุ์ อำเภอสะทิงพระ และอำเภอปากมูล ก็คือ 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ก็ได้มีโอกาสนำของที่พี่น้องประชาชนได้ร่วมบริจาคเข้ามาผ่านพรรคประชาธิปัตย์ไปพบปะและนำสิ่งของเหล่านั้นให้แก่พี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน แต่ว่าที่สำคัญก็คืออย่างนี้ครับว่า แม้ว่าน้ำจะลดระดับลงแล้ว ปัญหาใน 3 จังหวัด หรือในพื้นที่ที่ผมได้ไปเยี่ยมเช่นเดียวกับในอีกหลายพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังต่อเนื่อง ก็จะมีตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยากให้ระมัดระวังเรื่องของโรคระบาดหลังน้ำลด และก็ในพื้นที่เหล่านั้นนอกเหนือจากคนแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือโรคระบาดสัตว์ เพราะว่าพี่น้องประชาชนจำนวนมากมีสัตว์เลี้ยง และช่วงที่มีน้ำท่วมขังก็นำสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นมาอยู่ปะปนบนท้องถนน มีเต้นท์ที่ส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกางเอาไว้ให้ ก็อยากให้ระมัดระวังตรงนี้และกรมปศุสัตว์คงจะต้องเข้าไปดำเนินการในการดูแลทั้งเรื่องของวัคซีน เรื่องของยาต่าง ๆ ด้วย เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องนี้อยู่แล้ว นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเพราะว่าสิ่งที่สำคัญก็คือการฟื้นฟูในเรื่องของอาชีพ และการประกอบอาชีพ ทำมาหากินของพี่น้องประชาชนนั่นเอง ซึ่งก็มีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมหลากหลายกันไป แล้วแต่พื้นที่ เช่น ในหลายพื้นที่ปลูกข้าว ฉะนั้นก็สูญเสียในเรื่องของนาข้าว แล้วก็มีความต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือเรื่องของพันธุ์ข้าว ที่จะต้องมีการดำเนินการให้การช่วยเหลือไป เพื่อที่จะได้เริ่มต้นกันใหม่ มีความเสียหายเกิดขึ้นจากบ่อปลา นากุ้ง ซึ่งเช่นเดียวกันก็ต้องการพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อที่จะต้องมีการเข้าไปช่วยกันฟื้นฟู ทั้งอาชีพและรายได้ของพี่น้องเกษตรกร มีพี่น้องชาวสวนยางที่ได้รับความเสียหาย ไม่เพียงแต่ในช่วงของน้ำท่วม แต่ว่าเวลาที่ฝนตกอากาศชื้น พี่น้องเหล่านี้ก็ขาดรายได้จากการกรีดยาง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรที่จะต้องดูแลพี่น้องในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
มีประเด็นที่ได้มีการนำเสนออีกหลายประเด็นครับในแง่ของการฟื้นฟูพื้นที่ขึ้นมา เช่น ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานถนน สะพาน ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย ส่วนไหนที่ทางท้องถิ่นเขาพอดูแลได้ ก็ไม่กังวลใจหรอกครับเพราะว่าเขาก็พร้อมที่จะดำเนินการ แต่ว่าในบางเรื่อง ในบางพื้นที่ความเสียหายมากกว่าท้องถิ่นจะรับได้หรือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น อันนี้ก็คงมีความจำเป็นที่ทางหน่วยงานส่วนกลางส่วนภูมิภาคจะต้องเร่งเข้าไปดูแล และก็อีกส่วนหนึ่งครับซึ่งหลายคนก็มองข้ามไปคือ ช่วงที่น้ำท่วมขังอยู่ เด็ก ๆ ของเราที่นั่นก็ไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะว่าโรงเรียนปิด โรงเรียนถูกน้ำท่วม หรือว่าโรงเรียนปิดเพราะพี่น้องประชาชน ครูบา อาจารย์ นักเรียนไม่พร้อม ก็หยุดไปนานพอสมควร สิ่งที่เป็นความห่วงใยในพื้นที่ก็คือว่าทำอย่างไรจะเร่งรัดในเรื่องของการเรียนการสอนให้ทัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ประถม 3 ประถม 6 ซึ่งจะต้องมีการสอบในช่วงเดือนมีนาคม อย่างนี้เป็นต้น หรือว่าเด็กในระดับชั้นที่จะต้องมีการสอบระดับประเทศ ในช่วงเดือนมีนานคม ก็คงต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการจะไปจัดตารางเรียน ตารางสอนอย่างไร หรือว่าจะต้องมีการผ่อนผันหรืออย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคงจะต้องมีการพิจารณา ซึ่งทั้งหมดนี้ที่ผมได้เดินทางลงพื้นที่ไป ได้เชิญส.ส.ในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมกันด้วย ก็ได้มีการสรุปถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้พอสมควร เช่นเดียวกับการประเมินสภาพปัญหา การบริหารจัดการ การบริหารความช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ และก็ได้มีความเห็นชอบ เห็นพ้องต้องกันว่าจะได้มีการทำการสรุปประเมินความเสียหาย และก็ขอให้ทางรัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมาแล้ว โดยจะสรุปเป็นเอกสารเป็นรายงานไปได้มอบหมายให้ ส.ส. วินัย เสนเนียม เพราะว่าพื้นที่ของท่านหลายอำเภอ ดูจะได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสมากที่สุด เป็นหัวหน้าคณะในการที่จะสรุปปัญหาเหล่านี้
ยิ่งไปกว่านั้นเรามองไปไกลว่าการแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องการช่วยเหลือเฉพาะหน้า และการฟื้นฟูอาชีพ คือเราได้มองถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว เกี่ยวกับเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จากการที่เมื่อฝนตกหนักมาแล้วมีน้ำท่วม และมีน้ำท่วมขังมากเป็นประวัติการณ์ สอบถามหลายคนบอกว่าหนักกว่าปี 2531 หนักกว่าปี 2518 หลายคนบอกว่าหนักที่สุดในชีวิตที่เคยประสบมา ซึ่งก็ได้มีการมองดูถึงการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางหนึ่งก็คือเรื่องของโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยในเรื่องของการระบายน้ำเห็นได้ชัดในกรณีของลุ่มน้ำปากพนังได้รับประโยชน์อย่างมากจากโครงการพระราชดำริ ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีโครงการในพระราชดำริแล้วเชื่อว่าปัญหาจะหนักหนาสาหัสกว่านี้มาก ในทำนองเดียวกันมาที่จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุงว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะหาช่องทางของการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เช่นเดียวกับการจะต้องเข้มงวดกวดขันในเรื่องของน้ำป่าไหลหลากซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ในเวลาที่ฝนตกลงมาแล้วน้ำก็มาค่อนข้างจะแรงและเร็ว ทำความเสียหายมากมายให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาตรงนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องมีการเร่งสรุปและนำเสนอเพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการต่อไป ในส่วนของท่านส.ส.ในพื้นที่ ในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามที่จะเดินหน้าทำเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้าเช่นเดียวกันครับมี 2 เรื่องที่เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรื่องหนึ่งก็คือปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ทางศาลปกครองจะมีคำสั่งระงับการดำเนินการกระจายหุ้นเป็นการชั่วคราวและเราจำเป็นต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนนี้หรือเดือนต่อไป แต่ว่าเมื่อรัฐบาลยังไม่มีการทบทวนนโยบายในเรื่องนี้แต่ว่าในส่วนของพรรคฝ่ายค้านได้ศึกษาและเห็นชัดเจนถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในเรื่องนี้โดยเฉพาะเราคงไม่ต้องการเห็นปัญหาเศรษฐกิจถูกซ้ำเติมจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด จนส่งผลกระทบถึงเรื่องของการผูกขาดในกิจการไฟฟ้าที่ไปอยู่ในรูปแบบของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ แล้วก็น่าจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องของค่าไฟที่แพง เพราะฉะนั้นสัปดาห์นี้เช่นกันครับฝ่ายค้านจะได้เร่งสรุปทำเอกสารขึ้นมาฉบับหนึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่กระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งองค์กร ในตลาดหลักทรัพย์ในขณะนี้
หลายประเด็นก็เป็นเรื่องซึ่งได้เคยพูดคุยกับพี่น้องประชาชนไปแล้ว หรือได้นำเสนอไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่แยกระบบสายส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดกฎหมายและองค์กรอิสระที่จะเข้ามากำกับดูแลในเรื่องนี้เพื่อความมั่นใจทั้งในเรื่องของความมั่นคง ทั้งในเรื่องของผลประโยชน์ของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องของการแข่งขันที่เป็นธรรมทางธุรกิจ แต่อีกหลาย ๆ เรื่องก็มีประเด็นปลีกย่อยซึ่งประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการสัมมนา อภิปรายในเวทีต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดครับว่ายังมีปัญหาอีกมากมายเกี่ยวกับแนวทางการกระจายหุ้น เช่นข้อมูลซึ่งยังสับสนอยู่ ตัวเลขที่มักมีการอ้างว่าจำเป็นจะต้องมีการนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ เพื่อที่จะนำเงินไปขยายกิจการโรงไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะตั้งขึ้นมาอีก 4 โรง เอาเข้าจริง ๆ ก็ปรากฎว่าไม่ได้เป็นไปตามที่มีการโฆษณา ตัวเลขจริง ๆ แล้วเงินลงทุนที่จะได้จากการขายหุ้นในครั้งนี้ก็ไม่ได้เพียงพอกับการที่จะไปลงทุนในโรงไฟฟ้าทั้งหลาย และมูลค่าโรงไฟฟ้าที่มีการโฆษณากันกับที่มีการออกหนังสือชี้ชวน ชี้แจงไปยังผู้ลงทุนก็ไม่ตรงกัน แล้วก็ยังขัดกับนโยบาย หรือมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ครับว่า จริง ๆ แล้วเรื่องของโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นน่าจะให้ทางภาคเอกชนสามารถมาประมูลแข่งขันกันสร้างได้ เพราะว่าจริง ๆ แล้วก็เป็นแนวทางซึ่งได้มีการทำกันมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งในการแปรรูปที่แท้จริงตรงตามเจตนารมย์มากไปกว่าที่จะให้กฟผ. ไปดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างเสียเองและก็กลายเป็นองค์กรที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่แล้วก็ผูกขาดกิจการไฟฟ้า เรื่องนี้เองในแง่ของการโฆษณาซึ่งไม่ตรงข้อเท็จจริงนั้น ในทางพรรคก็จะได้ดำเนินการด้วยโดยจะมีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการตรวจสอบ เพราะว่าไม่อย่างนั้นแล้วความสับสนก็จะเกิดขึ้นมากมาย
นอกจากนั้นก็ยังมีประเด็นทางวิชาการซึ่งได้มีนักวิชาการที่ได้ไปศึกษาถึงมูลค่าของสินทรัพย์ต่าง ๆ ของกฟผ. ซึ่งเมื่อได้มีการแปลงเป็นบริษัทก็ได้มีการคำนวนออกมาว่าน่าจะตีค่าของทรัพย์สินต่าง ๆ ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งก็คำนวนจากรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากทรัพย์สินเหล่านี้ในวันข้างหน้า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เท่ากับว่าเราก็กำลังจะขายความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ส่วนหนึ่งไปในราคาที่ต่ำเกินความเป็นจริง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะกลายเป็นผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้น ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศซึ่งต้องถือว่าเป็นเจ้าขององค์กรนี้ในวันที่เป็นองค์การ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็จะเป็นผู้ที่เสียหาย เพราะฉะนั้นทั้งหมดนะครับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะได้มีการรวบรวมทำเป็นเอกสารขึ้นมา ซึ่งทางคณะกรรมการประสานงานของวิปฝ่ายค้านก็กำลังมีการดำเนินการสรุปเรื่องนี้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งสั้น ๆ ก่อนที่จะเปิดสายให้กับพี่น้องประชาชนที่สนใจและอยากจะโทรศัพท์เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรายการนี้ก็คือเรื่องซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้ก็คือเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็บังเอิญว่ามีหลายฝ่ายเสนอว่าอยากจะแก้ประเด็นนั้น อยากจะแก้ประเด็นนี้เช่นบอกว่ามีคณะทำงานหรือคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา ไปศึกษามาเป็น 10 ประเด็น มีเรื่องที่ส.ส.บางส่วนขอให้เคลื่อนไหวเช่นมีการพูดถึงเรื่องของการดำรงตำแหน่งของวุฒิสมาชิก วุฒิสภา จะเป็น 2 วาระได้ไหม มีเรื่องของการที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนจะสมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองเดียวไม่น้อยกว่า 90 วัน ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างที่ผมได้เคยเสนอต่อสาธารณะครับว่าจะมีความเห็นที่หลากหลายมาก และก็ในทุก ๆ ข้อเสนอมันก็จะมีเหตุผลมีข้อโต้แย้งของมันอยู่ เช่น เราจะเสนอแก้ไขอะไรก็คงต้องคำนึงเหมือนกันถึงเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดเราสามารถทำความเข้าใจถึงเจตนารมย์ของผู้ร่างได้แล้วก็มีเหตุผลที่ดีกว่านั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่ว่าเราไม่ควรที่จะลืมเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่นกรณีของสมาชิกวุฒิสภาเองก็ต้องยอมรับครับ สมาชิกวุฒิสภาทางผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ให้เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานการเมืองที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง ควรจะมีความเป็นกลางทางการเมืองเข้ามาทำหน้าที่เป็นกลไกในการตรวจสอบกลไกหนึ่ง เชื่อมโยงกับองค์กรอิสระทั้งหลาย แล้วก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลางตรงนี้ นอกเหนือจากการไม่สังกัดพรรคแล้ว ก็มีการพูดถึงว่าควรที่จะดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวซึ่งก็ยาวนานพอสมควร 6 ปี เพราะฉะนั้นถ้าจะไปบอกว่าแก้ไขตรงนี้ให้สามารถลงสมัครได้อีก ก็ดูจะไม่ตรงกับเจตนารมย์เดิม กรณีของการใช้คำว่า ปลดล็อค 90 วันของ ส.ส. ก็ต้องคำนึงเช่นเดียวกันครับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดความมั่นคง มีความเสถียรภาพในเรื่องของรัฐบาลมากขึ้น จากเดิมก็มีปัญหาเรื่องของส.ส.ย้ายพรรค เรื่องของรัฐบาลผสมซึ่งทำให้รัฐบาลมีความอ่อนแอจนเกินไป ทีนี้มาวันนี้ก็ปรากฎว่าบางส่วนมีความรู้สึกว่ารัฐบาลจะมีความมั่นคงเกินไปหรือเปล่า จริง ๆ แล้วในส่วนของผมเองได้พูดมาตลอดว่ารัฐบาลเข้มแข็ง รัฐบาลที่มั่นคงเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าจะสามารถบริหารราชการตามนโยบาย ตามคำมั่นสัญญาที่หาเสียงได้อย่างเต็มที่ แต่ว่าอย่างไรก็ตามรัฐบาลที่เข้มแข็งต้องยอมรับการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วเรื่องของ 90 วัน นั้นเป็นเพียงจุดหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมา สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะเห็นก็คือว่ารัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาก ๆ ยอมรับการตรวจสอบมากกว่านี้ นั่นก็คือการยอมเปิดพื้นที่สื่อสารมวลชนให้มีสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสารได้ครบถ้วนทุกด้านจริง ๆ ขณะเดียวกัน ส.ส. ที่บอกว่าอึดอัด ไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมาได้ ผมคิดว่าอันนี้เป็นการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของพรรคการเมืองมากกว่า ถ้าพรรคการเมืองเป็นพรรคการเมืองของมวลชน เป็นพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันอย่างแท้จริงแล้ว ส.ส.ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์มีเสียงมีอิสระในการทำหน้าที่พอสมควร แต่ก็อยู่ในกรอบ วินัยของพรรค คือมีความพอดี คือไม่ใช่ว่าไม่มีวินัยเสียทีเดียว แต่ขณะเดียวก็ไม่ใช่ว่าส.ส.เองไม่สามารถแสดงความคิดอ่านอะไรเพราะว่าต้องไปเกรงกลัวผู้นำหรือว่านักการเมืองคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ถ้าถามต่อไปว่าแล้วจะทำอย่างไรให้จะให้พรรคการเมืองเป็นสถาบัน มันก็อาจไปถึงเรื่องอื่น ๆ อีก แต่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมได้เคยนำเสนอเป็นทางออกไว้ก็คือในขณะที่มันจะมีความเห็นที่หลากหลายมากมายว่า คนนี้เห็นควรแก้ตรงนี้ คนนี้เห็นควรแก้ตรงนั้น แล้วก็มักจะมีการโต้เถียงกันไปกันมาว่า ที่จะเสนอแก้ไขเนี่ยมันเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ทางออกที่ผมได้เสนอมาแล้วก็ยืนยันมาตลอดก็คือว่า ขณะนี้ผู้แก้รัฐธรรมนูญ หรืออย่างน้อยผู้เสนอแก้ไข มีเพียง ครม. มีเพียง ส.ส. มีเพียง ส.ส. กับ ส.ว. ร่วมกันผมว่ามันไม่พอ ความที่เราจะให้ส.ว.ที่เรามาโต้เถียงกัน ส.ว.เสนอเหมือนกับขอต่ออายุตัวเอง ส.ส.เสนอมาปลดล็อคตัวเอง ให้ประชาชนมามีส่วนร่วมดีกว่า เหล่านี้ก็เป็นงาน ๆ หนึ่งนะครับ ซึ่งเรายังดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือทางฝ่ายค้านเองก็กำลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 313 เปิดโอกาสให้เข้าเสนอแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญโดยประชาชนเจ้าของอำนาจน่าจะดีกว่า เหมาะกว่าก็วันนี้ก็คงจะหยิบในเรื่องรัฐธรรมนูญเท่านั้น เชื่อว่าในสัปดาห์หน้านี้จะมีความคืบหน้าไปอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ม.ค. 2549--จบ--
เช้าวันนี้ผมคงจะต้องขอพูดถึงเรื่องของปัญหาที่เราคงจะต้องมีการดำเนินการต่อในฐานะที่เป็นฝ่ายค้านในฐานะที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ เริ่มต้นก่อนปีใหม่ผมก็ได้เดินทางลงไปที่ภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง ที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะในอำเภอที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ พี่น้องประชาชนคนไทย จำนวนมากอาจจะไม่ทราบว่าน้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีหลายพื้นที่ซึ่งยังเจอกับสภาพปัญหาน้ำท่วมขัง และก็ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าน้ำจะระบายลงสู่ทะเลได้ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้อยู่ติดกับทะเลบ้าง อยู่ติดกับทะเลสาบบ้าง และก็ระดับของน้ำใกล้เคียงกัน ฉะนั้นการที่จะปล่อยให้น้ำระบายลงไป หรือรอให้น้ำแห้งนั้นคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เมื่อวันที่ 29 วันพฤหัสที่แล้วหลังจากที่ผมได้พบกับท่านผู้ฟังไปในรายการนี้ 1 วัน ก็ได้เดินทางลงไปที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสร์สินธุ์ อำเภอสะทิงพระ และอำเภอปากมูล ก็คือ 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ก็ได้มีโอกาสนำของที่พี่น้องประชาชนได้ร่วมบริจาคเข้ามาผ่านพรรคประชาธิปัตย์ไปพบปะและนำสิ่งของเหล่านั้นให้แก่พี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน แต่ว่าที่สำคัญก็คืออย่างนี้ครับว่า แม้ว่าน้ำจะลดระดับลงแล้ว ปัญหาใน 3 จังหวัด หรือในพื้นที่ที่ผมได้ไปเยี่ยมเช่นเดียวกับในอีกหลายพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังต่อเนื่อง ก็จะมีตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยากให้ระมัดระวังเรื่องของโรคระบาดหลังน้ำลด และก็ในพื้นที่เหล่านั้นนอกเหนือจากคนแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือโรคระบาดสัตว์ เพราะว่าพี่น้องประชาชนจำนวนมากมีสัตว์เลี้ยง และช่วงที่มีน้ำท่วมขังก็นำสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นมาอยู่ปะปนบนท้องถนน มีเต้นท์ที่ส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกางเอาไว้ให้ ก็อยากให้ระมัดระวังตรงนี้และกรมปศุสัตว์คงจะต้องเข้าไปดำเนินการในการดูแลทั้งเรื่องของวัคซีน เรื่องของยาต่าง ๆ ด้วย เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องนี้อยู่แล้ว นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเพราะว่าสิ่งที่สำคัญก็คือการฟื้นฟูในเรื่องของอาชีพ และการประกอบอาชีพ ทำมาหากินของพี่น้องประชาชนนั่นเอง ซึ่งก็มีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมหลากหลายกันไป แล้วแต่พื้นที่ เช่น ในหลายพื้นที่ปลูกข้าว ฉะนั้นก็สูญเสียในเรื่องของนาข้าว แล้วก็มีความต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือเรื่องของพันธุ์ข้าว ที่จะต้องมีการดำเนินการให้การช่วยเหลือไป เพื่อที่จะได้เริ่มต้นกันใหม่ มีความเสียหายเกิดขึ้นจากบ่อปลา นากุ้ง ซึ่งเช่นเดียวกันก็ต้องการพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อที่จะต้องมีการเข้าไปช่วยกันฟื้นฟู ทั้งอาชีพและรายได้ของพี่น้องเกษตรกร มีพี่น้องชาวสวนยางที่ได้รับความเสียหาย ไม่เพียงแต่ในช่วงของน้ำท่วม แต่ว่าเวลาที่ฝนตกอากาศชื้น พี่น้องเหล่านี้ก็ขาดรายได้จากการกรีดยาง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรที่จะต้องดูแลพี่น้องในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
มีประเด็นที่ได้มีการนำเสนออีกหลายประเด็นครับในแง่ของการฟื้นฟูพื้นที่ขึ้นมา เช่น ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานถนน สะพาน ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย ส่วนไหนที่ทางท้องถิ่นเขาพอดูแลได้ ก็ไม่กังวลใจหรอกครับเพราะว่าเขาก็พร้อมที่จะดำเนินการ แต่ว่าในบางเรื่อง ในบางพื้นที่ความเสียหายมากกว่าท้องถิ่นจะรับได้หรือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น อันนี้ก็คงมีความจำเป็นที่ทางหน่วยงานส่วนกลางส่วนภูมิภาคจะต้องเร่งเข้าไปดูแล และก็อีกส่วนหนึ่งครับซึ่งหลายคนก็มองข้ามไปคือ ช่วงที่น้ำท่วมขังอยู่ เด็ก ๆ ของเราที่นั่นก็ไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะว่าโรงเรียนปิด โรงเรียนถูกน้ำท่วม หรือว่าโรงเรียนปิดเพราะพี่น้องประชาชน ครูบา อาจารย์ นักเรียนไม่พร้อม ก็หยุดไปนานพอสมควร สิ่งที่เป็นความห่วงใยในพื้นที่ก็คือว่าทำอย่างไรจะเร่งรัดในเรื่องของการเรียนการสอนให้ทัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ประถม 3 ประถม 6 ซึ่งจะต้องมีการสอบในช่วงเดือนมีนาคม อย่างนี้เป็นต้น หรือว่าเด็กในระดับชั้นที่จะต้องมีการสอบระดับประเทศ ในช่วงเดือนมีนานคม ก็คงต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการจะไปจัดตารางเรียน ตารางสอนอย่างไร หรือว่าจะต้องมีการผ่อนผันหรืออย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคงจะต้องมีการพิจารณา ซึ่งทั้งหมดนี้ที่ผมได้เดินทางลงพื้นที่ไป ได้เชิญส.ส.ในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมกันด้วย ก็ได้มีการสรุปถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้พอสมควร เช่นเดียวกับการประเมินสภาพปัญหา การบริหารจัดการ การบริหารความช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ และก็ได้มีความเห็นชอบ เห็นพ้องต้องกันว่าจะได้มีการทำการสรุปประเมินความเสียหาย และก็ขอให้ทางรัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมาแล้ว โดยจะสรุปเป็นเอกสารเป็นรายงานไปได้มอบหมายให้ ส.ส. วินัย เสนเนียม เพราะว่าพื้นที่ของท่านหลายอำเภอ ดูจะได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสมากที่สุด เป็นหัวหน้าคณะในการที่จะสรุปปัญหาเหล่านี้
ยิ่งไปกว่านั้นเรามองไปไกลว่าการแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องการช่วยเหลือเฉพาะหน้า และการฟื้นฟูอาชีพ คือเราได้มองถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว เกี่ยวกับเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จากการที่เมื่อฝนตกหนักมาแล้วมีน้ำท่วม และมีน้ำท่วมขังมากเป็นประวัติการณ์ สอบถามหลายคนบอกว่าหนักกว่าปี 2531 หนักกว่าปี 2518 หลายคนบอกว่าหนักที่สุดในชีวิตที่เคยประสบมา ซึ่งก็ได้มีการมองดูถึงการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางหนึ่งก็คือเรื่องของโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยในเรื่องของการระบายน้ำเห็นได้ชัดในกรณีของลุ่มน้ำปากพนังได้รับประโยชน์อย่างมากจากโครงการพระราชดำริ ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีโครงการในพระราชดำริแล้วเชื่อว่าปัญหาจะหนักหนาสาหัสกว่านี้มาก ในทำนองเดียวกันมาที่จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุงว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะหาช่องทางของการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เช่นเดียวกับการจะต้องเข้มงวดกวดขันในเรื่องของน้ำป่าไหลหลากซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ในเวลาที่ฝนตกลงมาแล้วน้ำก็มาค่อนข้างจะแรงและเร็ว ทำความเสียหายมากมายให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาตรงนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องมีการเร่งสรุปและนำเสนอเพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการต่อไป ในส่วนของท่านส.ส.ในพื้นที่ ในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามที่จะเดินหน้าทำเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้าเช่นเดียวกันครับมี 2 เรื่องที่เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรื่องหนึ่งก็คือปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ทางศาลปกครองจะมีคำสั่งระงับการดำเนินการกระจายหุ้นเป็นการชั่วคราวและเราจำเป็นต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนนี้หรือเดือนต่อไป แต่ว่าเมื่อรัฐบาลยังไม่มีการทบทวนนโยบายในเรื่องนี้แต่ว่าในส่วนของพรรคฝ่ายค้านได้ศึกษาและเห็นชัดเจนถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในเรื่องนี้โดยเฉพาะเราคงไม่ต้องการเห็นปัญหาเศรษฐกิจถูกซ้ำเติมจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด จนส่งผลกระทบถึงเรื่องของการผูกขาดในกิจการไฟฟ้าที่ไปอยู่ในรูปแบบของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ แล้วก็น่าจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องของค่าไฟที่แพง เพราะฉะนั้นสัปดาห์นี้เช่นกันครับฝ่ายค้านจะได้เร่งสรุปทำเอกสารขึ้นมาฉบับหนึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่กระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งองค์กร ในตลาดหลักทรัพย์ในขณะนี้
หลายประเด็นก็เป็นเรื่องซึ่งได้เคยพูดคุยกับพี่น้องประชาชนไปแล้ว หรือได้นำเสนอไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่แยกระบบสายส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดกฎหมายและองค์กรอิสระที่จะเข้ามากำกับดูแลในเรื่องนี้เพื่อความมั่นใจทั้งในเรื่องของความมั่นคง ทั้งในเรื่องของผลประโยชน์ของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องของการแข่งขันที่เป็นธรรมทางธุรกิจ แต่อีกหลาย ๆ เรื่องก็มีประเด็นปลีกย่อยซึ่งประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการสัมมนา อภิปรายในเวทีต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดครับว่ายังมีปัญหาอีกมากมายเกี่ยวกับแนวทางการกระจายหุ้น เช่นข้อมูลซึ่งยังสับสนอยู่ ตัวเลขที่มักมีการอ้างว่าจำเป็นจะต้องมีการนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ เพื่อที่จะนำเงินไปขยายกิจการโรงไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะตั้งขึ้นมาอีก 4 โรง เอาเข้าจริง ๆ ก็ปรากฎว่าไม่ได้เป็นไปตามที่มีการโฆษณา ตัวเลขจริง ๆ แล้วเงินลงทุนที่จะได้จากการขายหุ้นในครั้งนี้ก็ไม่ได้เพียงพอกับการที่จะไปลงทุนในโรงไฟฟ้าทั้งหลาย และมูลค่าโรงไฟฟ้าที่มีการโฆษณากันกับที่มีการออกหนังสือชี้ชวน ชี้แจงไปยังผู้ลงทุนก็ไม่ตรงกัน แล้วก็ยังขัดกับนโยบาย หรือมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ครับว่า จริง ๆ แล้วเรื่องของโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นน่าจะให้ทางภาคเอกชนสามารถมาประมูลแข่งขันกันสร้างได้ เพราะว่าจริง ๆ แล้วก็เป็นแนวทางซึ่งได้มีการทำกันมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งในการแปรรูปที่แท้จริงตรงตามเจตนารมย์มากไปกว่าที่จะให้กฟผ. ไปดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างเสียเองและก็กลายเป็นองค์กรที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่แล้วก็ผูกขาดกิจการไฟฟ้า เรื่องนี้เองในแง่ของการโฆษณาซึ่งไม่ตรงข้อเท็จจริงนั้น ในทางพรรคก็จะได้ดำเนินการด้วยโดยจะมีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการตรวจสอบ เพราะว่าไม่อย่างนั้นแล้วความสับสนก็จะเกิดขึ้นมากมาย
นอกจากนั้นก็ยังมีประเด็นทางวิชาการซึ่งได้มีนักวิชาการที่ได้ไปศึกษาถึงมูลค่าของสินทรัพย์ต่าง ๆ ของกฟผ. ซึ่งเมื่อได้มีการแปลงเป็นบริษัทก็ได้มีการคำนวนออกมาว่าน่าจะตีค่าของทรัพย์สินต่าง ๆ ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งก็คำนวนจากรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากทรัพย์สินเหล่านี้ในวันข้างหน้า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เท่ากับว่าเราก็กำลังจะขายความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ส่วนหนึ่งไปในราคาที่ต่ำเกินความเป็นจริง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะกลายเป็นผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้น ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศซึ่งต้องถือว่าเป็นเจ้าขององค์กรนี้ในวันที่เป็นองค์การ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็จะเป็นผู้ที่เสียหาย เพราะฉะนั้นทั้งหมดนะครับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะได้มีการรวบรวมทำเป็นเอกสารขึ้นมา ซึ่งทางคณะกรรมการประสานงานของวิปฝ่ายค้านก็กำลังมีการดำเนินการสรุปเรื่องนี้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งสั้น ๆ ก่อนที่จะเปิดสายให้กับพี่น้องประชาชนที่สนใจและอยากจะโทรศัพท์เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรายการนี้ก็คือเรื่องซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้ก็คือเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็บังเอิญว่ามีหลายฝ่ายเสนอว่าอยากจะแก้ประเด็นนั้น อยากจะแก้ประเด็นนี้เช่นบอกว่ามีคณะทำงานหรือคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา ไปศึกษามาเป็น 10 ประเด็น มีเรื่องที่ส.ส.บางส่วนขอให้เคลื่อนไหวเช่นมีการพูดถึงเรื่องของการดำรงตำแหน่งของวุฒิสมาชิก วุฒิสภา จะเป็น 2 วาระได้ไหม มีเรื่องของการที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนจะสมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองเดียวไม่น้อยกว่า 90 วัน ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างที่ผมได้เคยเสนอต่อสาธารณะครับว่าจะมีความเห็นที่หลากหลายมาก และก็ในทุก ๆ ข้อเสนอมันก็จะมีเหตุผลมีข้อโต้แย้งของมันอยู่ เช่น เราจะเสนอแก้ไขอะไรก็คงต้องคำนึงเหมือนกันถึงเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดเราสามารถทำความเข้าใจถึงเจตนารมย์ของผู้ร่างได้แล้วก็มีเหตุผลที่ดีกว่านั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่ว่าเราไม่ควรที่จะลืมเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่นกรณีของสมาชิกวุฒิสภาเองก็ต้องยอมรับครับ สมาชิกวุฒิสภาทางผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ให้เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานการเมืองที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง ควรจะมีความเป็นกลางทางการเมืองเข้ามาทำหน้าที่เป็นกลไกในการตรวจสอบกลไกหนึ่ง เชื่อมโยงกับองค์กรอิสระทั้งหลาย แล้วก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลางตรงนี้ นอกเหนือจากการไม่สังกัดพรรคแล้ว ก็มีการพูดถึงว่าควรที่จะดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวซึ่งก็ยาวนานพอสมควร 6 ปี เพราะฉะนั้นถ้าจะไปบอกว่าแก้ไขตรงนี้ให้สามารถลงสมัครได้อีก ก็ดูจะไม่ตรงกับเจตนารมย์เดิม กรณีของการใช้คำว่า ปลดล็อค 90 วันของ ส.ส. ก็ต้องคำนึงเช่นเดียวกันครับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดความมั่นคง มีความเสถียรภาพในเรื่องของรัฐบาลมากขึ้น จากเดิมก็มีปัญหาเรื่องของส.ส.ย้ายพรรค เรื่องของรัฐบาลผสมซึ่งทำให้รัฐบาลมีความอ่อนแอจนเกินไป ทีนี้มาวันนี้ก็ปรากฎว่าบางส่วนมีความรู้สึกว่ารัฐบาลจะมีความมั่นคงเกินไปหรือเปล่า จริง ๆ แล้วในส่วนของผมเองได้พูดมาตลอดว่ารัฐบาลเข้มแข็ง รัฐบาลที่มั่นคงเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าจะสามารถบริหารราชการตามนโยบาย ตามคำมั่นสัญญาที่หาเสียงได้อย่างเต็มที่ แต่ว่าอย่างไรก็ตามรัฐบาลที่เข้มแข็งต้องยอมรับการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วเรื่องของ 90 วัน นั้นเป็นเพียงจุดหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมา สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะเห็นก็คือว่ารัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาก ๆ ยอมรับการตรวจสอบมากกว่านี้ นั่นก็คือการยอมเปิดพื้นที่สื่อสารมวลชนให้มีสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสารได้ครบถ้วนทุกด้านจริง ๆ ขณะเดียวกัน ส.ส. ที่บอกว่าอึดอัด ไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมาได้ ผมคิดว่าอันนี้เป็นการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของพรรคการเมืองมากกว่า ถ้าพรรคการเมืองเป็นพรรคการเมืองของมวลชน เป็นพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันอย่างแท้จริงแล้ว ส.ส.ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์มีเสียงมีอิสระในการทำหน้าที่พอสมควร แต่ก็อยู่ในกรอบ วินัยของพรรค คือมีความพอดี คือไม่ใช่ว่าไม่มีวินัยเสียทีเดียว แต่ขณะเดียวก็ไม่ใช่ว่าส.ส.เองไม่สามารถแสดงความคิดอ่านอะไรเพราะว่าต้องไปเกรงกลัวผู้นำหรือว่านักการเมืองคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ถ้าถามต่อไปว่าแล้วจะทำอย่างไรให้จะให้พรรคการเมืองเป็นสถาบัน มันก็อาจไปถึงเรื่องอื่น ๆ อีก แต่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมได้เคยนำเสนอเป็นทางออกไว้ก็คือในขณะที่มันจะมีความเห็นที่หลากหลายมากมายว่า คนนี้เห็นควรแก้ตรงนี้ คนนี้เห็นควรแก้ตรงนั้น แล้วก็มักจะมีการโต้เถียงกันไปกันมาว่า ที่จะเสนอแก้ไขเนี่ยมันเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ทางออกที่ผมได้เสนอมาแล้วก็ยืนยันมาตลอดก็คือว่า ขณะนี้ผู้แก้รัฐธรรมนูญ หรืออย่างน้อยผู้เสนอแก้ไข มีเพียง ครม. มีเพียง ส.ส. มีเพียง ส.ส. กับ ส.ว. ร่วมกันผมว่ามันไม่พอ ความที่เราจะให้ส.ว.ที่เรามาโต้เถียงกัน ส.ว.เสนอเหมือนกับขอต่ออายุตัวเอง ส.ส.เสนอมาปลดล็อคตัวเอง ให้ประชาชนมามีส่วนร่วมดีกว่า เหล่านี้ก็เป็นงาน ๆ หนึ่งนะครับ ซึ่งเรายังดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือทางฝ่ายค้านเองก็กำลังยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 313 เปิดโอกาสให้เข้าเสนอแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญโดยประชาชนเจ้าของอำนาจน่าจะดีกว่า เหมาะกว่าก็วันนี้ก็คงจะหยิบในเรื่องรัฐธรรมนูญเท่านั้น เชื่อว่าในสัปดาห์หน้านี้จะมีความคืบหน้าไปอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ม.ค. 2549--จบ--