แทบไม่น่าเชื่อว่าการรัฐประหารผ่านพ้นมาเป็นเวลากว่า ๑ เดือนแล้ว เมื่อ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ในขณะนั้น) เคยประกาศว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเวลา ๑ ปี นั้นหมายความว่า รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องเร่งงานต่างๆให้เสร็จในระยะเวลาที่เหลือเพียง ๑๑ เดือน
น่าสังเกตว่า ๑ เดือนที่ผ่านมา สังคมไทยดูจะให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องตัวบุคคล (ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ) แต่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางของประเทศกลับได้รับความสนใจน้อยกว่าต้องไม่ลืมว่า ต้นทุนที่สูงสุดของการรัฐประหาร คือการสูญเสียรัฐธรรมนูญ และภารกิจที่สำคัญจากนี้ของสังคมไทย คือการร่วมกันจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าเดิม ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เท่าที่จะทำได้ แม้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าองค์กรต่างๆ ทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ พรรคการเมือง ฯลฯ จะนำเสนอความคิดของตน หรือถึงขั้นร่างรับธรรมนูญฉบับของตนกันอย่างหลากหลาย เราจึงต้องเร่งหาข้อยุติเชิงหลักการ กรอบความคิดที่เป็นจุดร่วม เพื่อมิให้สภาพของการร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเดิน จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจบานปลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่สามารถจะทำแบบ “แยกส่วน” เพราะต้องมีความสอดคล้องในตัวเอง การพิจารณาหรือถกเถียงเป็นประเด็นๆไป (เช่น ที่มาวุฒิสภา อำนาจวุฒิสภา ระบบเลือกตั้ง) อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ เช่นที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดให้วุฒิสภาที่ต้องมีความเป็นกลางสูง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ส่งผลให้เกิดภาวะที่พรรคการเมืองเข้าไปครอบงำองค์กรอิสระได้
ดังนั้น เราควรแสวงหาจุดร่วม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยอ้างอิง หลักการ/เป้าหมาย ที่สำคัญ และรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ โดยสรุปบทเรียน จุดอ่อน ข้อผิดพลาดที่ผ่านมาผมขอเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังต่อไปนี้
๑.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเป็นประชาธิปไตย ไม่ถอยหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเด็นต่อไปนี้
๑.๑ สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหลักการสำคัญๆ รัฐธรรมนูญปี
พ.ศ.๒๕๔๐ เขียนไว้ได้ดี แต่ที่จะต้องปรับปรุง คือการสร้างกลไกให้สิทธิเสรีภาพต่างๆได้รับการรับรอง เคารพจริง ผู้ถูกละเมิดมีที่พึ่งได้รับการคุ้มครอง สิ่งนี้คือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสังคมประชาธิปไตย และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการมีกฎหมายที่เป็นธรรม มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาค ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง๑.๒ การมีองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่การตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรม เพื่อป้องกันและปราบปรามการใช้อำนาจรัฐ เพื่อประโยชน์ของตน หรือ พวกพ้อง หรือ การใช้อำนาจที่ไม่ชอบ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน
๑.๓ การได้ผู้บริหารประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน สามารถนำนโยบายที่เสนอต่อประชาชน มาปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎรที่เข้มแข็ง และองค์กรอิสระในข้อ ๑.๒
๒.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเรียนรู้และแก้ไขความผิดพลาดในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเด็นหลักๆดังนี้
๒.๑ รัฐธรรมนูญจะต้องหลีกเลี่ยงการให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ
องค์กรหนึ่งองค์กรใด ทำให้เกิดสภาพการคอร์รัปชั่น หรือความเสื่อมจากอำนาจ การออกแบบองค์กรอิสระ จะต้องคำนึงถึงตรงนี้เป็นพิเศษ โดยตระหนักถึง ปัญหาของกกต. ปปช. และ ศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
๒.๒ จะต้องมีมาตรการขีดวงการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง ๔-๕ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายการเมืองได้แทรกซึม ก้าวล่วง หรือครอบงำ วงการต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มิใช่เพื่อประโยชน์ในการบริหาร หรือผลักดันนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นวงการราชการ โดยเฉพาะ ตำรวจ ทหาร ที่ผู้ยืนหยัดความถูกต้องไม่ได้รับความคุ้มครอง ในขณะที่บุคลากรที่จำนนต่อความไม่ถูกต้องกลับมีความก้าวหน้า วงการสื่อสารมวลชน แม้กระทั่งวงการศาสนา
๓. รัฐธรรมนูญต้องมีมาตรการที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาพื้นฐานในระบบการเมืองในช่วง ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา นั่นคือ ธนกิจการเมือง (Money Politics) ที่เป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชั่น หากการเมืองยังมีต้นทุนสูงอย่างเช่นปัจจุบัน ก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นการเมืองไทยใสสะอาด มาตรการควบคุมอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การบริจาคเงิน และรายได้ของนักการเมือง/พรรคการเมือง การใช้จ่ายของนักการเมือง/พรรคการเมือง ที่ควรจะมีข้อจำกัด ตลอดจนการใช้กลไก/ทรัพยากรของรับ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในเชิงประชานิยม
หากหลักการเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ ก็จะนำไปสู่การระดมความคิดและการถกเถียงที่สร้างสรรค์ โดยมีกรอบที่ชัดเจน สำหรับรายละเอียดในแต่ละประเด็น ผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ:เป็นบทความของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใน http://www.abhisit.org เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ต.ค. 2549--จบ--
น่าสังเกตว่า ๑ เดือนที่ผ่านมา สังคมไทยดูจะให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องตัวบุคคล (ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ) แต่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางของประเทศกลับได้รับความสนใจน้อยกว่าต้องไม่ลืมว่า ต้นทุนที่สูงสุดของการรัฐประหาร คือการสูญเสียรัฐธรรมนูญ และภารกิจที่สำคัญจากนี้ของสังคมไทย คือการร่วมกันจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าเดิม ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เท่าที่จะทำได้ แม้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าองค์กรต่างๆ ทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ พรรคการเมือง ฯลฯ จะนำเสนอความคิดของตน หรือถึงขั้นร่างรับธรรมนูญฉบับของตนกันอย่างหลากหลาย เราจึงต้องเร่งหาข้อยุติเชิงหลักการ กรอบความคิดที่เป็นจุดร่วม เพื่อมิให้สภาพของการร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเดิน จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจบานปลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่สามารถจะทำแบบ “แยกส่วน” เพราะต้องมีความสอดคล้องในตัวเอง การพิจารณาหรือถกเถียงเป็นประเด็นๆไป (เช่น ที่มาวุฒิสภา อำนาจวุฒิสภา ระบบเลือกตั้ง) อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ เช่นที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดให้วุฒิสภาที่ต้องมีความเป็นกลางสูง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ส่งผลให้เกิดภาวะที่พรรคการเมืองเข้าไปครอบงำองค์กรอิสระได้
ดังนั้น เราควรแสวงหาจุดร่วม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยอ้างอิง หลักการ/เป้าหมาย ที่สำคัญ และรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ โดยสรุปบทเรียน จุดอ่อน ข้อผิดพลาดที่ผ่านมาผมขอเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังต่อไปนี้
๑.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเป็นประชาธิปไตย ไม่ถอยหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเด็นต่อไปนี้
๑.๑ สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหลักการสำคัญๆ รัฐธรรมนูญปี
พ.ศ.๒๕๔๐ เขียนไว้ได้ดี แต่ที่จะต้องปรับปรุง คือการสร้างกลไกให้สิทธิเสรีภาพต่างๆได้รับการรับรอง เคารพจริง ผู้ถูกละเมิดมีที่พึ่งได้รับการคุ้มครอง สิ่งนี้คือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสังคมประชาธิปไตย และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการมีกฎหมายที่เป็นธรรม มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาค ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง๑.๒ การมีองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่การตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรม เพื่อป้องกันและปราบปรามการใช้อำนาจรัฐ เพื่อประโยชน์ของตน หรือ พวกพ้อง หรือ การใช้อำนาจที่ไม่ชอบ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน
๑.๓ การได้ผู้บริหารประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน สามารถนำนโยบายที่เสนอต่อประชาชน มาปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎรที่เข้มแข็ง และองค์กรอิสระในข้อ ๑.๒
๒.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเรียนรู้และแก้ไขความผิดพลาดในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเด็นหลักๆดังนี้
๒.๑ รัฐธรรมนูญจะต้องหลีกเลี่ยงการให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ
องค์กรหนึ่งองค์กรใด ทำให้เกิดสภาพการคอร์รัปชั่น หรือความเสื่อมจากอำนาจ การออกแบบองค์กรอิสระ จะต้องคำนึงถึงตรงนี้เป็นพิเศษ โดยตระหนักถึง ปัญหาของกกต. ปปช. และ ศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
๒.๒ จะต้องมีมาตรการขีดวงการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง ๔-๕ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายการเมืองได้แทรกซึม ก้าวล่วง หรือครอบงำ วงการต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มิใช่เพื่อประโยชน์ในการบริหาร หรือผลักดันนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นวงการราชการ โดยเฉพาะ ตำรวจ ทหาร ที่ผู้ยืนหยัดความถูกต้องไม่ได้รับความคุ้มครอง ในขณะที่บุคลากรที่จำนนต่อความไม่ถูกต้องกลับมีความก้าวหน้า วงการสื่อสารมวลชน แม้กระทั่งวงการศาสนา
๓. รัฐธรรมนูญต้องมีมาตรการที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาพื้นฐานในระบบการเมืองในช่วง ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา นั่นคือ ธนกิจการเมือง (Money Politics) ที่เป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชั่น หากการเมืองยังมีต้นทุนสูงอย่างเช่นปัจจุบัน ก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นการเมืองไทยใสสะอาด มาตรการควบคุมอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การบริจาคเงิน และรายได้ของนักการเมือง/พรรคการเมือง การใช้จ่ายของนักการเมือง/พรรคการเมือง ที่ควรจะมีข้อจำกัด ตลอดจนการใช้กลไก/ทรัพยากรของรับ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในเชิงประชานิยม
หากหลักการเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ ก็จะนำไปสู่การระดมความคิดและการถกเถียงที่สร้างสรรค์ โดยมีกรอบที่ชัดเจน สำหรับรายละเอียดในแต่ละประเด็น ผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ:เป็นบทความของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใน http://www.abhisit.org เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ต.ค. 2549--จบ--