สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดโครงการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2549 ณ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวคิดเชิงนโยบาย ทั้งในด้านการเงิน การคลัง การออม ภาษี เศรษฐกิจมหภาค และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจหลักของ สศค. ไปเผยแพร่สู่ส่วนราชการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งริเริ่มการสร้างเครือข่ายนักวิชาการเศรษฐกิจการคลังเพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือและแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ ระดับนโยบายและข้อมูลเชิงลึกระดับพื้นที่ ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการสัมมนาวิชาการจำนวน 2 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาคเช้าเป็นการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ การพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น” ณ ห้องออคิด บอลรูม โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้บริหารทีม ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคนายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น นายสุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และรองศาสตราจารย์มัณทนา สามารถ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ร่วมกับ ดร.นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีนายพิสิทธ์ พัวพันธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการนี้มีผู้แทนจากส่วนราชการ และมหาวิทยาลัย สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภาคเอกชน จากจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงประมาณ 150 คนเข้าร่วมรับฟังการสัมมนา
ในการสัมมนาวิชาการดังกล่าววิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้อภิปรายถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาค ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือและขอนแก่น จุดอ่อน จุดแข็งของจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนบทบาทของส่วนต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการประสานนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะขอนแก่น ดังนี้
“เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง, ยุทธศาสพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาการศึกษา”
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี โดยไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ตรงกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้สศค.คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจจะชะลอลงเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในปี 2550-2551 ซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากการลงทุนที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจาก Mega Projects ในประเด็นเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น นายนริศกล่าวว่า เศรษฐกิจภาคอีสานนั้นมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้อีกมาก โดยปัจจุบันภาคอีสานมีความท้าทายคือรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดในประเทศ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและมีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ ภาคอุตสาหกรรมกระจุกตัวเฉพาะในจังหวัดใหญ่ แต่ภาคอีสานก็มีทรัพยากรที่สามารถพัฒนาได้อีกมากเช่นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ยุทธศาสตร์เชิงรุกเศรษฐกิจในภาคอีสานควรจะพัฒนาอุตสาหกรรมให้กระจายตัวมากขึ้น พัฒนาศักยภาพแรงงาน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในประเด็นเศรษฐกิจจังหวัดขอนแก่นนั้น ขอนแก่นมีจุดแข็งคือเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงกลุ่มแม่น้ำโขง เป็นศูนย์กลางการผลิต การคมนาคม ความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานและเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค
“เศรษฐกิจภาคอีสานขยายตัวได้ดี”
นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้บริหารทีม ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อภิปรายโครงสร้างเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าภาคอื่นๆ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนั้นพื้นที่ในภาคอีสานยังมีข้อจำกัดคือเป็นพื้นที่ดินเค็มถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภาคอีสานยังมีข้อได้เปรียบหลายประการคือ จำนวนแรงงานมาก ซึ่งสามารถที่จะเป็นทรัพยากรที่พัฒนาได้ในอนาคต นางทัศนีย์กล่าวเพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจภาคอีสานครึ่งแรกปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากปีที่แล้ว ในทางด้านอุปทานผลผลิตการเกษตรหลักอย่างข้าว อ้อย ยังขยายตัวได้ดี ด้านราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอุตสาหกรรมนั้นชะลอลงบ้างเนื่องจากวัตถุดิบการเกษตรไม่เพียงพอ ส่วนเครื่องชี้ทางด้านอุปสงค์ยังขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะการค้าชายแดนมีการขยายตัวสูงโดยเฉพาะกับลาว ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคต่อไปในอนาคต
“ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่ม”
นายนายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ภาคอีสานมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจของประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีความสำคัญต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยขยายตัวสูงกว่าภาคการผลิตอื่น อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมในภูมิภาคอื่นๆ แล้ว Value Added อยู่ในระดับต่ำ แนวทางการพัฒนาศักยภาพของภาคอีสานในอนาคตได้แก่ การแก้ปัญหาความยากจน โดยการลดรายจ่าย สร้างรายได้ที่มั่นคงและสร้างโอกาส รวมทั้งการเพิ่มและรักษาการขยายตัวเศรษฐกิจ การส่งเสริมการลงทุนและยกระดับอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงฐานการผลิตของภาค นอกจากนี้ยังควรมีการสนับสนุนการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
“Look East: Value Added, Bio Tech, Logistic คือกุญแจของภาคอุตสาหกรรม”
นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น มีมุมมองจากภาคอุตสาหกรรมว่า ภาคอีสานยังมีโอกาสและศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาความแข็งแกร่งและขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต เช่นโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่เป็นจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอินโดจีน อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเช่นโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล และโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก และมี Value added ต่ำ โดยแนวทางการพัฒนาในอนาคตของภาคอุตสาหกรรมควรจะนำเอา Bio Technology และ ICT รวมทั้งเน้นการพัฒนาด้าน Logistic ให้มากขึ้น นายธวัชชัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าสำนักงานเศรษฐกิจการคลังควรจะเป็น ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาของพื้นที่ ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก (Think tank)
“การพัฒนาจุดแข็งเป็นสิ่งที่ต้องทำ”
นายสุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ให้มุมมองจากภาคเอกชน โดยกล่าวว่าจังหวัดขอนแก่นมีจุดแข็งหลายประการเช่นเป็นศูนย์กลางภาคอีสาน และเป็นศูนย์กลางอินโดจีน แต่การพัฒนาจุดแข็งยังมีพัฒนาการที่ช้าไม่เต็มศักยภาพ และการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมควรพัฒนาโดยเฉพาะทางด้านรถไฟและสนามบิน และปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นเป็นเพียงจุดผ่านสินค้าเท่านั้น ดังนั้นจึงควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และเสนอว่าภาคเอกชนจังหวัดขอนแก่นอยากให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหน่วยงานหลักที่คอยดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และมีการเตือนภัยอย่างถูกต้องทันท่วงทีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเอกชน
“เทคโนโลยี, R&D และ ความต่อเนื่องของนโยบายรัฐคือหัวใจของการพัฒนา”
รองศาสตราจารย์มัณทนา สามารถ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มุมมองการพัฒนาศักยภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยกล่าวถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงต่อจุดแข็งต่างๆของภาค ได้แก่ สินค้าเกษตร (ข้าว มันสำปะหลังและอ้อย) ผักผลไม้ และปศุสัตว์ (วัวและไก่) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพิ่มเติมจากเดิมที่เน้นการใช้แรงงาน และอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยรัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนและมีกระบวนการต่อเนื่อง รวมทั้งควรลดการแทรกแซงทางด้านราคาเพื่อลดต้นทุนการกำกับดูแลของภาครัฐบาล นอกจากนี้ ภาคเอกชนควรมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางระบบเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับในตลาดต่างประเทศได้
“ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา”
นอกจากนี้ ยังได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเครือข่ายนักวิชาการเศรษฐกิจการคลังระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีแนวทางสร้างความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่
(1) เชื่อมโยงและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ในลักษณะการทำงานของ web base และเชื่อมโยง Internet อย่างสม่ำเสมอ
(2) แลกเปลี่ยนข้อมูลและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย
(3) ส่งเสริมให้บุคลากรในเครือข่ายได้ทำการศึกษา การวิจัย และฝึกอบรมร่วมกัน
(4) จัดเวทีอภิปรายหรือสัมมนาทางวิชาการด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และ
(5) ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2549 4 กันยายน 2549--
1. ภาคเช้าเป็นการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ การพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น” ณ ห้องออคิด บอลรูม โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้บริหารทีม ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคนายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น นายสุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และรองศาสตราจารย์มัณทนา สามารถ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ร่วมกับ ดร.นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีนายพิสิทธ์ พัวพันธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการนี้มีผู้แทนจากส่วนราชการ และมหาวิทยาลัย สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภาคเอกชน จากจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงประมาณ 150 คนเข้าร่วมรับฟังการสัมมนา
ในการสัมมนาวิชาการดังกล่าววิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้อภิปรายถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาค ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือและขอนแก่น จุดอ่อน จุดแข็งของจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนบทบาทของส่วนต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการประสานนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะขอนแก่น ดังนี้
“เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง, ยุทธศาสพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาการศึกษา”
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี โดยไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ตรงกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้สศค.คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจจะชะลอลงเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในปี 2550-2551 ซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากการลงทุนที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจาก Mega Projects ในประเด็นเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น นายนริศกล่าวว่า เศรษฐกิจภาคอีสานนั้นมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้อีกมาก โดยปัจจุบันภาคอีสานมีความท้าทายคือรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดในประเทศ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและมีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ ภาคอุตสาหกรรมกระจุกตัวเฉพาะในจังหวัดใหญ่ แต่ภาคอีสานก็มีทรัพยากรที่สามารถพัฒนาได้อีกมากเช่นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ยุทธศาสตร์เชิงรุกเศรษฐกิจในภาคอีสานควรจะพัฒนาอุตสาหกรรมให้กระจายตัวมากขึ้น พัฒนาศักยภาพแรงงาน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในประเด็นเศรษฐกิจจังหวัดขอนแก่นนั้น ขอนแก่นมีจุดแข็งคือเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงกลุ่มแม่น้ำโขง เป็นศูนย์กลางการผลิต การคมนาคม ความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานและเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค
“เศรษฐกิจภาคอีสานขยายตัวได้ดี”
นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้บริหารทีม ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อภิปรายโครงสร้างเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าภาคอื่นๆ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนั้นพื้นที่ในภาคอีสานยังมีข้อจำกัดคือเป็นพื้นที่ดินเค็มถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภาคอีสานยังมีข้อได้เปรียบหลายประการคือ จำนวนแรงงานมาก ซึ่งสามารถที่จะเป็นทรัพยากรที่พัฒนาได้ในอนาคต นางทัศนีย์กล่าวเพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจภาคอีสานครึ่งแรกปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากปีที่แล้ว ในทางด้านอุปทานผลผลิตการเกษตรหลักอย่างข้าว อ้อย ยังขยายตัวได้ดี ด้านราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอุตสาหกรรมนั้นชะลอลงบ้างเนื่องจากวัตถุดิบการเกษตรไม่เพียงพอ ส่วนเครื่องชี้ทางด้านอุปสงค์ยังขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะการค้าชายแดนมีการขยายตัวสูงโดยเฉพาะกับลาว ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคต่อไปในอนาคต
“ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่ม”
นายนายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ภาคอีสานมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจของประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีความสำคัญต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยขยายตัวสูงกว่าภาคการผลิตอื่น อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมในภูมิภาคอื่นๆ แล้ว Value Added อยู่ในระดับต่ำ แนวทางการพัฒนาศักยภาพของภาคอีสานในอนาคตได้แก่ การแก้ปัญหาความยากจน โดยการลดรายจ่าย สร้างรายได้ที่มั่นคงและสร้างโอกาส รวมทั้งการเพิ่มและรักษาการขยายตัวเศรษฐกิจ การส่งเสริมการลงทุนและยกระดับอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงฐานการผลิตของภาค นอกจากนี้ยังควรมีการสนับสนุนการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
“Look East: Value Added, Bio Tech, Logistic คือกุญแจของภาคอุตสาหกรรม”
นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น มีมุมมองจากภาคอุตสาหกรรมว่า ภาคอีสานยังมีโอกาสและศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาความแข็งแกร่งและขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต เช่นโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่เป็นจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอินโดจีน อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเช่นโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล และโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก และมี Value added ต่ำ โดยแนวทางการพัฒนาในอนาคตของภาคอุตสาหกรรมควรจะนำเอา Bio Technology และ ICT รวมทั้งเน้นการพัฒนาด้าน Logistic ให้มากขึ้น นายธวัชชัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าสำนักงานเศรษฐกิจการคลังควรจะเป็น ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาของพื้นที่ ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก (Think tank)
“การพัฒนาจุดแข็งเป็นสิ่งที่ต้องทำ”
นายสุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ให้มุมมองจากภาคเอกชน โดยกล่าวว่าจังหวัดขอนแก่นมีจุดแข็งหลายประการเช่นเป็นศูนย์กลางภาคอีสาน และเป็นศูนย์กลางอินโดจีน แต่การพัฒนาจุดแข็งยังมีพัฒนาการที่ช้าไม่เต็มศักยภาพ และการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมควรพัฒนาโดยเฉพาะทางด้านรถไฟและสนามบิน และปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นเป็นเพียงจุดผ่านสินค้าเท่านั้น ดังนั้นจึงควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และเสนอว่าภาคเอกชนจังหวัดขอนแก่นอยากให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหน่วยงานหลักที่คอยดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และมีการเตือนภัยอย่างถูกต้องทันท่วงทีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเอกชน
“เทคโนโลยี, R&D และ ความต่อเนื่องของนโยบายรัฐคือหัวใจของการพัฒนา”
รองศาสตราจารย์มัณทนา สามารถ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มุมมองการพัฒนาศักยภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยกล่าวถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงต่อจุดแข็งต่างๆของภาค ได้แก่ สินค้าเกษตร (ข้าว มันสำปะหลังและอ้อย) ผักผลไม้ และปศุสัตว์ (วัวและไก่) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพิ่มเติมจากเดิมที่เน้นการใช้แรงงาน และอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยรัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนและมีกระบวนการต่อเนื่อง รวมทั้งควรลดการแทรกแซงทางด้านราคาเพื่อลดต้นทุนการกำกับดูแลของภาครัฐบาล นอกจากนี้ ภาคเอกชนควรมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางระบบเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับในตลาดต่างประเทศได้
“ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา”
นอกจากนี้ ยังได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเครือข่ายนักวิชาการเศรษฐกิจการคลังระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีแนวทางสร้างความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่
(1) เชื่อมโยงและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ในลักษณะการทำงานของ web base และเชื่อมโยง Internet อย่างสม่ำเสมอ
(2) แลกเปลี่ยนข้อมูลและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย
(3) ส่งเสริมให้บุคลากรในเครือข่ายได้ทำการศึกษา การวิจัย และฝึกอบรมร่วมกัน
(4) จัดเวทีอภิปรายหรือสัมมนาทางวิชาการด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และ
(5) ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2549 4 กันยายน 2549--