ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เหลือร้อยละ 4.25-5.25 นายบัณฑิต นิจถาวร รอง
ผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. แถลงว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้พิจารณาปรับลดประมาณการ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.25—5.25 จากร้อยละ 4.75—5.75 ส่วนปี 50 ยังคงไว้
ที่ร้อยละ 4.5-6.0 เช่นเดิม สำหรับเป้าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงไว้ที่ร้อยละ 2.0-3.0 แต่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไปจากร้อยละ 3.5-5.0 เป็นร้อยละ 4.0-5.0 และปี 50 เงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 2.0-3.0 เงินเฟ้อทั่วไป
ร้อยละ 2.0-3.5 สาเหตุสำคัญที่ต้องปรับลดคือ ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมากกว่าที่
คาดไว้เดิม ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชนลดลง และ
การลงทุนภาคเอกชนชะลอลง ซึ่งจากนี้ไปจะต้องติดตามปัจจัยที่จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
อย่างใกล้ชิด ต้องดูความผันผวนของราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกสูงกว่าที่คาดไว้อีกหรือไม่ ภาวะอัตราดอกเบี้ย
ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นหรือผันผวนมากกว่าที่คาดหรือไม่ และภาวะการชำระหนี้คืนของภาคครัวเรือนว่าจะเป็น
อย่างไรในระยะต่อไป ส่วนเรื่องนโยบายดอกเบี้ยยังบอกไม่ได้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อต่อไปหรือไม่
แต่มองว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2-3 ของปีนี้จะเริ่มชะลอ แต่เชื่อว่าในช่วงไตรมาส 4 จะกลับมาปรับตัวได้
เพราะต่อไปแนวโน้มเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายมีมากขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกจะ
ขยายตัวดีขึ้นตามที่ไอเอ็มเอฟคาดไว้ก็น่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยอมรับเงินทุนที่ไหลเข้าไทยส่วนใหญ่เป็นระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนกับค่าเงิน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามี
เงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคค่อนข้างมากรวมทั้งไทยด้วย ทำให้ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
สรอ. ปรับตัวค่อนข้างเร็ว ขณะที่ตัวเลขการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นชัดว่ามีเงินทุน
จากต่างชาติไหลเข้ามามากเพียงใด เพราะเงินที่เข้ามาส่วนหนึ่งอาจไปลงทุนในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่หุ้น เช่น
เงินฝาก ปล่อยกู้ หรือลงทุนในพันธบัตร เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมายังไม่เห็นการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่
ยอมรับว่าเงินที่ไหลเข้ามาส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น เข้ามาและออกไปอย่างรวดเร็ว จึงอาจสร้างความผันผวนให้
กับค่าเงินได้พอสมควร อย่างไรก็ตาม แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นแต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพราะ
ประเทศคู่ค้ายังมีความต้องการสินค้าไทยอยู่ ซึ่งปีนี้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีตามที่ประเมินไว้และเชื่อว่า
ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบน้อยลงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น (เดลินิวส์)
3. ก.คลังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับคงที่แล้ว นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า อัตราดอกเบี้ยของไทยควรอยู่ในระดับที่คงที่ได้แล้ว เพราะเป็นระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี
40 โดยดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 5-6 และดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 8-10 เป็นอัตราปรกติที่ไม่มีผลกระทบต่อทุก
ฝ่าย ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 27 เม.ย.นี้ จะหารือกับผู้ว่าการ
ธปท. เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าควรนิ่งได้แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น ธปท. เห็นด้วย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ในเดือน มี.ค. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 3.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นเมื่อต้นทุนราคาน้ำมัน
กระทบต่อต้นทุนการผลิต สำหรับอัตราดอกเบี้ยขณะนี้คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของ ธ.พาณิชย์ และเชื่อ
ว่าน่าจะแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้เหลือร้อยละ 2 ตามเป้าหมาย (โลกวันนี้, เดลินิวส์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 49 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.1 มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 48 และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้จากผลการสำรวจ
ของรอยเตอร์ ว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เช่นเดียวกับยอดขายบ้านใหม่ในเดือน
มี.ค. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อยู่ที่ระดับ 1.213 ล้านหลัง และมาก
ที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 36 เทียบกับที่ นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านในเดือน มี.ค. จะเพิ่ม
ขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.1 ล้านหลังอย่างไรก็ตามราคาบ้านได้ลดลงอย่างมากรวมทั้งจำนวนบ้านที่ยังไม่ได้ขายเพิ่มขึ้นที่สถิติ
สูงสุด ทั้งนี้ภายหลังจากการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ราคาพันธบัตรลดลง เนื่องจาก
มีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลาง สรอ. อาจจะพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินในวันที่ 10 พ.ค. นี้เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. คำขอสินเชื่อจำนองเพื่อซื้อบ้านของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 46
รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 49 Mortgage Bankers Association — MBA เปิดเผยว่า
ดัชนีคำขอสินเชื่อจำนองของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย. ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่
ระดับ 548.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลง จากระดับ 569.6 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลงร้อยละ 3.7
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม นักวิเคราะห์เห็นว่าการลดลงของคำขอสินเชื่อดังกล่าวชี้ว่ายอดซื้อบ้านในสัปดาห์
นี้จะลดลง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่า ความต้องการสินเชื่อจำนองที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีสต็อก
บ้านคงเหลือเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนราคาบ้านเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลกำไรลดลงอย่างมาก (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 49 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 26 เม.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานเศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาส
แรกปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 48 ซึ่งขยายตัวในอัตราเดียวกัน ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.2
เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีครึ่งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี
42 ชดเชยกับการชะลอตัวของภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศ โดยขยายตัวใน
อัตราต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีจากการชะลอตัวของการค้าปลีก ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเดือน มี.ค.49 ที่ผ่าน
มาลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีต่ำกว่าที่คาดไว้และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในระดับคงที่ เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในระดับใกล้
เคียงกับที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงร้อยละ 2.0 ต่อปี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไปอีกหลายเดือนนับตั้งแต่ลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน
ส.ค.48 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือน รายงานจาก
โซล เมื่อ 27 เม.ย.49 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.49 ต่ำ
กว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ท่ามกลางความกังวลว่าค่าเงินวอนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะ
นี้เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อยอดส่งออก หลังจากดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ.49
ลดลงร้อยละ 4.4 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.0 ต่อปี เทียบกับที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ต่อปีในเดือน
ก.พ.49 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่เผยแพร่ในวันเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อเดือนใน
เดือน มี.ค.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 49 26 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.711 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5173/37.8115 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.81625 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 770.40/ 28.72 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,200/11,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.77 66.72 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 เม.ย. 49 28.34*/26.69* 28.34*/26.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เหลือร้อยละ 4.25-5.25 นายบัณฑิต นิจถาวร รอง
ผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. แถลงว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้พิจารณาปรับลดประมาณการ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.25—5.25 จากร้อยละ 4.75—5.75 ส่วนปี 50 ยังคงไว้
ที่ร้อยละ 4.5-6.0 เช่นเดิม สำหรับเป้าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงไว้ที่ร้อยละ 2.0-3.0 แต่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไปจากร้อยละ 3.5-5.0 เป็นร้อยละ 4.0-5.0 และปี 50 เงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 2.0-3.0 เงินเฟ้อทั่วไป
ร้อยละ 2.0-3.5 สาเหตุสำคัญที่ต้องปรับลดคือ ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมากกว่าที่
คาดไว้เดิม ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชนลดลง และ
การลงทุนภาคเอกชนชะลอลง ซึ่งจากนี้ไปจะต้องติดตามปัจจัยที่จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
อย่างใกล้ชิด ต้องดูความผันผวนของราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกสูงกว่าที่คาดไว้อีกหรือไม่ ภาวะอัตราดอกเบี้ย
ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นหรือผันผวนมากกว่าที่คาดหรือไม่ และภาวะการชำระหนี้คืนของภาคครัวเรือนว่าจะเป็น
อย่างไรในระยะต่อไป ส่วนเรื่องนโยบายดอกเบี้ยยังบอกไม่ได้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อต่อไปหรือไม่
แต่มองว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2-3 ของปีนี้จะเริ่มชะลอ แต่เชื่อว่าในช่วงไตรมาส 4 จะกลับมาปรับตัวได้
เพราะต่อไปแนวโน้มเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายมีมากขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกจะ
ขยายตัวดีขึ้นตามที่ไอเอ็มเอฟคาดไว้ก็น่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยอมรับเงินทุนที่ไหลเข้าไทยส่วนใหญ่เป็นระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนกับค่าเงิน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามี
เงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคค่อนข้างมากรวมทั้งไทยด้วย ทำให้ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
สรอ. ปรับตัวค่อนข้างเร็ว ขณะที่ตัวเลขการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นชัดว่ามีเงินทุน
จากต่างชาติไหลเข้ามามากเพียงใด เพราะเงินที่เข้ามาส่วนหนึ่งอาจไปลงทุนในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่หุ้น เช่น
เงินฝาก ปล่อยกู้ หรือลงทุนในพันธบัตร เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมายังไม่เห็นการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่
ยอมรับว่าเงินที่ไหลเข้ามาส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น เข้ามาและออกไปอย่างรวดเร็ว จึงอาจสร้างความผันผวนให้
กับค่าเงินได้พอสมควร อย่างไรก็ตาม แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นแต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพราะ
ประเทศคู่ค้ายังมีความต้องการสินค้าไทยอยู่ ซึ่งปีนี้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีตามที่ประเมินไว้และเชื่อว่า
ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบน้อยลงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น (เดลินิวส์)
3. ก.คลังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับคงที่แล้ว นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า อัตราดอกเบี้ยของไทยควรอยู่ในระดับที่คงที่ได้แล้ว เพราะเป็นระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี
40 โดยดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 5-6 และดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 8-10 เป็นอัตราปรกติที่ไม่มีผลกระทบต่อทุก
ฝ่าย ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 27 เม.ย.นี้ จะหารือกับผู้ว่าการ
ธปท. เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าควรนิ่งได้แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น ธปท. เห็นด้วย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ในเดือน มี.ค. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 3.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นเมื่อต้นทุนราคาน้ำมัน
กระทบต่อต้นทุนการผลิต สำหรับอัตราดอกเบี้ยขณะนี้คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของ ธ.พาณิชย์ และเชื่อ
ว่าน่าจะแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้เหลือร้อยละ 2 ตามเป้าหมาย (โลกวันนี้, เดลินิวส์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 49 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.1 มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 48 และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้จากผลการสำรวจ
ของรอยเตอร์ ว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เช่นเดียวกับยอดขายบ้านใหม่ในเดือน
มี.ค. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อยู่ที่ระดับ 1.213 ล้านหลัง และมาก
ที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 36 เทียบกับที่ นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านในเดือน มี.ค. จะเพิ่ม
ขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.1 ล้านหลังอย่างไรก็ตามราคาบ้านได้ลดลงอย่างมากรวมทั้งจำนวนบ้านที่ยังไม่ได้ขายเพิ่มขึ้นที่สถิติ
สูงสุด ทั้งนี้ภายหลังจากการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ราคาพันธบัตรลดลง เนื่องจาก
มีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลาง สรอ. อาจจะพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินในวันที่ 10 พ.ค. นี้เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. คำขอสินเชื่อจำนองเพื่อซื้อบ้านของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 46
รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 49 Mortgage Bankers Association — MBA เปิดเผยว่า
ดัชนีคำขอสินเชื่อจำนองของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย. ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่
ระดับ 548.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลง จากระดับ 569.6 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลงร้อยละ 3.7
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม นักวิเคราะห์เห็นว่าการลดลงของคำขอสินเชื่อดังกล่าวชี้ว่ายอดซื้อบ้านในสัปดาห์
นี้จะลดลง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่า ความต้องการสินเชื่อจำนองที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีสต็อก
บ้านคงเหลือเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนราคาบ้านเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลกำไรลดลงอย่างมาก (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 49 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 26 เม.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานเศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาส
แรกปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 48 ซึ่งขยายตัวในอัตราเดียวกัน ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.2
เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีครึ่งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี
42 ชดเชยกับการชะลอตัวของภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศ โดยขยายตัวใน
อัตราต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีจากการชะลอตัวของการค้าปลีก ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเดือน มี.ค.49 ที่ผ่าน
มาลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีต่ำกว่าที่คาดไว้และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในระดับคงที่ เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในระดับใกล้
เคียงกับที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงร้อยละ 2.0 ต่อปี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไปอีกหลายเดือนนับตั้งแต่ลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน
ส.ค.48 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือน รายงานจาก
โซล เมื่อ 27 เม.ย.49 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.49 ต่ำ
กว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ท่ามกลางความกังวลว่าค่าเงินวอนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะ
นี้เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อยอดส่งออก หลังจากดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ.49
ลดลงร้อยละ 4.4 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.0 ต่อปี เทียบกับที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ต่อปีในเดือน
ก.พ.49 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่เผยแพร่ในวันเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อเดือนใน
เดือน มี.ค.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 49 26 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.711 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5173/37.8115 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.81625 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 770.40/ 28.72 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,200/11,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.77 66.72 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 เม.ย. 49 28.34*/26.69* 28.34*/26.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--