วันที่ 10 ธ.ค. 49 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคฯ ว่า คณะกรรมการบริหารพรรค คณะผู้บริหารพรรค สภาที่ปรึกษาของพรรค ตลอดจนสมาชิกกว่า 4 ล้านคน และอดีตหัวหน้าพรรค มีความเชื่อมั่นในภาวะความเป็นผู้นำของคุณอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ผู้นำแนวใหม่ ตลอด 1 ปี 9 เดือนของการบริหาร ได้แสดงความกล้าหาญ ความเด็ดเดี่ยวและมองการณ์ไกลด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่แนวแน่มั่นคง ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการทำหน้าที่ทั้งในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและในฐานะของผู้นำพรรค ในการปฎิบัติหน้าที่ค้ำจุนระบบถ่วงดุลรัฐตรวจสอบภายใต้ระบอบทักษิณ โดยทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยไม่เกรงกลัวต่อภัยอันตรายใด ๆ ด้วยความเด็ดเดี่ยวทั้งในสภาและนอกสภา และมีความเชื่อมั่นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะนำพาพรรคสู่การเลือกตั้งในปี 2550 ในฐานะทางเลือกที่ดีของประชาชน และย้ำว่าใม่มีคลื่นใต้น้ำใด ๆ ในพรรคประชาธิปัตย์ ดังที่ปรากฎเป็นข่าว
นอกจากนี้ในวาระวันรัฐธรรมนูญและวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค มีข้อเสนอ 3 ข้อ เพื่อที่จะให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณภาพของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างประเทศไทยสู่ความเป็นเมืองไทยที่กอร์ปด้วยการปกครองแบบธรรมาภิบาล และประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัย ทุกศาสนา ทุกสาขาอาชีพ สามารถที่จะมีคุณภาพชีวิตภายใต้การค้ำประกันโดยรัฐธรรมนูญ
โดยข้อเสนอ 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. คือขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ประกาศให้หลักการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้นเป็นวาระแห่งชาติ และเร่งรัดในการสอบสวนคดีฆ่าตัดตอน 1,432 ศพ ให้เป็นคดีตัวอย่างเพื่อไม่ให้มีประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในภายภาคหน้าสำหรับรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ข้อที่ 2 ขอให้สมัชชา 1,982 คน ที่จะสรรหาว่าที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน และคมช.ทำหน้าที่ในการเลือกสรรเหลือสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คนนั้น ได้ตระหนักถึงหลักการมนุษยชน โดยขอให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้บรรจุบทบัญญัติและมาตราที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 43 มาตรา โดยพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญต้นแบบของความก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญที่ได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยในมาตราที่ 26-65 และในส่วนที่ 8 ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในมาตราที่ 199 -200 ข้อที่ 3 ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้นได้รายงานสถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไขเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยทุก 3 เดือน โดยให้ทางรัฐบาลและสื่อมวชนสนับสนุนในการเผยแพร่สู่สาธารณะชน
ทั้งนี้ข้อเสนอทั้ง 3 ประการนั้นมีวัตถุประสงค์ด้วยความหวังว่าจะสามารถสร้างหลักประกันในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สำหรับการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบและผู้กระทำผิดในการประมูลเช่าระบบซอฟแวร์สำเร็จรูปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย งบประมาณ 3192 ล้านบาท นั้นนายอลงกรณ์ ในฐานะคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ยื่นเรื่องให้คตส. โดยผ่านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ในวันพุธ เวลา 10.30 น. เพื่อให้สอบสวนหาผู้รับผิดชอบและผู้กระทำผิดในการประมูลโครงการดังกล่าว ซึ่งส่อว่าเข้าข่ายการกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนองานต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 ใน 3 ประเด็น
ประเด็นที่ 1 คือราคาค่าเช่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง 2. ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใสส่อว่ามีการกีดกัน ไม่ได้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และ 3. มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงจากการจัดซื้อเป็นการเช่า ซึ่งทำให้ทางราชการเสียเปรียบและเสียหาย โดยมีบุคคล 5 กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 1. บริษัทของน้องสาวนายกรัฐมนตรี 2. บริษัทต่างชาติ 2 บริษัท 3. อดีตผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 4. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลกำกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 5. นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่การประมูลดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นในรัฐบาลที่ผ่านมา จะเห็นว่าเรื่องนี้คตส.สมควรที่จะได้ดำเนินการสอบสวนเพราะว่ามีพฤติกรรมตลอดจนหลักฐานและพยานส่อเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีความไม่โปร่งใส ส่อทุจริตและทำให้ทางราชการเสียหาย
พร้อมกันนี้เรื่องดังกล่าวนั้นก็จะเป็นหนึ่งในสมุดปกดำซึ่งได้กำหนดชื่อว่าสมุดปกดำหมายเหตุคอร์รัปชั่นภายใต้ระบอบทักษิณ โดยจะแล้วเสร็จในวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ซึ่งจะเป็นการรวบรวมประมวลการคอรัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงภายใต้รัฐบาลทักษิณ 1 ทักษิณ 2 และถือเป็นสมุดปกดำที่ได้บันทึกตำนานการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ธ.ค. 2549--จบ--
นอกจากนี้ในวาระวันรัฐธรรมนูญและวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค มีข้อเสนอ 3 ข้อ เพื่อที่จะให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณภาพของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างประเทศไทยสู่ความเป็นเมืองไทยที่กอร์ปด้วยการปกครองแบบธรรมาภิบาล และประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัย ทุกศาสนา ทุกสาขาอาชีพ สามารถที่จะมีคุณภาพชีวิตภายใต้การค้ำประกันโดยรัฐธรรมนูญ
โดยข้อเสนอ 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. คือขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ประกาศให้หลักการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้นเป็นวาระแห่งชาติ และเร่งรัดในการสอบสวนคดีฆ่าตัดตอน 1,432 ศพ ให้เป็นคดีตัวอย่างเพื่อไม่ให้มีประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในภายภาคหน้าสำหรับรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ข้อที่ 2 ขอให้สมัชชา 1,982 คน ที่จะสรรหาว่าที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน และคมช.ทำหน้าที่ในการเลือกสรรเหลือสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คนนั้น ได้ตระหนักถึงหลักการมนุษยชน โดยขอให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้บรรจุบทบัญญัติและมาตราที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 43 มาตรา โดยพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญต้นแบบของความก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญที่ได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยในมาตราที่ 26-65 และในส่วนที่ 8 ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในมาตราที่ 199 -200 ข้อที่ 3 ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้นได้รายงานสถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไขเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยทุก 3 เดือน โดยให้ทางรัฐบาลและสื่อมวชนสนับสนุนในการเผยแพร่สู่สาธารณะชน
ทั้งนี้ข้อเสนอทั้ง 3 ประการนั้นมีวัตถุประสงค์ด้วยความหวังว่าจะสามารถสร้างหลักประกันในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สำหรับการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบและผู้กระทำผิดในการประมูลเช่าระบบซอฟแวร์สำเร็จรูปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย งบประมาณ 3192 ล้านบาท นั้นนายอลงกรณ์ ในฐานะคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ยื่นเรื่องให้คตส. โดยผ่านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ในวันพุธ เวลา 10.30 น. เพื่อให้สอบสวนหาผู้รับผิดชอบและผู้กระทำผิดในการประมูลโครงการดังกล่าว ซึ่งส่อว่าเข้าข่ายการกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนองานต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 ใน 3 ประเด็น
ประเด็นที่ 1 คือราคาค่าเช่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง 2. ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใสส่อว่ามีการกีดกัน ไม่ได้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และ 3. มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงจากการจัดซื้อเป็นการเช่า ซึ่งทำให้ทางราชการเสียเปรียบและเสียหาย โดยมีบุคคล 5 กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 1. บริษัทของน้องสาวนายกรัฐมนตรี 2. บริษัทต่างชาติ 2 บริษัท 3. อดีตผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 4. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลกำกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 5. นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่การประมูลดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นในรัฐบาลที่ผ่านมา จะเห็นว่าเรื่องนี้คตส.สมควรที่จะได้ดำเนินการสอบสวนเพราะว่ามีพฤติกรรมตลอดจนหลักฐานและพยานส่อเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีความไม่โปร่งใส ส่อทุจริตและทำให้ทางราชการเสียหาย
พร้อมกันนี้เรื่องดังกล่าวนั้นก็จะเป็นหนึ่งในสมุดปกดำซึ่งได้กำหนดชื่อว่าสมุดปกดำหมายเหตุคอร์รัปชั่นภายใต้ระบอบทักษิณ โดยจะแล้วเสร็จในวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ซึ่งจะเป็นการรวบรวมประมวลการคอรัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงภายใต้รัฐบาลทักษิณ 1 ทักษิณ 2 และถือเป็นสมุดปกดำที่ได้บันทึกตำนานการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ธ.ค. 2549--จบ--