ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณชะลอตัวลง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธปท. เปิดเผยว่า ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลงหลังจากที่หลายฝ่ายออกมากล่าวว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
มีทิศทางชะลอตัวลง เพราะมีผลกระทบจากต้นทุนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งจากการที่ดูข้อมูลของการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ
ธ.พาณิชย์ยังเป็นไปตามปกติ ยังไม่พบว่ามีอะไรที่เป็นสัญญาณว่าจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่หลายฝ่ายมีความเป็นห่วงว่าจะ
ได้รับผลกระทบมากเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งจะกระทบไปถึงสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ ธ.พาณิชย์ปล่อยจะกลายเป็นหนี้เสียไปด้วย ส่วนแนวโน้ม
เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พบว่า ขณะนี้เอ็นพีแอลในระบบยังไม่มีความแตกต่างจากช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มากนัก
ยังเป็นไปตามปกติดีและไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยังอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการขอซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีฯ ของกลุ่มจีอี นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการขออนุญาตเข้าซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีอยุธยา สัดส่วนร้อยละ
25 ของกลุ่มธนาคารจีอี ซึ่งยังมีข้อมูลที่ต้องพิจารณามากพอสมควร แต่เชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นาน ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ของธนาคาร
ต่างชาติที่ต้องขออนุมัติจาก ธปท. ก่อนนั้นคงไม่มีปัญหาอะไร หาก ธปท. อนุมัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้ ก.คลังตัดสินอีกครั้งว่าจะเห็นด้วย
หรือไม่ ในขณะที่นักการเงินมองว่า ธปท. และ ก.คลัง น่าจะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินร้อยละ 5 เพราะมีประโยชน์ที่มีเงินลงทุน
ไหลเข้าไทยและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและทำให้ ธ.พาณิชย์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับการค้าเสรีที่กำลังมาถึง (โพสต์ทูเดย์,
ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.พาณิชย์ยังมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 นายพิศาล มโนลีหกุล กก.ผจก. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า
ยังมีแนวโน้มที่ ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 และไม่น่าเกินร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นอัตราการปรับขึ้นแบบเต็มที่ เพราะหาก
ดอกเบี้ยสูงกว่านี้ภาคธุรกิจจะรับไม่ไหว ทำให้ดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8 ซึ่งระดับนี้ถือว่าปรับขึ้นสูงแล้ว โดย
โอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพคล่อง แต่เกิดจากการแข่งขันระหว่างธนาคาร อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ส่งผล
กระทบต่อเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังมากนัก แต่มีผลทางจิตวิทยามากกว่า ซึ่งการที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้มากเพียงใดขึ้นอยู่กับภาคการส่งออกและการ
ท่องเที่ยว โดยคาดว่าช่วงครึ่งหลังของปีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 โดยกรณีจีดีพีลดลงค่อนไปทางร้อยละ 3.5
จะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกเป็นตัวฉุด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. การโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า จากข้อมูลระบบการชำระ
เงินประจำปี 48 พบว่า ปัจจุบันการชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักอีกทางหนึ่งของ บ.ไปรษณีย์ไทย เนื่องจากมี
จุดเด่นด้านสาขาทั่วประเทศให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่มาเชื่อมโยงกันด้วยระบบออนไลน์จนสามารถเปิดให้บริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ หรือ
CA Post ที่รวมเอาบริการธนาณัติออนไลน์ บริการรับชำระเงินค่าสินค้า และบริการ Pay at Post เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา
พบว่า การโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีปริมาณรายการถึง 30.63 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และมีมูลค่า
81,170 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากการปรับรูปแบบบริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ โดยเฉพาะบริการธนาณัติออนไลน์ที่สามารถถอนเงินที่
ปลายทางได้ภายใน 15 นาที และยังพบว่าบริการชำระเงินอื่น ๆ ที่ล่าช้ากว่ามีปริมาณลดลง เช่น ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์และธนาณัติต่างประเทศลดลง
ร้อยละ 17 และร้อยละ 4 ตามลำดับ สำหรับ ธ.พาณิชย์ยังมีรายได้จากการชำระเงินเพิ่มต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 34,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
15 แต่อัตราการเพิ่มลดลงจากร้อยละ 19 ในปี 47 เนื่องจากมีการใช้บริการสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บ. ไปรษณีย์ไทยเพิ่มขึ้นจนทำให้
รายได้ของ ธ.พาณิชย์เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน พ.ค.49 จะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
19 มิ.ย.49 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่ (หลังปรับฤดูกาล) ของ สรอ.
ในเดือน พ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นจำนวน 1.850 ล้านหลัง จากจำนวน 1.849 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์
จำนวนมากยังคงมีความเห็นว่าการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.มีแนวโน้มจะชะลอตัวในช่วงระหว่างปีนี้ สาเหตุจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ใน
ระดับสูงและความต้องการบ้านที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.และผู้เชี่ยวชาญจากตลาดการเงินของ สรอ. ได้ติดตามภาวะตลาดที่อยู่อาศัยของ
สรอ.อย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ช่วงที่มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อหลายปีก่อน (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย.49 จำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ
19 มิ.ย.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.49 เขตเศรษฐกิจยุโรปขาดดุลการค้าจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน
(ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) หลังจากที่เดือน มี.ค.49 เกินดุลจำนวน 0.6 พัน ล.ยูโร (จากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าเกินดุล 1.2 พัน
ล.ยูโร) และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลจำนวน 1.6 พัน ล.ยูโร อนึ่ง ในเดือน เม.ย.49 กลุ่มประเทศ
สหภาพยุโรป 25 ประเทศ.ขาดดุลการค้าจำนวน 14.8 พัน ล.ยูโร สูงกว่ายอดขาดดุลของเดือน มี.ค.49 ที่ปรับตัวเลขแล้วที่มีจำนวน 12.4 พัน
ล.ยูโร รวมทั้งสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาดดุลจำนวน 9.3 พัน ล.ยูโร ทั้งนี้ ตัวเลขการขาดดุลการค้าของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปในเดือน เม.ย. ยังไม่มีการวิเคราะห์ในรายละเอียดถึงสาเหตุของการขาดดุลแต่รายละเอียดที่แสดงในเดือน มี.ค. บ่งชี้ว่าการขาดดุล น่าจะ
เป็นผลมาจากภาวะการขาดดุลการค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงจำนวน 64 พัน ล.ยูโรในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นจาก
จำนวน 42.4 พัน ล.ยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งประเทศผู้ส่งออกสินค้าหมวดพลังงานขนาดใหญ่ คือ รัสเซียและนอร์เวย์เห็นว่า การส่งออก
สินค้าหมวดพลังงานไปยังเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 และ ร้อยละ 47 ตามลำดับ ขณะที่ภาวะการนำเข้าสินค้า
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปจากจีนก็สูงกว่าการส่งออกไปยังจีน ส่งผลให้ขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 20.9 พัน ล.ยูโรในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้
จากจำนวน 16.1 พัน ล.ยูโรในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ธ. กลางจีนกล่าวว่าต้องควบคุมสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ธพ. การขยายตัวของปริมาณเงิน และสินเชื่ออย่างเข้มงวด
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 49 ธ. กลางจีนเปิดเผยในรายงานภายหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะต้องมีความ
คืบหน้าในการควบคุมอุปทานทางการเงิน และการขยายตัวของสินเชื่อต่อไปอีก โดยประกาศของ ธ.กลางให้ ธพ. เพิ่มสัดส่วนเงินทุนสำรองอีก
ประมาณร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.ค. นี้ รวมทั้งยังได้ยืนยันการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ได้มีความคืบหน้าในการควบคุมการขยายตัวอย่างมากของสินเชื่อซึ่งจะส่งผลให้มีการลงทุนส่วนเกินในบางภาค
เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวอย่างมากของสินเชื่อและส่งผลให้เกิดหนี้เสียขึ้นใหม่ได้ แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้
ธ.กลางจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.27 เพื่อควบคุมสภาพคล่องในตลาดแล้วก็ตาม ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้ออกคำสั่งใหม่เพื่อ
ป้องกันการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ธ.กลางจีนกล่าวว่าจะให้แนวทางแก่ ธพ. ในประเทศเพื่อควบคุมระดับสินเชื่อระยะกลาง และ
ระยะยาว ขณะที่อุปสงค์และอุปทานในตลาดจะเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก สรอ. ว่ามีค่าต่ำเกินจริง
และเอื้อต่อผู้ส่งออกของจีนทำให้ได้เปรียบในตลาดโลก(รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน พ.ค.49 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 19 มิ.ย.49 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.49 ของมาเลเซีย
จะอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.6 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 และร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.49 ซึ่งถือเป็นอัตราสูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.42 โดยรัฐบาลมีกำหนดจะรายงานอัตราเงินเฟ้อของเดือน พ.ค.49 อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 มิ.ย.49 นี้ อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ดูจะให้ความสนใจอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.49 มากกว่า เนื่องจากมีการขึ้นค่าใช้กระแสไฟฟ้าเฉลี่ยร้อยละ 12 ตั้งแต่วันที่
1 มิ.ย.49 เป็นต้นมาซึ่งคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางมาเลเซียจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 28 ก.ค.49 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในเดือน เม.ย.49 เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 เดือนทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี 47 เป็นต้นมาจากราคาน้ำมัน บุหรี่และ
เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 49 จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0
ต่อปีในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 มิ.ย. 49 19 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.468 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2808/38.5732 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.07672 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 659.68/ 7.78 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 10,500/10,600 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.86 63.65 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย. 49 29.79/27.54* 29.79/27.54 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณชะลอตัวลง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธปท. เปิดเผยว่า ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลงหลังจากที่หลายฝ่ายออกมากล่าวว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
มีทิศทางชะลอตัวลง เพราะมีผลกระทบจากต้นทุนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งจากการที่ดูข้อมูลของการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ
ธ.พาณิชย์ยังเป็นไปตามปกติ ยังไม่พบว่ามีอะไรที่เป็นสัญญาณว่าจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่หลายฝ่ายมีความเป็นห่วงว่าจะ
ได้รับผลกระทบมากเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งจะกระทบไปถึงสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ ธ.พาณิชย์ปล่อยจะกลายเป็นหนี้เสียไปด้วย ส่วนแนวโน้ม
เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พบว่า ขณะนี้เอ็นพีแอลในระบบยังไม่มีความแตกต่างจากช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มากนัก
ยังเป็นไปตามปกติดีและไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยังอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการขอซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีฯ ของกลุ่มจีอี นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการขออนุญาตเข้าซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีอยุธยา สัดส่วนร้อยละ
25 ของกลุ่มธนาคารจีอี ซึ่งยังมีข้อมูลที่ต้องพิจารณามากพอสมควร แต่เชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นาน ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ของธนาคาร
ต่างชาติที่ต้องขออนุมัติจาก ธปท. ก่อนนั้นคงไม่มีปัญหาอะไร หาก ธปท. อนุมัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะส่งเรื่องให้ ก.คลังตัดสินอีกครั้งว่าจะเห็นด้วย
หรือไม่ ในขณะที่นักการเงินมองว่า ธปท. และ ก.คลัง น่าจะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินร้อยละ 5 เพราะมีประโยชน์ที่มีเงินลงทุน
ไหลเข้าไทยและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและทำให้ ธ.พาณิชย์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับการค้าเสรีที่กำลังมาถึง (โพสต์ทูเดย์,
ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.พาณิชย์ยังมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 นายพิศาล มโนลีหกุล กก.ผจก. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า
ยังมีแนวโน้มที่ ธ.พาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 และไม่น่าเกินร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นอัตราการปรับขึ้นแบบเต็มที่ เพราะหาก
ดอกเบี้ยสูงกว่านี้ภาคธุรกิจจะรับไม่ไหว ทำให้ดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8 ซึ่งระดับนี้ถือว่าปรับขึ้นสูงแล้ว โดย
โอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพคล่อง แต่เกิดจากการแข่งขันระหว่างธนาคาร อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ส่งผล
กระทบต่อเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังมากนัก แต่มีผลทางจิตวิทยามากกว่า ซึ่งการที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้มากเพียงใดขึ้นอยู่กับภาคการส่งออกและการ
ท่องเที่ยว โดยคาดว่าช่วงครึ่งหลังของปีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 โดยกรณีจีดีพีลดลงค่อนไปทางร้อยละ 3.5
จะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกเป็นตัวฉุด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. การโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า จากข้อมูลระบบการชำระ
เงินประจำปี 48 พบว่า ปัจจุบันการชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักอีกทางหนึ่งของ บ.ไปรษณีย์ไทย เนื่องจากมี
จุดเด่นด้านสาขาทั่วประเทศให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่มาเชื่อมโยงกันด้วยระบบออนไลน์จนสามารถเปิดให้บริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ หรือ
CA Post ที่รวมเอาบริการธนาณัติออนไลน์ บริการรับชำระเงินค่าสินค้า และบริการ Pay at Post เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา
พบว่า การโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบไปรษณีย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีปริมาณรายการถึง 30.63 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และมีมูลค่า
81,170 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากการปรับรูปแบบบริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ โดยเฉพาะบริการธนาณัติออนไลน์ที่สามารถถอนเงินที่
ปลายทางได้ภายใน 15 นาที และยังพบว่าบริการชำระเงินอื่น ๆ ที่ล่าช้ากว่ามีปริมาณลดลง เช่น ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์และธนาณัติต่างประเทศลดลง
ร้อยละ 17 และร้อยละ 4 ตามลำดับ สำหรับ ธ.พาณิชย์ยังมีรายได้จากการชำระเงินเพิ่มต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 34,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
15 แต่อัตราการเพิ่มลดลงจากร้อยละ 19 ในปี 47 เนื่องจากมีการใช้บริการสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บ. ไปรษณีย์ไทยเพิ่มขึ้นจนทำให้
รายได้ของ ธ.พาณิชย์เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน พ.ค.49 จะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
19 มิ.ย.49 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่ (หลังปรับฤดูกาล) ของ สรอ.
ในเดือน พ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นจำนวน 1.850 ล้านหลัง จากจำนวน 1.849 ล้านหลังในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์
จำนวนมากยังคงมีความเห็นว่าการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.มีแนวโน้มจะชะลอตัวในช่วงระหว่างปีนี้ สาเหตุจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ใน
ระดับสูงและความต้องการบ้านที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.และผู้เชี่ยวชาญจากตลาดการเงินของ สรอ. ได้ติดตามภาวะตลาดที่อยู่อาศัยของ
สรอ.อย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ช่วงที่มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อหลายปีก่อน (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย.49 จำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ
19 มิ.ย.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.49 เขตเศรษฐกิจยุโรปขาดดุลการค้าจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร เทียบต่อเดือน
(ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) หลังจากที่เดือน มี.ค.49 เกินดุลจำนวน 0.6 พัน ล.ยูโร (จากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าเกินดุล 1.2 พัน
ล.ยูโร) และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลจำนวน 1.6 พัน ล.ยูโร อนึ่ง ในเดือน เม.ย.49 กลุ่มประเทศ
สหภาพยุโรป 25 ประเทศ.ขาดดุลการค้าจำนวน 14.8 พัน ล.ยูโร สูงกว่ายอดขาดดุลของเดือน มี.ค.49 ที่ปรับตัวเลขแล้วที่มีจำนวน 12.4 พัน
ล.ยูโร รวมทั้งสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาดดุลจำนวน 9.3 พัน ล.ยูโร ทั้งนี้ ตัวเลขการขาดดุลการค้าของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปในเดือน เม.ย. ยังไม่มีการวิเคราะห์ในรายละเอียดถึงสาเหตุของการขาดดุลแต่รายละเอียดที่แสดงในเดือน มี.ค. บ่งชี้ว่าการขาดดุล น่าจะ
เป็นผลมาจากภาวะการขาดดุลการค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงจำนวน 64 พัน ล.ยูโรในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นจาก
จำนวน 42.4 พัน ล.ยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งประเทศผู้ส่งออกสินค้าหมวดพลังงานขนาดใหญ่ คือ รัสเซียและนอร์เวย์เห็นว่า การส่งออก
สินค้าหมวดพลังงานไปยังเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 และ ร้อยละ 47 ตามลำดับ ขณะที่ภาวะการนำเข้าสินค้า
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปจากจีนก็สูงกว่าการส่งออกไปยังจีน ส่งผลให้ขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 20.9 พัน ล.ยูโรในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้
จากจำนวน 16.1 พัน ล.ยูโรในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ธ. กลางจีนกล่าวว่าต้องควบคุมสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ธพ. การขยายตัวของปริมาณเงิน และสินเชื่ออย่างเข้มงวด
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 49 ธ. กลางจีนเปิดเผยในรายงานภายหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะต้องมีความ
คืบหน้าในการควบคุมอุปทานทางการเงิน และการขยายตัวของสินเชื่อต่อไปอีก โดยประกาศของ ธ.กลางให้ ธพ. เพิ่มสัดส่วนเงินทุนสำรองอีก
ประมาณร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.ค. นี้ รวมทั้งยังได้ยืนยันการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ได้มีความคืบหน้าในการควบคุมการขยายตัวอย่างมากของสินเชื่อซึ่งจะส่งผลให้มีการลงทุนส่วนเกินในบางภาค
เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวอย่างมากของสินเชื่อและส่งผลให้เกิดหนี้เสียขึ้นใหม่ได้ แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้
ธ.กลางจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.27 เพื่อควบคุมสภาพคล่องในตลาดแล้วก็ตาม ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้ออกคำสั่งใหม่เพื่อ
ป้องกันการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ธ.กลางจีนกล่าวว่าจะให้แนวทางแก่ ธพ. ในประเทศเพื่อควบคุมระดับสินเชื่อระยะกลาง และ
ระยะยาว ขณะที่อุปสงค์และอุปทานในตลาดจะเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก สรอ. ว่ามีค่าต่ำเกินจริง
และเอื้อต่อผู้ส่งออกของจีนทำให้ได้เปรียบในตลาดโลก(รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน พ.ค.49 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 19 มิ.ย.49 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.49 ของมาเลเซีย
จะอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.6 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 และร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.49 ซึ่งถือเป็นอัตราสูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.42 โดยรัฐบาลมีกำหนดจะรายงานอัตราเงินเฟ้อของเดือน พ.ค.49 อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 มิ.ย.49 นี้ อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ดูจะให้ความสนใจอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.49 มากกว่า เนื่องจากมีการขึ้นค่าใช้กระแสไฟฟ้าเฉลี่ยร้อยละ 12 ตั้งแต่วันที่
1 มิ.ย.49 เป็นต้นมาซึ่งคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางมาเลเซียจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 28 ก.ค.49 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในเดือน เม.ย.49 เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 เดือนทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี 47 เป็นต้นมาจากราคาน้ำมัน บุหรี่และ
เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 49 จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0
ต่อปีในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 มิ.ย. 49 19 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.468 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2808/38.5732 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.07672 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 659.68/ 7.78 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 10,500/10,600 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.86 63.65 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย. 49 29.79/27.54* 29.79/27.54 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--