นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าไทยมีไทยใช้สิทธิ GSP ในช่วงปี 2548 (ม.ค. — ต.ค.) มีมูลค่า 2,878.1 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 2,595.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 และเมื่อพิจารณาตามมูลค่าการส่งออกภายใต้การใช้สิทธิGSPสหรัฐฯ ประเทศที่ใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก คือ
ประเทศ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ร้อยละส่วนแบ่งการตลาดสหรัฐ (1) อินเดีย 3,372.8 15.48 (2) แองโกลา 3,087.7 14.17 (3) บราซิล 3,052.1 14.01 (4) ไทย 2,878.1 13.21 (5) อินโดนีเซีย 1,329.9 6.10
สำหรับ สินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ สูง 5 อันดับแรกเรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออก คือ
พิกัด รายการสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)
(1) 7113.19.50 เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะที่มีค่าอื่นๆ 485.1 ที่ไม่ใช่เงิน
(2) 8528.12.28 เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีโอ 133.2 มีขนาดเส้นทแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม.
(3) 3923.21.00 บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก 104.9
(4) 4011.20.101 ยางเรเดียล 67.3
(5) 7113.11.50 เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงิน 55.7 มีมูลค่าไม่เกิน 18 เหรียญสหรัฐ ต่อชิ้น
รายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐเกินเพดานขั้นสูงที่สหรัฐกำหนด (ปี 2548 = 120 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งจะถูกตัดสิทธิ GSP ในวันที่ 1 ก.ค. 2549 คือ พิกัด 76151930 ของใช้บนโต๊ะอาหารทำจากอะลูมิเนียม มีมูลค่าการส่งออก 124.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสินค้าอื่นเช่น อัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ได้รับการผ่อนผันให้ยกเว้นเพดานการส่งออกไม่ต้องถูกตัดสิทธิ GSP
ส่วนรายการสินค้าที่มีแนวโน้มจะถูกตัดสิทธิ GSP เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกเกินหรือใกล้เพดาน ที่กำหนดได้แก่ บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก มีมูลค่าการส่งออกถึง 106.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และยางเรเดียล ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยมีมูลค่าการส่งออกถึง 69.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าเพียง 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นร้อยละ 1,071.7
รายการสินค้าที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิ GSP เมื่อพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่ารวมที่สหรัฐฯนำเข้าจากทั่วโลก ได้แก่ พิกัด รายการสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนแบ่งตลาด(%) (1) 08106000 ทุเรียนสด 0. 92 100 (2) 08134010 มะละกอตากแห้ง 1.71 95.43 (3) 20089935 ลิ้นจี่/ลำไยปรุงแต่ง 2.60 74.98 (4) 20060070 ผลไม้ปรุงแต่ง 2.47 55.02 (5) 08134080 มะขามตากแห้ง 0. 62 54.55 (6) 11023000 แป้งข้าวเจ้า 2.66 51.42
อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าดังกล่าวแม้จะมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐเกินร้อยละ 50 แต่มูลค่าที่สหรัฐนำเข้าจากทั่วโลกของแต่ละสินค้าต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐกำหนด (ปี 2548 = 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศสามารถยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้สหรัฐระงับสิทธิGSPได้ และจะรีบดำเนินการทันที เมื่อสหรัฐเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้อง รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้า ต่างประเทศ โทร. 1385 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.go.th, e- mail : tpdftt@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
ประเทศ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ร้อยละส่วนแบ่งการตลาดสหรัฐ (1) อินเดีย 3,372.8 15.48 (2) แองโกลา 3,087.7 14.17 (3) บราซิล 3,052.1 14.01 (4) ไทย 2,878.1 13.21 (5) อินโดนีเซีย 1,329.9 6.10
สำหรับ สินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ สูง 5 อันดับแรกเรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออก คือ
พิกัด รายการสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)
(1) 7113.19.50 เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะที่มีค่าอื่นๆ 485.1 ที่ไม่ใช่เงิน
(2) 8528.12.28 เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีโอ 133.2 มีขนาดเส้นทแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม.
(3) 3923.21.00 บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก 104.9
(4) 4011.20.101 ยางเรเดียล 67.3
(5) 7113.11.50 เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงิน 55.7 มีมูลค่าไม่เกิน 18 เหรียญสหรัฐ ต่อชิ้น
รายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐเกินเพดานขั้นสูงที่สหรัฐกำหนด (ปี 2548 = 120 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งจะถูกตัดสิทธิ GSP ในวันที่ 1 ก.ค. 2549 คือ พิกัด 76151930 ของใช้บนโต๊ะอาหารทำจากอะลูมิเนียม มีมูลค่าการส่งออก 124.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสินค้าอื่นเช่น อัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ได้รับการผ่อนผันให้ยกเว้นเพดานการส่งออกไม่ต้องถูกตัดสิทธิ GSP
ส่วนรายการสินค้าที่มีแนวโน้มจะถูกตัดสิทธิ GSP เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกเกินหรือใกล้เพดาน ที่กำหนดได้แก่ บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก มีมูลค่าการส่งออกถึง 106.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และยางเรเดียล ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยมีมูลค่าการส่งออกถึง 69.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าเพียง 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นร้อยละ 1,071.7
รายการสินค้าที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิ GSP เมื่อพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่ารวมที่สหรัฐฯนำเข้าจากทั่วโลก ได้แก่ พิกัด รายการสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนแบ่งตลาด(%) (1) 08106000 ทุเรียนสด 0. 92 100 (2) 08134010 มะละกอตากแห้ง 1.71 95.43 (3) 20089935 ลิ้นจี่/ลำไยปรุงแต่ง 2.60 74.98 (4) 20060070 ผลไม้ปรุงแต่ง 2.47 55.02 (5) 08134080 มะขามตากแห้ง 0. 62 54.55 (6) 11023000 แป้งข้าวเจ้า 2.66 51.42
อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าดังกล่าวแม้จะมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐเกินร้อยละ 50 แต่มูลค่าที่สหรัฐนำเข้าจากทั่วโลกของแต่ละสินค้าต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐกำหนด (ปี 2548 = 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศสามารถยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้สหรัฐระงับสิทธิGSPได้ และจะรีบดำเนินการทันที เมื่อสหรัฐเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้อง รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้า ต่างประเทศ โทร. 1385 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.go.th, e- mail : tpdftt@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-