ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในระยะต่อไปควรเน้นการออม ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวว่า ในระยะต่อไป แนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนทิศทาง โดยเน้นให้มีการออมภายในประเทศเพิ่มขึ้น
และมีการใช้จ่ายลดลง เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนการออมต่อรายได้
ประชาชาติของไทยปรับลดลงอย่างมากจากที่เคยสูงถึงระดับ 16-17% ล่าสุดลดเหลือประมาณ 3-4% โดยสัดส่วนการออมที่ลดลงเป็นผลมาจาก
ประชาชนหันมาใช้จ่ายสินค้าที่เกินความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่ส่งผลกระทบ แต่หากในอนาคตคนมีความต้องการใช้จ่ายมากขึ้นก็
จะทำให้เกิดปัญหา สำหรับปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้าคือ การส่งออกและการลงทุน นอกจากนี้ การดำเนินนโยบาย งปม.ขาดดุลก็
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีปัจจัยใดที่จะต้องจับตา
ดูเป็นพิเศษ (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. รมว.คลังยืนยืนจะมีการอนุมัติเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% ตามที่ชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตร้อง
ขอ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้จะลงนามอนุมัติให้มีการเพิ่มเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20%
จากเดิม 18% ตามที่ชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตร้องขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะมีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าผู้ประกอบการมีต้นทุน
เพิ่มขึ้นจริง ซึ่งเหตุผลดังกล่าวยอมรับได้ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลที่อยู่ที่ระดับ 28% และจะไม่ก่อให้เกิดภาระ
กับผู้ถือบัตรเครดิตมากเกินไป (ไทยโพสต์, โพสต์ทูเดย์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.49 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.49 ว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และ
ราคาน้ำมันขายปลีกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ และส่วนใหญ่เป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 82.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 76.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ
โดยรวมอยู่ที่ 77.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 92.7 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจดัชนีความเหมาะสมการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 นี้การบริโภคยังชะลอตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเหมาะสมในการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคทุกรายการยังต่ำกว่า 100 แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเป็นการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
คงต้องรอดูสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมีจำนวน 69.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ผลจากราคาน้ำมันที่
สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 12 ต.ค.49 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็น
69.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าที่คาดไว้ จากจำนวน 68 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ในจำนวนนี้เป็นการขาดดุลการค้ากับจีน
จำนวน 22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในเดือนดังกล่าว
แม้ว่าทั้งยอดส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มีจำนวน
122.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าเล็กน้อยคือร้อยละ 2.4 มีจำนวน 192.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สะท้อน
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 49 ขยายตัวในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาสินค้าทั้งหมดของญี่ปุ่นเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
13 ต.ค.49 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าทั้งหมด (CGPI) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อน สูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.3 และถ้าเทียบกับเดือนก่อน CGPI ที่มีแนวโน้มไปทางด้านสินค้าแบบขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สูงกว่าที่
คาดการณ์กันไว้ที่ร้อยละ 0.1 โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบริษัทผู้ค้าได้ผลักภาระดังกล่าวไปยังผู้บริโภคในช่วง
2-3 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. จีนอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงไตรมาส 2 ปี 50 รายงานจากกรุงลอนดอน/ปักกิ่ง เมื่อวันที่ 12 ต.ค.49 สำนักข่าว
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์จากจีน ยุโรป ออสเตรเลีย และ สรอ. คาดว่าจีนอาจจะคงความเข้มงวดด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ไปจนถึงปีหน้า โดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะผลักดันให้จีนต้องเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงไตรมาส 2
ปี 50 ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ส.ค. ที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภาย
ในสิ้นปี 49 หลังจากที่จีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบไม่คาดคิดเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่า ธ.กลางจีนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
เงินฝากและเงินกู้ในไตรมาส 2 ปี 50 อีกร้อยละ 0.27 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.79 และ 6.39 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
12 ต.ค.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.0 จาก
เดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนหลังจากลดลงร้อยละ 0.8 และ 5.3 ในเดือน ก.ค.และ มิ.ย.49 ตามลำดับ โดยเป็นผลจาก
เศรษฐกิจที่ขยายตัวถึงร้อยละ 6 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 อันเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคในประเทศซึ่งได้รับผลดีจากภาวะการจ้างงาน
ที่ดีขึ้น โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่ายอดค้าปลีกในเดือน ส.ค.49 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 4.5 ในเดือน
ก.ค.และ มิ.ย.49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ต.ค. 49 12 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.506 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3278/37.6129 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.67/18.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,200/10,300 10,150/10,250 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.21 53.37 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.59*/24.14* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในระยะต่อไปควรเน้นการออม ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวว่า ในระยะต่อไป แนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนทิศทาง โดยเน้นให้มีการออมภายในประเทศเพิ่มขึ้น
และมีการใช้จ่ายลดลง เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนการออมต่อรายได้
ประชาชาติของไทยปรับลดลงอย่างมากจากที่เคยสูงถึงระดับ 16-17% ล่าสุดลดเหลือประมาณ 3-4% โดยสัดส่วนการออมที่ลดลงเป็นผลมาจาก
ประชาชนหันมาใช้จ่ายสินค้าที่เกินความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่ส่งผลกระทบ แต่หากในอนาคตคนมีความต้องการใช้จ่ายมากขึ้นก็
จะทำให้เกิดปัญหา สำหรับปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้าคือ การส่งออกและการลงทุน นอกจากนี้ การดำเนินนโยบาย งปม.ขาดดุลก็
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีปัจจัยใดที่จะต้องจับตา
ดูเป็นพิเศษ (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. รมว.คลังยืนยืนจะมีการอนุมัติเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% ตามที่ชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตร้อง
ขอ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้จะลงนามอนุมัติให้มีการเพิ่มเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20%
จากเดิม 18% ตามที่ชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตร้องขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะมีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าผู้ประกอบการมีต้นทุน
เพิ่มขึ้นจริง ซึ่งเหตุผลดังกล่าวยอมรับได้ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลที่อยู่ที่ระดับ 28% และจะไม่ก่อให้เกิดภาระ
กับผู้ถือบัตรเครดิตมากเกินไป (ไทยโพสต์, โพสต์ทูเดย์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.49 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.49 ว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และ
ราคาน้ำมันขายปลีกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ และส่วนใหญ่เป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 82.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 76.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ
โดยรวมอยู่ที่ 77.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 92.7 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจดัชนีความเหมาะสมการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 นี้การบริโภคยังชะลอตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเหมาะสมในการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคทุกรายการยังต่ำกว่า 100 แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเป็นการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
คงต้องรอดูสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมีจำนวน 69.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ผลจากราคาน้ำมันที่
สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 12 ต.ค.49 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็น
69.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าที่คาดไว้ จากจำนวน 68 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ในจำนวนนี้เป็นการขาดดุลการค้ากับจีน
จำนวน 22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในเดือนดังกล่าว
แม้ว่าทั้งยอดส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มีจำนวน
122.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าเล็กน้อยคือร้อยละ 2.4 มีจำนวน 192.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สะท้อน
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 49 ขยายตัวในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาสินค้าทั้งหมดของญี่ปุ่นเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
13 ต.ค.49 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าทั้งหมด (CGPI) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อน สูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.3 และถ้าเทียบกับเดือนก่อน CGPI ที่มีแนวโน้มไปทางด้านสินค้าแบบขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สูงกว่าที่
คาดการณ์กันไว้ที่ร้อยละ 0.1 โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบริษัทผู้ค้าได้ผลักภาระดังกล่าวไปยังผู้บริโภคในช่วง
2-3 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. จีนอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงไตรมาส 2 ปี 50 รายงานจากกรุงลอนดอน/ปักกิ่ง เมื่อวันที่ 12 ต.ค.49 สำนักข่าว
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์จากจีน ยุโรป ออสเตรเลีย และ สรอ. คาดว่าจีนอาจจะคงความเข้มงวดด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ไปจนถึงปีหน้า โดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะผลักดันให้จีนต้องเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงไตรมาส 2
ปี 50 ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ส.ค. ที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภาย
ในสิ้นปี 49 หลังจากที่จีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบไม่คาดคิดเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่า ธ.กลางจีนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
เงินฝากและเงินกู้ในไตรมาส 2 ปี 50 อีกร้อยละ 0.27 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.79 และ 6.39 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
12 ต.ค.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.0 จาก
เดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนหลังจากลดลงร้อยละ 0.8 และ 5.3 ในเดือน ก.ค.และ มิ.ย.49 ตามลำดับ โดยเป็นผลจาก
เศรษฐกิจที่ขยายตัวถึงร้อยละ 6 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 อันเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคในประเทศซึ่งได้รับผลดีจากภาวะการจ้างงาน
ที่ดีขึ้น โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่ายอดค้าปลีกในเดือน ส.ค.49 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 4.5 ในเดือน
ก.ค.และ มิ.ย.49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ต.ค. 49 12 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.506 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3278/37.6129 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.67/18.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,200/10,300 10,150/10,250 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.21 53.37 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.59*/24.14* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--