นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เปิดเผยถึงผลสรุปการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 13 (The Thirteenth APEC Finance Ministers’ Meeting) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2549 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมี นายวู วาน นิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประธาน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ประมาณการภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิคเอเปคว่าแม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 90 ระหว่างปี 2546-2548 และร้อยละ 26 ในปี 2549 ประกอบกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นสหรัฐฯ และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยังสามารถเติบโตขึ้นได้เกินกว่าร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้มีการเติบโตบนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถปรับตัวได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก สำหรับเศรษฐกิจของไทยนั้น นายทนงฯ ได้แจ้งที่ประชุมว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงกลางปี 2549 อาจชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้อัตราการลงทุนลดลงจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงมีอัตราการเติบโดอย่างต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 4 - 5 พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง สังเกตได้จากภาคการส่งออกที่เติบโตขึ้นถึงประมาณร้อยละ 17 ในครึ่งปีแรกของ 2549 ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินโดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 3 ในเดือนที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แก่ ความไม่ชัดเจนของสถานการณ์การเมืองซึ่งทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนต้องล่าช้าไป และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทำให้ชะลอการตัดสินใจขยายการลงทุนไปบ้าง
2. หัวข้อหลักของการประชุม ในปีนี้ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
2.1 การดำเนินมาตรการทางการคลังอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเพื่อเสถียรภาพในการจัดเก็บรายได้สู่ภาครัฐ ซึ่งที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายด้านการคลังเพื่อส่งเสริมการลงทุน โดยมีข้อสังเกตว่ากรแข่งขันระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนนั้น อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการจัดเก็บรายได้เข้าสู่ภาครัฐ ที่ประชุมจึงเห็นควรให้สมาชิกเอเปคพิจารณาทบทวนมาตรการด้านภาษีที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานการจัดเก็บรายได้ เพื่อประเมินผลได้และผลเสียในภาพรวมของมาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนแต่ละมาตรการ ในขณะเดียวกัน สมาชิกเอเปคอาจพิจารณาถึงความร่วมมือจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้ความรู้ทางวิชาการระหว่างกันเพื่อการดำเนินนโยบายด้านภาษีที่มีประสิทธิภาพ
2.2 การปรับโครงสร้างด้านการเงินเพื่อดึงดูดเงินลงทุน ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าและการบริการ ซึ่งจะทำให้มีกระแสเงินไหลเข้าออกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาชิกเอเปคควรมีการพัฒนาโครงสร้างระบบสถาบันการเงินภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการไหลเข้าออกของเงินทุน รวมทั้งพิจารณามาตรการในการกำกับดูแลกระแสเงินไหลเข้าออกระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการปฏิรูประบบสถาบันการเงินของแต่ละเขตเศรษฐกิจควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมและระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ
3. การหารือทวิภาคีกับผู้นำเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ
ไทยได้หารือทวิภาคีกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น และรัสเซีย โดยหัวข้อที่หารือส่วนใหญ่คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและในภูมิภาค และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินการคลังระหว่างกัน รวมทั้งนโยบายต่างๆของรัฐบาล ทั้งนี้ ในระหว่างการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน นายทนงฯ ได้หยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นว่าในอนาคตทั้งสองเขตเศรษฐกิจควรร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และด้านพลังงานทดแทน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะยังได้พบกับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Mr. John Lipsky) เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนและตราสารทางการเงินเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศยินดีให้การสนับสนุนในการพัฒนาตลาดทุนของไทยให้ศักยภาพที่ดีขึ้นต่อไป
4. การประชุม Ministerial Retreat
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ในวันที่ 7 กันยายน 2549 ได้หารือกันในประเด็นหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) การปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากร ซึ่งในหลายเขตเศรษฐกิจเห็นว่าการใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT หรือ GST) เป็นแนวทางการจัดเก็บรายได้ที่ยั่งยืนมากกว่าการเน้นการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา และ 2) การแข่งขันกันในการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้ การให้ระยะเวลาปลอดภาษี การให้สิทธิชำระภาษีในอัตราพิเศษหรือภายใต้เงื่อนไขพิเศษ รวมทั้งการยอมให้ธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศปลอดภาษีสามารถเข้ามาทำธุรกิจในประเทศได้ หรือธุรกรรมทางการเงินที่ทันสมัยบางชนิดทำให้นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้ ส่งผลให้รายได้ของประเทศลดลงและทำให้ฐานการจัดเก็บภาษีของประเทศทยอยลดลง (erosion of tax base) ในขณะเดียวกัน การแข่งขันภายในภูมิภาคก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการทางการคลังซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานรายได้ของประเทศทำให้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างผลดีและปัญหาที่เกิดจากการใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุน
ในการนี้ นายทนงฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของไทยกับที่ประชุม เกี่ยวกับการนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี
นอกจากนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 7 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคยังได้พบปะกับผู้แทนภาคเอกชนจาก APEC Business Advisory Council (ABAC) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในปัจจุบัน
5. มาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาท
ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาทร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ มาตรการให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยความร่วมมือกันของสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคอันเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่กระทรวงการคลังไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2546 โดยปัจจุบันสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปคจำนวน 15 แห่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุนธุรกิจ SME ซึ่งในปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งเวียดนาม (The Industrial and Commercial Bank of Vietnam: Incombank) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ประจำปีสถาบันการเงินดังกล่าว โดยมีผู้แทนของธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ของไทยให้การสนับสนุนการประชุมดังกล่าว
นอกจากนี้ ในวันที่ 8 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้ร่วมลงนามกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังชิลี (นางมาเรีย โอลิเวีย รีคาร์ต) ในอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับชิลี โดยอนุสัญญาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสอง
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งต่อไป จะมีขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/2549 8 กันยายน 49--
1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ประมาณการภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิคเอเปคว่าแม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 90 ระหว่างปี 2546-2548 และร้อยละ 26 ในปี 2549 ประกอบกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นสหรัฐฯ และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยังสามารถเติบโตขึ้นได้เกินกว่าร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้มีการเติบโตบนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถปรับตัวได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก สำหรับเศรษฐกิจของไทยนั้น นายทนงฯ ได้แจ้งที่ประชุมว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงกลางปี 2549 อาจชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้อัตราการลงทุนลดลงจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงมีอัตราการเติบโดอย่างต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 4 - 5 พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง สังเกตได้จากภาคการส่งออกที่เติบโตขึ้นถึงประมาณร้อยละ 17 ในครึ่งปีแรกของ 2549 ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินโดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 3 ในเดือนที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แก่ ความไม่ชัดเจนของสถานการณ์การเมืองซึ่งทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนต้องล่าช้าไป และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทำให้ชะลอการตัดสินใจขยายการลงทุนไปบ้าง
2. หัวข้อหลักของการประชุม ในปีนี้ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
2.1 การดำเนินมาตรการทางการคลังอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเพื่อเสถียรภาพในการจัดเก็บรายได้สู่ภาครัฐ ซึ่งที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายด้านการคลังเพื่อส่งเสริมการลงทุน โดยมีข้อสังเกตว่ากรแข่งขันระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนนั้น อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการจัดเก็บรายได้เข้าสู่ภาครัฐ ที่ประชุมจึงเห็นควรให้สมาชิกเอเปคพิจารณาทบทวนมาตรการด้านภาษีที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานการจัดเก็บรายได้ เพื่อประเมินผลได้และผลเสียในภาพรวมของมาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนแต่ละมาตรการ ในขณะเดียวกัน สมาชิกเอเปคอาจพิจารณาถึงความร่วมมือจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้ความรู้ทางวิชาการระหว่างกันเพื่อการดำเนินนโยบายด้านภาษีที่มีประสิทธิภาพ
2.2 การปรับโครงสร้างด้านการเงินเพื่อดึงดูดเงินลงทุน ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าและการบริการ ซึ่งจะทำให้มีกระแสเงินไหลเข้าออกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาชิกเอเปคควรมีการพัฒนาโครงสร้างระบบสถาบันการเงินภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการไหลเข้าออกของเงินทุน รวมทั้งพิจารณามาตรการในการกำกับดูแลกระแสเงินไหลเข้าออกระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการปฏิรูประบบสถาบันการเงินของแต่ละเขตเศรษฐกิจควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมและระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ
3. การหารือทวิภาคีกับผู้นำเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ
ไทยได้หารือทวิภาคีกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น และรัสเซีย โดยหัวข้อที่หารือส่วนใหญ่คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและในภูมิภาค และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินการคลังระหว่างกัน รวมทั้งนโยบายต่างๆของรัฐบาล ทั้งนี้ ในระหว่างการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน นายทนงฯ ได้หยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นว่าในอนาคตทั้งสองเขตเศรษฐกิจควรร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และด้านพลังงานทดแทน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะยังได้พบกับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Mr. John Lipsky) เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนและตราสารทางการเงินเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศยินดีให้การสนับสนุนในการพัฒนาตลาดทุนของไทยให้ศักยภาพที่ดีขึ้นต่อไป
4. การประชุม Ministerial Retreat
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ในวันที่ 7 กันยายน 2549 ได้หารือกันในประเด็นหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) การปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากร ซึ่งในหลายเขตเศรษฐกิจเห็นว่าการใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT หรือ GST) เป็นแนวทางการจัดเก็บรายได้ที่ยั่งยืนมากกว่าการเน้นการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา และ 2) การแข่งขันกันในการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้ การให้ระยะเวลาปลอดภาษี การให้สิทธิชำระภาษีในอัตราพิเศษหรือภายใต้เงื่อนไขพิเศษ รวมทั้งการยอมให้ธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศปลอดภาษีสามารถเข้ามาทำธุรกิจในประเทศได้ หรือธุรกรรมทางการเงินที่ทันสมัยบางชนิดทำให้นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้ ส่งผลให้รายได้ของประเทศลดลงและทำให้ฐานการจัดเก็บภาษีของประเทศทยอยลดลง (erosion of tax base) ในขณะเดียวกัน การแข่งขันภายในภูมิภาคก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการทางการคลังซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานรายได้ของประเทศทำให้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างผลดีและปัญหาที่เกิดจากการใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุน
ในการนี้ นายทนงฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของไทยกับที่ประชุม เกี่ยวกับการนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี
นอกจากนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 7 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคยังได้พบปะกับผู้แทนภาคเอกชนจาก APEC Business Advisory Council (ABAC) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในปัจจุบัน
5. มาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาท
ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาทร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ มาตรการให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยความร่วมมือกันของสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคอันเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่กระทรวงการคลังไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2546 โดยปัจจุบันสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปคจำนวน 15 แห่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุนธุรกิจ SME ซึ่งในปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งเวียดนาม (The Industrial and Commercial Bank of Vietnam: Incombank) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ประจำปีสถาบันการเงินดังกล่าว โดยมีผู้แทนของธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ของไทยให้การสนับสนุนการประชุมดังกล่าว
นอกจากนี้ ในวันที่ 8 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้ร่วมลงนามกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังชิลี (นางมาเรีย โอลิเวีย รีคาร์ต) ในอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับชิลี โดยอนุสัญญาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสอง
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งต่อไป จะมีขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/2549 8 กันยายน 49--