วันนี้ 16 เม.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจากการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นวิกฤติอยู่ในขณะนี้พบว่ายังเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่มีวิกฤติอยู่หลายด้าน และแต่ละด้านยังไม่ได้มีการแก้ไขให้ลุล่วงลงไป ซึ่งทางพรรคฯ ได้ประมวลวิกฤติที่เกิดขึ้นมาตลอด 4 — 5 ปีที่ผ่านมา ได้ 9 วิกฤติ และหากปล่อยวิกฤติไว้ก็จะทำให้เป็นปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองต่อไปในระยะยาว โดย 9 วิกฤติดังกล่าวคือ
1. วิกฤติในเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ทุเลาเบาบาง หรือสำเร็จลุล่วงลงไปได้ และนอกจากไม่สามารถแก้ไขให้เบาบางลงได้แล้วยังพบว่า วิธีการในการทุจริตคอร์รัปชั่นยังมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ตลอดเวลา และยังไม่มีทิศทางใด ๆ ที่จะชี้ให้เห็นว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นจะได้รับการแก้ไขให้หมดไป
2. วิกฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเรื่องของจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำ กลายเป็นเรื่องที่ถูกละเลย โดยแทนที่จะเป็นการพิจารณาอันดับต้น ๆ ในการพิจารณาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ฟางเส้นสุดท้ายคือ กรณีของการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งต้องถือว่าเป็นวิกฤติจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำที่พยายามใช้กลไกทางอำนาจที่มีอยู่ ในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวิกฤติคุณธรรม จริยธรรม ที่ประชาชนไม่สามารถยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้
3.วิกฤติของการครอบงำองค์กรอิสระ ในขณะนี้จะมีการคัดเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระที่สำคัญ ดังนั้นการคัดเลือก ปปช. ขณะนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดวิกฤติในการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ อย่างต่อเนื่องหลังจากที่เกิดวิกฤติมาแล้วในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา โดยองค์กรอิสระนั้นได้ถูกครอบงำจากฝ่ายผู้มีอำนาจ กับฝ่ายการเมืองอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งองค์กรอิสระหลาย ๆ แห่ง ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตนเองได้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ปปช. กกต. ล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรอิสระที่มีวิกฤติและไม่สามารถสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
4. วิกฤติบิดเบือนกฎหมาย จากระยะเวลาที่ผ่านมามีการตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองอยู่ตลอดเวลา และขณะนี้ยังคงมีความพยายามที่จะตีความกฎหมายในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรชุดการเลือกตั้งล่าสุด 2 เม.ย. ไม่สามารถที่จะมีส.ส.เข้าประชุมสภาครบ 500 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องมีการเปิดสภาใน 30 วัน
5. วิกฤติทำลายอำนาจรัฐ เพราะอำนาจรัฐถูกใช้เอื้อประโยชน์ของรัฐบาล มากกว่าของรัฐ มากกว่าที่จะเอื้อประโยชน์ของประชาชน จะเห็นได้ว่ากลไกของอำนาจรัฐทั้งหลายนั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อไปเพิ่มเติมอำนาจให้กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสูญเสียความเป็นอิสระ สูญเสียความเป็นมืออาชีพ ของอำนาจรัฐ ที่จะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของรัฐ และของประชาชน
6. วิกฤติในการจัดสรรประโยชน์เพื่อพี่น้อง พวกพ้อง และบริวาร จากคำเล่าลือ ติฉินนินทา การประมูลการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ผ่านมาว่ามีการแบ่งเปอร์เซนต์ให้กับพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร ของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 20 — 30 เปอร์เซนต์ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ ที่ยังไม่มีการประมูลงานใหญ่ ๆ เกิดขึ้น แต่ได้มีความพยายามเร่งรัดที่จะก่อให้เกิดการประมูลงานในโครงการใหญ่ ๆ เพื่อจะได้ดำเนินการจัดสรรประโยชน์ให้พี่น้องพวกพ้องบริวารต่อไป
7. วิกฤติประสานประโยชน์เฉพาะหน้าให้รากหญ้า โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามที่จะประสานประโยชน์เฉพาะหน้าให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเพื่อที่จะเพิ่มคะแนนนิยมให้กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนั้น มีการสัญญา และชี้นำให้พี่น้องประชาชนถึงการจะได้ประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนผู้มีอำนาจให้มีอำนาจต่อไป ตรงนี้เป็นวิกฤติที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติโดยรวม เพียงหวังเพื่อให้ได้คะแนนนิยมเฉพาะหน้าเท่านั้น
8. วิกฤติหาผลประโยชน์ทับซ้อน ซ่อนเงื่อน ในการหาผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นเกิดขึ้นหลายกรณี หลายวาระ ในรัฐบาลชุดนี้และไม่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลาย แม้แต่ชุดรัฐบาลรักษาการก็ยังมีอยู่
9. วิกฤติค่านิยมฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย จากระยะเวลาที่ผ่านมาค่านิยมของสังคมเต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย แทนที่ผู้นำของประเทศ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่บุคคลในรัฐบาลหลายท่าน จะเป็นแบบอย่างที่ดีของการลดค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง แต่กลับเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดค่านิยมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้กลไกต่างๆได้คลี่คลาย นอกจากนี้ยังเห็นว่าบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น ขณะนี้ประเทศชาติกำลังต้องการบุคคลที่จะมาแก้ไขวิกฤติต่าง ๆ และต้องการผู้ที่จะมาเสริมสร้างโครงสร้างใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศ เป็นเรื่องนำ แต่ควรจะเน้นที่จริยธรรม คุณธรรม รวมถึงเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยไม่เข้าไปเสริมสร้างอำนาจให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในช่วงที่จะปฏิรูปการเมือง
นายองอาจ ยังไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลรักษาการจะนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 18 เมษายนนี้ เพราะรัฐบาลขณะนี้เป็นรัฐบาลรักษาการที่อยู่ในช่วงการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลที่อยู่ในภาวะวิกฤติที่ขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นจากประชาชน ดังนั้นควรจะคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่ควรที่จะพิจารณาโครงการใดๆ เชิงนโยบายที่มีผลผูกพันในระยะยาว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 เม.ย. 2549--จบ--
1. วิกฤติในเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ทุเลาเบาบาง หรือสำเร็จลุล่วงลงไปได้ และนอกจากไม่สามารถแก้ไขให้เบาบางลงได้แล้วยังพบว่า วิธีการในการทุจริตคอร์รัปชั่นยังมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ตลอดเวลา และยังไม่มีทิศทางใด ๆ ที่จะชี้ให้เห็นว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นจะได้รับการแก้ไขให้หมดไป
2. วิกฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเรื่องของจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำ กลายเป็นเรื่องที่ถูกละเลย โดยแทนที่จะเป็นการพิจารณาอันดับต้น ๆ ในการพิจารณาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ฟางเส้นสุดท้ายคือ กรณีของการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งต้องถือว่าเป็นวิกฤติจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำที่พยายามใช้กลไกทางอำนาจที่มีอยู่ ในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวิกฤติคุณธรรม จริยธรรม ที่ประชาชนไม่สามารถยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้
3.วิกฤติของการครอบงำองค์กรอิสระ ในขณะนี้จะมีการคัดเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระที่สำคัญ ดังนั้นการคัดเลือก ปปช. ขณะนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดวิกฤติในการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ อย่างต่อเนื่องหลังจากที่เกิดวิกฤติมาแล้วในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา โดยองค์กรอิสระนั้นได้ถูกครอบงำจากฝ่ายผู้มีอำนาจ กับฝ่ายการเมืองอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งองค์กรอิสระหลาย ๆ แห่ง ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตนเองได้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ปปช. กกต. ล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรอิสระที่มีวิกฤติและไม่สามารถสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
4. วิกฤติบิดเบือนกฎหมาย จากระยะเวลาที่ผ่านมามีการตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองอยู่ตลอดเวลา และขณะนี้ยังคงมีความพยายามที่จะตีความกฎหมายในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรชุดการเลือกตั้งล่าสุด 2 เม.ย. ไม่สามารถที่จะมีส.ส.เข้าประชุมสภาครบ 500 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องมีการเปิดสภาใน 30 วัน
5. วิกฤติทำลายอำนาจรัฐ เพราะอำนาจรัฐถูกใช้เอื้อประโยชน์ของรัฐบาล มากกว่าของรัฐ มากกว่าที่จะเอื้อประโยชน์ของประชาชน จะเห็นได้ว่ากลไกของอำนาจรัฐทั้งหลายนั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อไปเพิ่มเติมอำนาจให้กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสูญเสียความเป็นอิสระ สูญเสียความเป็นมืออาชีพ ของอำนาจรัฐ ที่จะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของรัฐ และของประชาชน
6. วิกฤติในการจัดสรรประโยชน์เพื่อพี่น้อง พวกพ้อง และบริวาร จากคำเล่าลือ ติฉินนินทา การประมูลการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ผ่านมาว่ามีการแบ่งเปอร์เซนต์ให้กับพี่น้อง พวกพ้อง บริวาร ของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 20 — 30 เปอร์เซนต์ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ ที่ยังไม่มีการประมูลงานใหญ่ ๆ เกิดขึ้น แต่ได้มีความพยายามเร่งรัดที่จะก่อให้เกิดการประมูลงานในโครงการใหญ่ ๆ เพื่อจะได้ดำเนินการจัดสรรประโยชน์ให้พี่น้องพวกพ้องบริวารต่อไป
7. วิกฤติประสานประโยชน์เฉพาะหน้าให้รากหญ้า โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามที่จะประสานประโยชน์เฉพาะหน้าให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเพื่อที่จะเพิ่มคะแนนนิยมให้กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนั้น มีการสัญญา และชี้นำให้พี่น้องประชาชนถึงการจะได้ประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนผู้มีอำนาจให้มีอำนาจต่อไป ตรงนี้เป็นวิกฤติที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติโดยรวม เพียงหวังเพื่อให้ได้คะแนนนิยมเฉพาะหน้าเท่านั้น
8. วิกฤติหาผลประโยชน์ทับซ้อน ซ่อนเงื่อน ในการหาผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นเกิดขึ้นหลายกรณี หลายวาระ ในรัฐบาลชุดนี้และไม่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลาย แม้แต่ชุดรัฐบาลรักษาการก็ยังมีอยู่
9. วิกฤติค่านิยมฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย จากระยะเวลาที่ผ่านมาค่านิยมของสังคมเต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย แทนที่ผู้นำของประเทศ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่บุคคลในรัฐบาลหลายท่าน จะเป็นแบบอย่างที่ดีของการลดค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง แต่กลับเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดค่านิยมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้กลไกต่างๆได้คลี่คลาย นอกจากนี้ยังเห็นว่าบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น ขณะนี้ประเทศชาติกำลังต้องการบุคคลที่จะมาแก้ไขวิกฤติต่าง ๆ และต้องการผู้ที่จะมาเสริมสร้างโครงสร้างใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศ เป็นเรื่องนำ แต่ควรจะเน้นที่จริยธรรม คุณธรรม รวมถึงเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยไม่เข้าไปเสริมสร้างอำนาจให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในช่วงที่จะปฏิรูปการเมือง
นายองอาจ ยังไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลรักษาการจะนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 18 เมษายนนี้ เพราะรัฐบาลขณะนี้เป็นรัฐบาลรักษาการที่อยู่ในช่วงการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลที่อยู่ในภาวะวิกฤติที่ขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นจากประชาชน ดังนั้นควรจะคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่ควรที่จะพิจารณาโครงการใดๆ เชิงนโยบายที่มีผลผูกพันในระยะยาว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 เม.ย. 2549--จบ--