1 เสถียรภาพในประเทศ
จากเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศเดือนนี้ อัตรา เงินเฟ้อเร่งตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสดอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน และหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนสิงหาคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เร่งตัวอย่างต่อเนื่องโดยเป็นผลจากการเร่งตัวของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ และราคาเนื้อสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการบริโภค ประกอบกับราคาอาหารบริโภค ในบ้าน-นอกบ้านก็เพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสด สำหรับราคา ในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ทั้งนี้ ราคาค่าโดยสารยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9
-อัตราการว่างงาน
เดือนสิงหาคม 2548 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานเริ่มกลับเข้าสู่ภาคเกษตรมากขึ้น เพราะสภาพอากาศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง สำหรับการจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี คือ การก่อสร้าง และโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.2 และ 3.0 ตามลำดับ
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนกรกฏาคม 2548 หนี้สาธารณะมีจำนวน3,233.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 23.2 พันล้านบาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 1) การเพิ่มขึ้น ของเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 20 พันล้านบาท และ 2) การลดลงของหนี้สินของกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ 10.8 พันล้านบาท ทำให้โดยรวมแล้วหนี้สาธารณะ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 45.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
2 เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับปรุงข้อมูลหนี้ต่างประเทศย้อนหลัง โดยนับรวมยอดคงค้างของบัญชีเงินบาทของ ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ และปรับปรุงข้อมูลจาก ผลสำรวจหนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารไตรมาสที่ 2/2548 ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2548 เพิ่มขึ้น จำนวน 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 50.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยประกาศไว้เดิม 48.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนรูปแบบการจำแนกหนี้ใหม่ออกเป็นหนี้ของรัฐบาลโดยตรง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคาร และภาคอื่นๆ ซึ่งได้แก่รัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่ระดับสูงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (SDDS) หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548 มียอดคงค้าง 50.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง เป็นสำคัญในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับมาตรฐาน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 31.9 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อการค้า
หนี้รัฐบาล ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อคืนตราสารหนี้ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวบางส่วนในตลาดรองต่าง ทั้งนี้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินมีเพียงเล็กน้อย หนี้ภาคธนาคาร เพิ่มขึ้น 0.05 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเงินรับฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดี ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคธนาคาร เมื่อคิดเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.ไม่เปลี่ยนแปลง
หนี้ภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้น 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากหนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินกู้และการได้รับสินเชื่อการค้า ขณะที่รัฐวิสาหกิจเป็นการชำระคืนเงินกู้สุทธิ ทั้งนี้ ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้หนี้ภาคอื่นๆ เมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 38.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 49.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. -ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศจะเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่ 2 แต่ตัวเลขเบื้องต้น ชี้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้และดัชนีที่ใช้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศยังคง ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับมาตรฐาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
จากเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศเดือนนี้ อัตรา เงินเฟ้อเร่งตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสดอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน และหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนสิงหาคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เร่งตัวอย่างต่อเนื่องโดยเป็นผลจากการเร่งตัวของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ และราคาเนื้อสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการบริโภค ประกอบกับราคาอาหารบริโภค ในบ้าน-นอกบ้านก็เพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสด สำหรับราคา ในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ทั้งนี้ ราคาค่าโดยสารยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9
-อัตราการว่างงาน
เดือนสิงหาคม 2548 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานเริ่มกลับเข้าสู่ภาคเกษตรมากขึ้น เพราะสภาพอากาศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง สำหรับการจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี คือ การก่อสร้าง และโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.2 และ 3.0 ตามลำดับ
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนกรกฏาคม 2548 หนี้สาธารณะมีจำนวน3,233.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 23.2 พันล้านบาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 1) การเพิ่มขึ้น ของเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 20 พันล้านบาท และ 2) การลดลงของหนี้สินของกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ 10.8 พันล้านบาท ทำให้โดยรวมแล้วหนี้สาธารณะ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 45.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
2 เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับปรุงข้อมูลหนี้ต่างประเทศย้อนหลัง โดยนับรวมยอดคงค้างของบัญชีเงินบาทของ ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ และปรับปรุงข้อมูลจาก ผลสำรวจหนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารไตรมาสที่ 2/2548 ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2548 เพิ่มขึ้น จำนวน 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 50.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยประกาศไว้เดิม 48.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนรูปแบบการจำแนกหนี้ใหม่ออกเป็นหนี้ของรัฐบาลโดยตรง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคาร และภาคอื่นๆ ซึ่งได้แก่รัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่ระดับสูงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (SDDS) หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548 มียอดคงค้าง 50.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง เป็นสำคัญในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับมาตรฐาน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 31.9 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อการค้า
หนี้รัฐบาล ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อคืนตราสารหนี้ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวบางส่วนในตลาดรองต่าง ทั้งนี้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินมีเพียงเล็กน้อย หนี้ภาคธนาคาร เพิ่มขึ้น 0.05 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเงินรับฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดี ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคธนาคาร เมื่อคิดเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.ไม่เปลี่ยนแปลง
หนี้ภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้น 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากหนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินกู้และการได้รับสินเชื่อการค้า ขณะที่รัฐวิสาหกิจเป็นการชำระคืนเงินกู้สุทธิ ทั้งนี้ ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้หนี้ภาคอื่นๆ เมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 38.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 49.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. -ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศจะเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่ 2 แต่ตัวเลขเบื้องต้น ชี้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้และดัชนีที่ใช้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศยังคง ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับมาตรฐาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--