EXIM BANK และ JBIC ชี้โอกาสลงทุนพร้อมแนวทางสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่นที่มีศักยภาพเข้าไปพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเชื้อเพลิงชีวภาพในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพลังงานทดแทนของภูมิภาคเอเชียโดยรวม
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของงานสัมมนาเรื่อง "โอกาสในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ศักยภาพการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเชื้อเพลิงชีวภาพ" ซึ่งจัดโดย EXIM BANK ร่วมกับ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) และได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร EXIM BANK และMr. Wataru Yoshida, Resident Executive Director for Asia and Oceania of JBIC กล่าวเปิดงานสัมมนาณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ว่า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตรซึ่งรวมถึงพืชพลังงาน และแรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเต็มไปด้วยโอกาสการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยเหตุนี้ EXIM BANK และ JBIC จึงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นที่มีศักยภาพสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการย้ายฐานการผลิตหรือขยายการลงทุนเข้าไปในดำเนินธุรกิจในประเทศแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จในระยะยาวโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาทิ อาหารสัตว์ อาหารทะเล ผักและผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน และสิทธิพิเศษด้านภาษีในการส่งออกไปตลาดการค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อันจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ลดต้นทุนการพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยรวม ตลอดจนขยายฐานการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกัน
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยและญี่ปุ่นในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศระหว่างผู้ประกอบการไทย ญี่ปุ่น และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตในปริมาณและคุณภาพเพียงพอสำหรับขายในประเทศ ส่งกลับมายังภาคการผลิตของไทยและญี่ปุ่น และส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรแปรรูป และพลังงานทดแทนของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียโดยรวมในระยะยาว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140--6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของงานสัมมนาเรื่อง "โอกาสในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ศักยภาพการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเชื้อเพลิงชีวภาพ" ซึ่งจัดโดย EXIM BANK ร่วมกับ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) และได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร EXIM BANK และMr. Wataru Yoshida, Resident Executive Director for Asia and Oceania of JBIC กล่าวเปิดงานสัมมนาณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ว่า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตรซึ่งรวมถึงพืชพลังงาน และแรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเต็มไปด้วยโอกาสการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยเหตุนี้ EXIM BANK และ JBIC จึงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นที่มีศักยภาพสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการย้ายฐานการผลิตหรือขยายการลงทุนเข้าไปในดำเนินธุรกิจในประเทศแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จในระยะยาวโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาทิ อาหารสัตว์ อาหารทะเล ผักและผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน และสิทธิพิเศษด้านภาษีในการส่งออกไปตลาดการค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อันจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ลดต้นทุนการพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยรวม ตลอดจนขยายฐานการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกัน
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยและญี่ปุ่นในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศระหว่างผู้ประกอบการไทย ญี่ปุ่น และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตในปริมาณและคุณภาพเพียงพอสำหรับขายในประเทศ ส่งกลับมายังภาคการผลิตของไทยและญี่ปุ่น และส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรแปรรูป และพลังงานทดแทนของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียโดยรวมในระยะยาว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140--6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-