สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- มิ.ย.2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 10, 2006 15:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก  ปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวม  1,670,940.374 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69 และปี 2549 (ม.ค.-พ.ค.) สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้ารวม 740,260.075 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.50
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2598 (ม.ค.-พ.ค.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.46 มูลค่า 129,249.617 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.04
- จีน ร้อยละ 13.98 มูลค่า 103,488.335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.32
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.84 มูลค่า 80,240.047 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.89
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.06 มูลค่า 59,663.319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.64
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 18 สัดส่วนร้อยละ 1.17 มูลค่า 8,646.981 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.82
3. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงเม.ย-มิ.ย 49 เติบโตเพียง 2.5% โดยต่ำกว่าระดับคาดการณ์
ของวอลล์สตรีทในไตรมาสที่ 2 ที่ระดับ 3% ซึ่งภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจดังกล่าวนับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญยิ่งของสหรัฐฯ
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ (ม.ค.-มิ.ย. 2549)
มูลค่า 9,310.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 15.37 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.25 หรือคิดเป็นร้อยละ 47.63 ของ
เป้าหมายการส่งออกปี 2549 ที่ 19,546 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2547 2548 2548 2549 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
(ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) 2547 2548 2549
(ม.ค-มิ.ย)
มูลค่าการค้า 22,714.93 25,748.34 12,190.94 13,565.72 9.79 13.35 11.28
สินค้าออก 15,508.51 17,064.43 7,873.12 9,310.31 14.07 10.03 18.25
สินค้าเข้า 7,206.42 8,683.91 4,317.82 4,255.41 1.60 20.50 -1.45
ดุลการค้า 8,302.09 8,380.53 3,556.30 5,054.90 27.65 0.94 42.18
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-มิ.ย. 2549) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 77.48 ของมูลค่า
การส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ สินค้าสำคัญที่มี
มูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 4 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2549
ตลาด ม.ค.-มิ.ย48 ม.ค.-มิ.ย49 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-มิ.ย 2548 ม.ค.-มิ.ย
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่า
ร้อยละ 100 มี 1 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 15 78.83 156.34 77.51 111.77 1.49 1.68
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 4 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 1 816.10 1,347.12 531.02 65.07 11.72 14.47
(2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 14 99.11 166.40 67.29 67.89 1.45 1.79
(3) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 22 68.58 107.15 38.57 56.24 0.58 1.15
(4) ปูนซิเมนต์ 24 48.99 90.49 41.50 84.70 0.74 0.97
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 1 รายการ
(1) วงจรพิมพ์ 23 257.73 94.16 -257.73 -63.46 2.17 1.01
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เม็ดพลาสติก (HS.3901 ) ETHYLENE, PRIMARY FORM
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า42.166 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.58 เพิ่มขึ้นร้อยละ
249.64 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,633.663 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.84 นำเข้า
จาก แคนาดา ไทย บราซิล เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (HS. 8471) COMPUTER & COMPONENTS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 5 มูลค่า 1,138.171 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.37 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21.30 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 26,066.977 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.34
นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS.84 ) MACHINERY
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 1,644.468 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.67 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 22.90 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 98,388.844 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.19
นำเข้าจาก จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) AIR CONDITIONING
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 4 มูลค่า 99.797 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 5.10 เพิ่มขึ้นร้อยละ
52.81 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,956.809 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.44 นำเข้า
จาก จีน เม็กซิโก แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
ปูนซิเมนต์ (HS 2523) HYDRAULIC CEMENTS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 77.600 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 10.03 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 185.30 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 773.885 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.48
นำเข้าจาก จีน แคนาดา ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
วงจรพิมพ์ (HS 8534) PRINTED CIRCUITS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 40.341 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.35 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 100.90 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 926.555 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14
นำเข้าจาก จีน ไต้หวัน แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ค. 2549)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงแบบ
นุ่มนวลหรือซอฟต์แลนดิ้ง ขณะที่อัตราการเติบโตผ่อนคลายลงสู่ระดับการชะลอตัวที่มั่นคงโดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อพยายามลดความเสี่ยงของเศรษฐกิจขาลงที่มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ราคา
น้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ตลาดที่อยู่อาศัยลดลง และอัตราเงินออมที่ต่ำลงรวมทั้งจะต้องสร้างหลักประกันว่าตัวเลขคาดการณ์
เงินเฟ้อยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในระดับสูงกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ
ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น และหากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มมากขึ้นมากๆ จะยิ่งส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณและการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มมากขึ้นไปพร้อมๆ กันในขณะที่เศรษฐกิจเอเซีย ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีนอยู่ในสถาณการณ์ที่ตรงกันข้าม
กับสหรัฐฯ อย่างมาก โดยกำลังอยู่ในภาวะได้เปรียบดุลการค้าอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯ จึงต้องปล่อยให้ค่า
เงินดอลลาร์อ่อน เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะสร้าง
แรงกดดันต่อการขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยโลก เนื่องจากราคาน้ำมันแพงจะไปกระตุ้นให้ภาวะเงินเฟ้อขยับตัวสูงขึ้น อย่างไร
ก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ปัจจัยเงินเฟ้อจึงไม่น่าเป็นห่วง ด้วยเหตุนี้จึงมีความ
เป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ขยับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรืออาจปรับเพิ่มอีกเพียง 0.25เพื่อดึง
เศรษฐกิจของประเทศมิให้ร้อนแรงเกินไป
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าโฆษกหญิงของสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ นางมีนา มัวร์จานี กล่าวว่า
เจ้าหน้าที่การค้าของสหรัฐฯ และไทยได้ร่วมหารืออย่างไม่เป็นทางการถึงเรื่องแผนการเจรจาการค้าเสรี(เอฟทีเอ)
ขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ระงับไปตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากมีปัญหาทางการเมืองของไทย โดยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และรักษา
การรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ตกลงที่จะปรึกษาในรูปแบบของการ
สนธนาทางโทรศัพท์หรือการติดต่อผ่านทางอีเมล เพื่อสร้างพื้นฐานให้การเจรจาเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสมคิดให้
ความเห็นว่าหากไทยไม่ดำเนินการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ต่อไปไทยจะเสียโอกาสทางการค้าและประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างเวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ดร.สมคิด กล่าวว่า การเข้าพบ
นางซูซาน ชวาบ ผู้แทน การค้าสหรัฐฯ ก็เพื่อต้องการให้หน่วยงานภาครัฐทั้งสองหน่วยงานเริ่มทบทวนเรื่องสิทธิพิเศษ
ทางศุลกากร (จีเอสพี) สำหรับสินค้าไทยหลายรายการที่จะครบกำหนดสิ้นสุดการให้สิทธิภายในสิ้นปีนี้ ด้วยเหตุนี้ไทยจึง
ต้องเร่งเจรจาและหารือกับสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
สำหรับด้านสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) ระบุเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 เรื่องการ
พิจารณาทบทวนการเพิกถอนสิทธิต่อ 13 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อาร์เจนตินา บราซิล โครเอเซีย อินเดีย
อินโดนีเซีย คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ โรมาเนีย รัสเซีย แอฟริกาใต้ ตุรกี และเวเนซุเอลาโดยเกณฑ์ที่ในการพิจารณาจัด
กลุ่มชาติที่อยู่ในข่ายทบทวนการได้รับสิทธิจีเอสพี ได้แก่ ชาติที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้ามายังสหรัฐฯ ภายใต้จีเอสพีใน
ปี 2548 สูงกว่าร้อยล้านดอลลาร์ หรือมียอดส่งออกสัดส่วนสูงกว่า 0.25% ของปริมาณการส่งออกสินค้าในตลาดโลก
ภายใต้โครงการจีเอสพีของสหรัฐฯ มีสินค้าประมาณ 3,400 รายการ มูลค่า 26,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จาก 133 ประเทศที่เข้าอยู่ในโครงการเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะอินเดีย บราซิล และไทยได้รับสิทธิคิดเป็นมูลค่า43%
จากสิทธิจีเอสพีทั้งหมด อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะหมดอายุภายในสิ้นปีนี้ หากสภาคองเกรสไม่ต่ออายุออกไป ทั้งนี้
รัฐบาลสหรัฐฯ จะทบทวนว่าจะ “จำกัด หยุดพัก หรือเพิกถอน” ต่อ 13 ประเทศข้างต้นหรือไม่ ประกอบกับจะพิจารณา
ด้วยว่าจะเพิกถอนอำนาจประธานาธิบดีในการสั่งงดเว้นการเรียกเก็บภาษีด้วยหรือไม่
ในขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในไทย นายปีเตอร์ ทอริน ให้ความเห็นว่ามีความ
เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะพิจารณาจำกัด หยุดพักหรือเพิกถอนสิทธิจีเอสพี 13 ประเทศรวมทั้งไทย โดยในกรณีที่ร้ายแรง
อาจถึงขั้นตัดสิทธิจีเอสพีของชาติเหล่านี้ นอกจากนี้นายปีเตอร์ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การทบทวนสิทธิจีเอสพีใน
ครั้งนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจาเปิดเสรีการค้าระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่ประสบภาวะชะงักงัน โดยให้เหตุผล
เสริมว่าการทบทวนดังกล่าวเริ่มดำเนินการขั้นแรกตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งขณะนั้นการเจรจาเปิดเสรีการค้ายัง
ดำเนินไปอย่างราบรื่น และการทบทวนสิทธิครั้งนี้นับเป็นขั้นที่ 2
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ