1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงเตรียมเปลี่ยนพันธุ์กุ้งก้ามกราม
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อนำร่องแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยได้ตรวจเยี่ยมในตำบลหน่อม ซึ่งมีลักษณะภูมิศาสตร์ มีลำน้ำชีตัดผ่านเกษตรกรในตำบลนี้ จึงมีอาชีพในการทำประมงเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ผ่านมานั้น มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม มูลค่าประมาณปีละ 15 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม พันธุ์กุ้งก้ามกรามของไทยมีปัญหาเรื่องขนาด เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรนำพันธุ์กุ้งจากอินเดีย ที่มีหัวเล็กมาปรับปรุงพันธุ์แต่พบว่า มีโรคติดเข้ามาในประเทศด้วย และลุกลามไปทั่วแหล่งผลิต ทำให้การผลิตกุ้งใน ต.หน่อม ได้รับ ผลกระทบไปด้วย โดยกุ้งที่เลี้ยงได้มีขนาดเล็ก นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้กรมประมงเริ่มทำการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ทั้งหมดภายหลังจากสิ้นสุดฤดูหนาวนี้ โดยสถานีปรับปรุงพันธุ์กุ้งที่ร้อยเอ็ด จะเป็นหน่วยงานดำเนินการ ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 35 ล้านตัวต่อปี เพียงพอสำหรับการเลี้ยง และปล่อยตามธรรมชาติ ทั้งนี้ลูกกุ้งที่ผลิตได้ จะจำหน่ายในราคาตัวละ 15 สตางค์ ต่ำกว่าราคาที่ภาคเอกชนผลิตจำหน่าย ในราคาตัวละ 18 สตางค์ ซึ่งเป็นราคาที่เอกชนปรับสูงขึ้น หลังจากที่เกิดโรคระบาดและเกิดภาวะขาดแคลน ส่วนราคาที่กรมประมงผลิตเพื่อจำหน่ายเองนั้น ไม่ต้องการที่จะแข่งขันกับภาคเอกชน จะเน้นผลิตเพื่อปล่อยตามธรรมชาติมากกว่า แต่ปัจจุบันที่ลูกกุ้งขาดแคลนนั้น กรมประมงจะผลิตลูกกุ้งมากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการ และระบุว่าในต.หน่อมนั้นมีพื้นที่การเลี้ยงประมาณ 400 ไร่ ซึ่งกรมประมงจะทำการขยายพื้นที่การผลิต เพิ่มขึ้นเป็น 500 ไร่ เป็น 900 ไร่ โดยจะต้องพัฒนาระบบ ชลประทานและทำการปรับปรุงลำน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ไปยังตำบลอื่นที่มีลำน้ำชีไหลผ่านด้วย ส่วนการเลี้ยงปลาดุกนั้น คาดว่าจะส่งเสริมได้ยาก เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนการเลี้ยงสูงมาก ประมาณ 7-8 แสนบาท เหมาะสำหรับการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์มากกว่า นายจรัลธาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งให้เป็นระบบในจังหวัดร้อยเอ็ด กรมประมงจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารกุ้งและปลาดุกเอง โดยการรวมกลุ่มสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายในราคาถูก คาดว่าจะลดต้นทุนการผลิตได้ถึงร้อยละ 30 โดยใช้มาตรการการผลิตและอาหารสัตว์ของกรมประมงเองคาดว่าใช้งบประมาณ 5 แสนบาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 — 14 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,224.82 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 618.06 ตัน สัตว์น้ำจืด 606.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.73 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.67 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.69 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.89 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 97.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.23 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 177.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.82 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 - 20 ม.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.60 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 24.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มกราคม 2549--
-พห-
การผลิต
กรมประมงเตรียมเปลี่ยนพันธุ์กุ้งก้ามกราม
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อนำร่องแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยได้ตรวจเยี่ยมในตำบลหน่อม ซึ่งมีลักษณะภูมิศาสตร์ มีลำน้ำชีตัดผ่านเกษตรกรในตำบลนี้ จึงมีอาชีพในการทำประมงเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ผ่านมานั้น มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม มูลค่าประมาณปีละ 15 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม พันธุ์กุ้งก้ามกรามของไทยมีปัญหาเรื่องขนาด เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรนำพันธุ์กุ้งจากอินเดีย ที่มีหัวเล็กมาปรับปรุงพันธุ์แต่พบว่า มีโรคติดเข้ามาในประเทศด้วย และลุกลามไปทั่วแหล่งผลิต ทำให้การผลิตกุ้งใน ต.หน่อม ได้รับ ผลกระทบไปด้วย โดยกุ้งที่เลี้ยงได้มีขนาดเล็ก นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้กรมประมงเริ่มทำการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ทั้งหมดภายหลังจากสิ้นสุดฤดูหนาวนี้ โดยสถานีปรับปรุงพันธุ์กุ้งที่ร้อยเอ็ด จะเป็นหน่วยงานดำเนินการ ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 35 ล้านตัวต่อปี เพียงพอสำหรับการเลี้ยง และปล่อยตามธรรมชาติ ทั้งนี้ลูกกุ้งที่ผลิตได้ จะจำหน่ายในราคาตัวละ 15 สตางค์ ต่ำกว่าราคาที่ภาคเอกชนผลิตจำหน่าย ในราคาตัวละ 18 สตางค์ ซึ่งเป็นราคาที่เอกชนปรับสูงขึ้น หลังจากที่เกิดโรคระบาดและเกิดภาวะขาดแคลน ส่วนราคาที่กรมประมงผลิตเพื่อจำหน่ายเองนั้น ไม่ต้องการที่จะแข่งขันกับภาคเอกชน จะเน้นผลิตเพื่อปล่อยตามธรรมชาติมากกว่า แต่ปัจจุบันที่ลูกกุ้งขาดแคลนนั้น กรมประมงจะผลิตลูกกุ้งมากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการ และระบุว่าในต.หน่อมนั้นมีพื้นที่การเลี้ยงประมาณ 400 ไร่ ซึ่งกรมประมงจะทำการขยายพื้นที่การผลิต เพิ่มขึ้นเป็น 500 ไร่ เป็น 900 ไร่ โดยจะต้องพัฒนาระบบ ชลประทานและทำการปรับปรุงลำน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ไปยังตำบลอื่นที่มีลำน้ำชีไหลผ่านด้วย ส่วนการเลี้ยงปลาดุกนั้น คาดว่าจะส่งเสริมได้ยาก เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนการเลี้ยงสูงมาก ประมาณ 7-8 แสนบาท เหมาะสำหรับการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์มากกว่า นายจรัลธาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งให้เป็นระบบในจังหวัดร้อยเอ็ด กรมประมงจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารกุ้งและปลาดุกเอง โดยการรวมกลุ่มสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายในราคาถูก คาดว่าจะลดต้นทุนการผลิตได้ถึงร้อยละ 30 โดยใช้มาตรการการผลิตและอาหารสัตว์ของกรมประมงเองคาดว่าใช้งบประมาณ 5 แสนบาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 — 14 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,224.82 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 618.06 ตัน สัตว์น้ำจืด 606.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.73 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.67 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.69 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.89 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 97.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.23 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 177.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.82 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 - 20 ม.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.60 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 24.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มกราคม 2549--
-พห-