นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังได้แถลงถึงความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุนและสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผลการช่วยเหลือทางการเงินจนถึง ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 สรุปได้ดังนี้
1) การแจ้งขอรับความช่วยเหลือ
ผู้แจ้งขอรับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 5,832 ราย คิดเป็นวงเงิน 2,249.7 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ 133 ราย วงเงิน 18,817.4 ล้านบาท และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ 23 ราย วงเงิน 3,258.2 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ มีผู้แจ้งขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 1,574 ราย วงเงิน 629.6 ล้านบาท
2) ความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือแล้ว 3,405 ราย เป็นวงเงิน 1,562.2 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 58.38 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 69.44 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ) ธนาคารกรุงไทย อนุมัติให้ความช่วยเหลือ119 ราย วงเงิน13,500.6 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 89.47 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 71.75 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย อนุมัติการผ่อนปรนชำระหนี้แล้ว 18 ราย วงเงินทั้งสิ้น 2,495.4 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 78.26 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 76.59 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ)
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft loan) แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้แก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 860 ราย คิดเป็นวงเงิน 25,685.5 ล้านบาท จากวงเงินที่เตรียมไว้ทั้งสิ้นในชั้นแรก 30,000 ล้านบาท และจากคาดการณ์ว่าจะมีผู้ประกอบการมาขอรับความช่วยเหลืออีกจำนวนมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขยายวงเงินให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 18,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 48,000 ล้านบาท
3) ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเพื่อร่วมลงทุน
กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” (Tsunami SMEs Fund) วงเงิน 2,000 ล้านบาท และกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ได้ประสานความร่วมมือเพื่อให้กระบวนการร่วมลงทุน แก่ผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทัดเทียม ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการยื่นแสดงความจำนงขอรับการสนับสนุนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2548 โดย กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” มีระยะเวลาการลงทุน 2 ปี กำหนดเงินร่วมลงทุนต่อรายอยู่ระหว่าง 1 — 100 ล้านบาท มีสัดส่วนการลงทุนประมาณร้อยละ 25 — 49 ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเพิ่มทุน หรือตามแต่กรรมการกองทุนพิจารณา สำหรับกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ มีวงเงินเริ่มต้น 1,400 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้น ธนาคารออมสิน และ ตลท. ได้ร่วมลงทุนเป็นเงิน 500 ล้านบาท และ 200 ล้านบาท ตามลำดับ และให้ธนาคารพาณิชย์อีก 12 แห่ง ที่เป็นสมาชิกสมาคมธนาคารไทยร่วมลงทุนอีกจำนวน 700 ล้านบาท โดยได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดของกิจการ
ทั้งนี้ มีความคืบหน้าโดยมีการอนุมัติการร่วมลงทุนจากกองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” ไปแล้ว จำนวน 2 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 140 ล้านบาท
4) ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กยศ. ได้อนุมัติการให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่นักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบแล้วทั้งสิ้น 639 ราย เป็นวงเงิน 255.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.6 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 40.6 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงิน สถาบันการเงินต่างๆ ได้อยู่ระหว่างดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนที่ลูกค้าตรียมเอกสารหรือสถาบันการเงินอยู่ในระหว่างการรวบรวมและพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น รวมทั้งการประเมินมูลค่าความเสียหาย ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้นจะได้ติดตามและเร่งรัดการพิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกันนี้ กระทรวงการคลังและสมาคมธนาคารไทย จะได้ประสานให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้ถึงมือผู้ประกอบการอย่างรวดเร็ว และติดตามการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้านอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะถึงมือผู้ประกอบการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการจากความเสียหายเป็นไปด้วยความรวดเร็วและยั่งยืนต่อไป
อนึ่ง กระทรวงการคลังและธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ตกลงในความร่วมมือเพื่อศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการฟื้นฟูพื้นที่อันดามัน ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ ซึ่งจะเป็นแผนพัฒนาที่บูรณาการ ครบถ้วนในทุกปัจจัยของการพัฒนา ภายใต้กรอบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะชุมชน และที่สำคัญจะเป็นแผนที่มีความยั่งยืน โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากในประเทศและต่างประเทศร่วมวางแผนด้านการฟื้นฟูทั้งด้านกายภาพ การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าแผนพัฒนาที่สมบูรณ์จะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548 โดยในเบื้องต้นธนาคารพัฒนาเอเชียได้ยืนยันการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 150,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับดำเนินการในระยะแรก และจะให้เงินเพิ่มเติมจนครบ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 12/2548 4 กุมภาพันธ์ 2548--
1) การแจ้งขอรับความช่วยเหลือ
ผู้แจ้งขอรับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 5,832 ราย คิดเป็นวงเงิน 2,249.7 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ 133 ราย วงเงิน 18,817.4 ล้านบาท และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ 23 ราย วงเงิน 3,258.2 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ มีผู้แจ้งขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 1,574 ราย วงเงิน 629.6 ล้านบาท
2) ความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือแล้ว 3,405 ราย เป็นวงเงิน 1,562.2 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 58.38 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 69.44 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ) ธนาคารกรุงไทย อนุมัติให้ความช่วยเหลือ119 ราย วงเงิน13,500.6 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 89.47 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 71.75 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย อนุมัติการผ่อนปรนชำระหนี้แล้ว 18 ราย วงเงินทั้งสิ้น 2,495.4 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 78.26 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 76.59 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ)
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft loan) แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้แก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 860 ราย คิดเป็นวงเงิน 25,685.5 ล้านบาท จากวงเงินที่เตรียมไว้ทั้งสิ้นในชั้นแรก 30,000 ล้านบาท และจากคาดการณ์ว่าจะมีผู้ประกอบการมาขอรับความช่วยเหลืออีกจำนวนมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขยายวงเงินให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 18,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 48,000 ล้านบาท
3) ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเพื่อร่วมลงทุน
กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” (Tsunami SMEs Fund) วงเงิน 2,000 ล้านบาท และกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ได้ประสานความร่วมมือเพื่อให้กระบวนการร่วมลงทุน แก่ผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทัดเทียม ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการยื่นแสดงความจำนงขอรับการสนับสนุนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2548 โดย กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” มีระยะเวลาการลงทุน 2 ปี กำหนดเงินร่วมลงทุนต่อรายอยู่ระหว่าง 1 — 100 ล้านบาท มีสัดส่วนการลงทุนประมาณร้อยละ 25 — 49 ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเพิ่มทุน หรือตามแต่กรรมการกองทุนพิจารณา สำหรับกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ มีวงเงินเริ่มต้น 1,400 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้น ธนาคารออมสิน และ ตลท. ได้ร่วมลงทุนเป็นเงิน 500 ล้านบาท และ 200 ล้านบาท ตามลำดับ และให้ธนาคารพาณิชย์อีก 12 แห่ง ที่เป็นสมาชิกสมาคมธนาคารไทยร่วมลงทุนอีกจำนวน 700 ล้านบาท โดยได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดของกิจการ
ทั้งนี้ มีความคืบหน้าโดยมีการอนุมัติการร่วมลงทุนจากกองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัย “สึนามิ” ไปแล้ว จำนวน 2 ราย คิดเป็นวงเงินจำนวน 140 ล้านบาท
4) ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กยศ. ได้อนุมัติการให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่นักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบแล้วทั้งสิ้น 639 ราย เป็นวงเงิน 255.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.6 ของจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือ และ คิดเป็นร้อยละ 40.6 ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงิน สถาบันการเงินต่างๆ ได้อยู่ระหว่างดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนที่ลูกค้าตรียมเอกสารหรือสถาบันการเงินอยู่ในระหว่างการรวบรวมและพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น รวมทั้งการประเมินมูลค่าความเสียหาย ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้นจะได้ติดตามและเร่งรัดการพิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกันนี้ กระทรวงการคลังและสมาคมธนาคารไทย จะได้ประสานให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้ถึงมือผู้ประกอบการอย่างรวดเร็ว และติดตามการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้านอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะถึงมือผู้ประกอบการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการจากความเสียหายเป็นไปด้วยความรวดเร็วและยั่งยืนต่อไป
อนึ่ง กระทรวงการคลังและธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ตกลงในความร่วมมือเพื่อศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการฟื้นฟูพื้นที่อันดามัน ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ ซึ่งจะเป็นแผนพัฒนาที่บูรณาการ ครบถ้วนในทุกปัจจัยของการพัฒนา ภายใต้กรอบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะชุมชน และที่สำคัญจะเป็นแผนที่มีความยั่งยืน โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากในประเทศและต่างประเทศร่วมวางแผนด้านการฟื้นฟูทั้งด้านกายภาพ การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าแผนพัฒนาที่สมบูรณ์จะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548 โดยในเบื้องต้นธนาคารพัฒนาเอเชียได้ยืนยันการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 150,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับดำเนินการในระยะแรก และจะให้เงินเพิ่มเติมจนครบ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 12/2548 4 กุมภาพันธ์ 2548--