วันนี้ (31 กรกฎาคม 2549) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีความไม่ชอบมาพากลในโครงการจัดซื้อรถนำเข้าขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาทว่า ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมพยายามที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ให้มีการลดภาษีนำเข้า CBU (Complete Build in Unit) รถโดยสาร ขสมก. 2,000 คันไม่ต้องเสียภาษีในการนำเข้า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยและขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทบทวนข้อเสนอดังกล่าวของกระทรวงคมนาคมด้วยเหตุผลประการที่ 1 การลดภาษี CBU จาก 40% เหลือ 0 % ในระยะเวลา 2 ปีจะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบ้านในประเทศโดยสิ้นเชิง
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า 2.การนำเข้ารถสำเร็จรูปหรือ CBU ดังกล่าวตามโครงการนำเข้ารถโดยสาร ขสมก .เอ็นจีวีจะส่งผลกระทบทำให้เกิดการว่างงาน การตกงานและการปิดตัวของสถานประกอบการซึ่งมีฐานการผลิตใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาสงตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศ 3.ราคานำเข้าในมูลค่าดังกล่าวนั้นสูงถึงกว่า 20,000 ล้านบาทซึ่งส่อว่าจะมีการทุจริตและถ้าหากว่าเป็นการผลิตภายในประเทศจะมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 ล้านบาท แต่ว่าการเสนอโครงการครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึงกว่า 20,000 กว่าล้านบาท จึงส่งว่าน่าจะมีการแสวงประโยชน์จากการเพิ่มส่วนต่างของราคาดังกล่าว
“เพราะฉะนั้นจึงขอให้รัฐบาลได้ทบทวนการนำเสนอฌครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีปรารสำคัญก็คือว่า ถึงแม้ว่าข้ออ้างในการใช้รถเอ็นจีวีจะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงของ ขสมก.แต่การที่ซื้อรถแพงเกินเหตุกลับจะสร้างภาระหนี้มหาศาลให้กับ ขสมก.ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท แลจะเหป็นภาระต่อค่าโดยสารของประชาชนและเป็นภาระต่อผลการประกอบการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะฉะนั้นทางพรรคจึงไม่เห็นด้วยและ” รองหัวหน้า ปชป.กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่ามีข้อเสนอทางออกว่า ประการที่ 1 ให้มีการนำเข้าเฉพาะเครื่องยนต์เอ็นจีวีจำนวน 2,000 ยูนิต โดยได้รับการส่งเสริมยกเว้นภาษีและให้มีการประกอบตัวรถภายในประเทศซึ่งไม่ว่าจะเป็นอู่ต่อรถในภาคอีสาน ทางตะวันออกแถวชลบุลี หรือว่าทางภาคกลางตอนล่างแถวบ้านโป่งมีกำลังความสามารถในการประกอบรถโดยสารไม่น้อยกว่าปีละ 2,400 คัน
“2.รัฐบาลจะต้องยุติข้อเสนอแอบแฝงที่จะมีการนำเสนอให้มีการยกเว้นภาษี CBU จาก 40% เหลือ 0% ในระยะเวลา 2 ปีซึ่งเห็นว่าการขยายเวลาการลดภาษีดังกล่าวนั้นจะเปิดช่องให้มีการนำเข้ารถที่ประกอบสำเร็จรูปในต่างประเทศและอาจจะมีโครงการอื่นแอบแฝงโดยการใช้มาตรการดังกล่าวและขณะนี้ก็ยังไม่เห็นจะมีความจำเก็นใดๆที่จะต้องมีการลดภาษี CBU หรือมีการขยายเวลาในการลดภาษีดังกล่าวและแนวทางของรัฐบาลนั้นดูเหมือนว่าตรงข้ามกับแนวทางที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของเอเชียหรือดีรอยด์ ออฟเอเชีย” รองหัวหน้าพรรค ปชป.กล่าว
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปอีกว่า การคงไว้ซึ่งระดับภาษีสำเร็จรูปในต่างประเทศเขาเรียกว่า CBU นั้นเป็นแนวทางนโยบายที่จะต้องคงไว้ข้อเสนอดังกล่าว 2 ประการนั้นหวังว่าคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างรอบคอบในวันพรุ่งนี้(1 สิงหาคม 2549)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ก.ค. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า 2.การนำเข้ารถสำเร็จรูปหรือ CBU ดังกล่าวตามโครงการนำเข้ารถโดยสาร ขสมก .เอ็นจีวีจะส่งผลกระทบทำให้เกิดการว่างงาน การตกงานและการปิดตัวของสถานประกอบการซึ่งมีฐานการผลิตใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาสงตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศ 3.ราคานำเข้าในมูลค่าดังกล่าวนั้นสูงถึงกว่า 20,000 ล้านบาทซึ่งส่อว่าจะมีการทุจริตและถ้าหากว่าเป็นการผลิตภายในประเทศจะมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 ล้านบาท แต่ว่าการเสนอโครงการครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึงกว่า 20,000 กว่าล้านบาท จึงส่งว่าน่าจะมีการแสวงประโยชน์จากการเพิ่มส่วนต่างของราคาดังกล่าว
“เพราะฉะนั้นจึงขอให้รัฐบาลได้ทบทวนการนำเสนอฌครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีปรารสำคัญก็คือว่า ถึงแม้ว่าข้ออ้างในการใช้รถเอ็นจีวีจะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงของ ขสมก.แต่การที่ซื้อรถแพงเกินเหตุกลับจะสร้างภาระหนี้มหาศาลให้กับ ขสมก.ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท แลจะเหป็นภาระต่อค่าโดยสารของประชาชนและเป็นภาระต่อผลการประกอบการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะฉะนั้นทางพรรคจึงไม่เห็นด้วยและ” รองหัวหน้า ปชป.กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่ามีข้อเสนอทางออกว่า ประการที่ 1 ให้มีการนำเข้าเฉพาะเครื่องยนต์เอ็นจีวีจำนวน 2,000 ยูนิต โดยได้รับการส่งเสริมยกเว้นภาษีและให้มีการประกอบตัวรถภายในประเทศซึ่งไม่ว่าจะเป็นอู่ต่อรถในภาคอีสาน ทางตะวันออกแถวชลบุลี หรือว่าทางภาคกลางตอนล่างแถวบ้านโป่งมีกำลังความสามารถในการประกอบรถโดยสารไม่น้อยกว่าปีละ 2,400 คัน
“2.รัฐบาลจะต้องยุติข้อเสนอแอบแฝงที่จะมีการนำเสนอให้มีการยกเว้นภาษี CBU จาก 40% เหลือ 0% ในระยะเวลา 2 ปีซึ่งเห็นว่าการขยายเวลาการลดภาษีดังกล่าวนั้นจะเปิดช่องให้มีการนำเข้ารถที่ประกอบสำเร็จรูปในต่างประเทศและอาจจะมีโครงการอื่นแอบแฝงโดยการใช้มาตรการดังกล่าวและขณะนี้ก็ยังไม่เห็นจะมีความจำเก็นใดๆที่จะต้องมีการลดภาษี CBU หรือมีการขยายเวลาในการลดภาษีดังกล่าวและแนวทางของรัฐบาลนั้นดูเหมือนว่าตรงข้ามกับแนวทางที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของเอเชียหรือดีรอยด์ ออฟเอเชีย” รองหัวหน้าพรรค ปชป.กล่าว
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปอีกว่า การคงไว้ซึ่งระดับภาษีสำเร็จรูปในต่างประเทศเขาเรียกว่า CBU นั้นเป็นแนวทางนโยบายที่จะต้องคงไว้ข้อเสนอดังกล่าว 2 ประการนั้นหวังว่าคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างรอบคอบในวันพรุ่งนี้(1 สิงหาคม 2549)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ก.ค. 2549--จบ--