แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 16 - 26 มิ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,973.66 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 869.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,104.52 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.04 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.03 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 169.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.38 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.01 ตัน
การตลาด
มาตรฐาน ACC ของสหรัฐต่อสินค้ากุ้งของไทย
จากกรณีที่วอล-มาร์ต ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้สินค้ากุ้งที่วางจำหน่ายในห้างฯ ต้องเป็นกุ้งที่หน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐหรือ Aquaculture Certification Counci, Inc. (ACC) รับรองว่ากระบวนการเพาะเลี้ยงและแปรรูปต้องเป็นไปตามมาตรฐาน Best Aquaculture Practices (BAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านอาหาร และสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของสินค้าได้
แหล่งข่าวจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า จากข้อกำหนดดังกล่าวที่จะมีผลบังคับใช้สำหรับโรงงานแปรรูปกุ้ง (ห้องเย็น) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2549 และสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบที่ต้องปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่ อีกทั้งยังส่งผลให้
ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการสมัครขอรับการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการสมัครขอรับการตรวจรับรองโรงงานแปรรูปและฟาร์มกุ้งต้องเสียค่าใช้จ่าย 500 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าบริการของเจ้าหน้าที่จาก ACC ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐานอีก 400 — 800 ดอลลาร์สหรัฐ/วัน
นอกจากนี้โรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วต้องเสียค่าแรกเข้าเป็นโรงงานมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำให้กับ ACC จำนวน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และหากโรงงานส่งออกกุ้งเกิน 1,000 ตัน/ปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 2 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการทบทวนการรับรองมาตรฐานอีก 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี รวมถึงผู้ซื้อสินค้ากุ้งจากโรงงานยังต้องเสียค่าการรับรองให้แก่ ACC จำนวน 0.025 ดอลลาร์สหรัฐ/กก. ขณะที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วต้องเสียค่าแรกเข้าเป็นฟาร์มมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ และหากมีผลผลิตเกิน 500 ตัน/ปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการทบทวนการรับรอง มาตรฐานอีก 500 ดอลลาร์สหรัฐในทุก 2 ปี เบื้องต้นห้องเย็นที่จะเข้าสู่มาตรฐาน ACC ของวอล-มาร์ต มีภาระ ค่าใช้จ่ายอย่างต่ำประมาณ 160,000 บาท/โรง ฟาร์มเพาะเลี้ยง ประมาณ 60,000 บาท/ฟาร์ม
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะทำให้กลุ่มมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาตลาดไว้ เนื่องจากวอล-มาร์ตเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ในสหรัฐฯ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า จากการที่ ACC ไม่ยอมรับระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าของกรม ล่าสุดกรมประมงอยู่ระหว่างการติดต่อกับหน่วยงานอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ เพื่อขอให้วอล-มาร์ตยอมรับหนังสือรับรองที่ออกโดยกรมประมงของไทย โดยไม่ต้องให้ ACC มาตรวจสอบอีก เพราะไม่เช่นนั้นแล้วฟาร์มกุ้งที่มีอยู่ประมาณ 30,000 ฟาร์มทั่วประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเข้าสู่ระบบของวอล-มาร์ต ดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 172.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.35 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.78 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 3 — 7 ก.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.28บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 16 - 26 มิ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,973.66 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 869.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,104.52 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.04 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.03 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 169.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.38 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.01 ตัน
การตลาด
มาตรฐาน ACC ของสหรัฐต่อสินค้ากุ้งของไทย
จากกรณีที่วอล-มาร์ต ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้สินค้ากุ้งที่วางจำหน่ายในห้างฯ ต้องเป็นกุ้งที่หน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐหรือ Aquaculture Certification Counci, Inc. (ACC) รับรองว่ากระบวนการเพาะเลี้ยงและแปรรูปต้องเป็นไปตามมาตรฐาน Best Aquaculture Practices (BAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านอาหาร และสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของสินค้าได้
แหล่งข่าวจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า จากข้อกำหนดดังกล่าวที่จะมีผลบังคับใช้สำหรับโรงงานแปรรูปกุ้ง (ห้องเย็น) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2549 และสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบที่ต้องปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่ อีกทั้งยังส่งผลให้
ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการสมัครขอรับการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการสมัครขอรับการตรวจรับรองโรงงานแปรรูปและฟาร์มกุ้งต้องเสียค่าใช้จ่าย 500 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าบริการของเจ้าหน้าที่จาก ACC ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐานอีก 400 — 800 ดอลลาร์สหรัฐ/วัน
นอกจากนี้โรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วต้องเสียค่าแรกเข้าเป็นโรงงานมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำให้กับ ACC จำนวน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และหากโรงงานส่งออกกุ้งเกิน 1,000 ตัน/ปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 2 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการทบทวนการรับรองมาตรฐานอีก 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี รวมถึงผู้ซื้อสินค้ากุ้งจากโรงงานยังต้องเสียค่าการรับรองให้แก่ ACC จำนวน 0.025 ดอลลาร์สหรัฐ/กก. ขณะที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ผ่านการตรวจรับรองแล้วต้องเสียค่าแรกเข้าเป็นฟาร์มมาตรฐาน BAP ขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ และหากมีผลผลิตเกิน 500 ตัน/ปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการทบทวนการรับรอง มาตรฐานอีก 500 ดอลลาร์สหรัฐในทุก 2 ปี เบื้องต้นห้องเย็นที่จะเข้าสู่มาตรฐาน ACC ของวอล-มาร์ต มีภาระ ค่าใช้จ่ายอย่างต่ำประมาณ 160,000 บาท/โรง ฟาร์มเพาะเลี้ยง ประมาณ 60,000 บาท/ฟาร์ม
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะทำให้กลุ่มมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาตลาดไว้ เนื่องจากวอล-มาร์ตเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ในสหรัฐฯ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า จากการที่ ACC ไม่ยอมรับระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าของกรม ล่าสุดกรมประมงอยู่ระหว่างการติดต่อกับหน่วยงานอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ เพื่อขอให้วอล-มาร์ตยอมรับหนังสือรับรองที่ออกโดยกรมประมงของไทย โดยไม่ต้องให้ ACC มาตรวจสอบอีก เพราะไม่เช่นนั้นแล้วฟาร์มกุ้งที่มีอยู่ประมาณ 30,000 ฟาร์มทั่วประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเข้าสู่ระบบของวอล-มาร์ต ดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 172.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.35 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.78 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 3 — 7 ก.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.28บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2549--
-พห-