1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงชี้แจงพิษปลาปักเป้าน้ำจืด
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า กรมประมงเคยทำการวิจัยพิษปลาปักเป้า น้ำจืด โดยรวบรวมปลาปักเป้าน้ำจืดจากแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำมาศึกษาพบปลาปักเป้ามีพิษ ได้แก่ ปลาปักเป้าดำ (Tetraodon nigroviridis) พบว่าพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดแพร่กระจายอยู่ในทุกส่วนของร่างกายทั้งในเนื้อเยื่อ หนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ และไข่ของมันด้วย ส่วนความรุ่นแรงของพิษแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและสถานที่จับ จากการวิจัยพบว่า พิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษที่เรียกว่า พีเอสพี (Paralytic Shellfish Poison, PSP) หรือพิษอัมพาต ซึ่งแตกต่างจากพิษปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ “เททโทรโดท๊อกซิน” (Tetrodotoxin, TTX) ซึ่งพิษทั้ง 2 ชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน แต่แสดงอาการเหมือนกัน ถ้าเรานำปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีพิษมาไว้ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดจะทำให้พิษของมันลดลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดน่าจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แท้จริงของการเกิดพิษในปลาปักเป้าน้ำจืดพบว่าปลาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับว่ามันอยู่ในสภาพหรือภาวะที่สร้างพิษหรือไม่ บางตัวมีพิษและบางตัวไม่มีพิษ แต่การดูจากภายนอกไม่สามารถบอกได้ว่าตัวไหนมีพิษ จึงไม่คุ้มที่จะบริโภคปลาปักเป้าน้ำจืด เพราะตัวเล็กมากและยังเสี่ยงต่อการรับพิษอีกด้วย อีกทั้งบ้านเรามีปลาให้เลือกบริโภคมากมาย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 — 28 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,186.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 671.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 515.17 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.65 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.11 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 167.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 181.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 148.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 - 10 ก.พ. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 6-12 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-
การผลิต
กรมประมงชี้แจงพิษปลาปักเป้าน้ำจืด
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า กรมประมงเคยทำการวิจัยพิษปลาปักเป้า น้ำจืด โดยรวบรวมปลาปักเป้าน้ำจืดจากแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำมาศึกษาพบปลาปักเป้ามีพิษ ได้แก่ ปลาปักเป้าดำ (Tetraodon nigroviridis) พบว่าพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดแพร่กระจายอยู่ในทุกส่วนของร่างกายทั้งในเนื้อเยื่อ หนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ และไข่ของมันด้วย ส่วนความรุ่นแรงของพิษแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและสถานที่จับ จากการวิจัยพบว่า พิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษที่เรียกว่า พีเอสพี (Paralytic Shellfish Poison, PSP) หรือพิษอัมพาต ซึ่งแตกต่างจากพิษปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ “เททโทรโดท๊อกซิน” (Tetrodotoxin, TTX) ซึ่งพิษทั้ง 2 ชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน แต่แสดงอาการเหมือนกัน ถ้าเรานำปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีพิษมาไว้ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดจะทำให้พิษของมันลดลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดน่าจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แท้จริงของการเกิดพิษในปลาปักเป้าน้ำจืดพบว่าปลาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับว่ามันอยู่ในสภาพหรือภาวะที่สร้างพิษหรือไม่ บางตัวมีพิษและบางตัวไม่มีพิษ แต่การดูจากภายนอกไม่สามารถบอกได้ว่าตัวไหนมีพิษ จึงไม่คุ้มที่จะบริโภคปลาปักเป้าน้ำจืด เพราะตัวเล็กมากและยังเสี่ยงต่อการรับพิษอีกด้วย อีกทั้งบ้านเรามีปลาให้เลือกบริโภคมากมาย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 — 28 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,186.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 671.76 ตัน สัตว์น้ำจืด 515.17 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.65 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.11 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 167.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 181.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 148.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 - 10 ก.พ. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 6-12 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-