ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นสัดส่วนเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะลดลงเหลือร้อยละ 2 ในกลางปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ยังเชื่อมั่นว่าสัดส่วนเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะสามารถลดลงเหลือร้อยละ 2 ในกลางปี 50 ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้เนื่องมาจากขณะนี้
ภาวะเศรษฐกิจยังคงดำเนินไปได้ดี จากการส่งออกที่ยังขยายตัว ส่งผลให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังสามารถชำระหนี้ได้ ขณะที่ ธพ.เองก็มีความ
ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่ออย่างมากด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบปี 49 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน พ.ค.49 ว่า อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.49 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 6.2 นับเป็นอัตราที่สูงขึ้นน้อยกว่าเดือน ต.ค.48 ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือน พ.ค.สูงขึ้น เนื่องจากหมวดสินค้าที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.9 เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 2.8 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 5.0 โดย
เฉพาะการปรับค่าธรรมเนียมรถไฟขึ้นอีกร้อยละ 40 และราคาสินค้าประเภทอุปกรณ์การเรียนปรับขึ้น ซึ่งเดือน พ.ค.เป็นช่วงเปิดเทอม ทำให้มีการ
ใช้จ่ายสินค้าหมวดนี้สูงมาก ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย. เนื่องจากราคาผักสดลดลง
ร้อยละ 1.7 เพราะฝนตกอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่าง ๆ มีมากขึ้น แต่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้สด น้ำอัดลม ปลา และสัตว์น้ำ ข้าวเหนียว
และขนมปังปอนด์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อครบ 6 เดือนเชื่อว่า อัตราเงินเฟ้อในครึ่ง
ปีแรกจะไม่เกินร้อยละ 6 และครึ่งปีหลังจะเป็นไปตามที่ประมาณการไว้ อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันทรงตัว เชื่อว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อเดือนคง
สูงขึ้นไม่มาก หรือไม่สูงเกินร้อยละ 6 ซึ่งประเมินว่าเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.จะไม่เกินร้อยละ 6 แน่นอน และมีแนวโน้มลดลงในครึ่งปีหลัง ทำให้
ก.พาณิชย์มั่นใจว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 บนสมมติฐานที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 58-62 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จีดีพีร้อยละ
4.5-5 ค่าเงินบาท 38-40 ต่อดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5-5 ค่าแรงขั้นต่ำ 190 บาทต่ำวัน (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ,
เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 49 เป็นร้อยละ 4.0-4.5 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้
ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสำหรับปี 49 ลงเป็นร้อยละ 4.0-4.5 จากเดิมที่ร้อยละ 4.0-5.0 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย
จะมีอัตราการขยายตัว (จากปีก่อนหน้า) ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 นี้ที่ร้อยละ 4.5-4.7 โดยเป็นผลจากการขยายตัวประมาณร้อยละ 5.3 ใน
ไตรมาสแรก และประมาณร้อยละ 3.7-4.0 ในไตรมาสที่สอง ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรกนั้น เป็นผลส่วนใหญ่มาจากการ
เปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
4. บจ.ระดมทุนผ่านตลาดหุ้นในไตรมาสแรกปี 49 ลดลงร้อยละ 15 ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจการระดมทุนของ บจ.ไตรมาสแรกปี 49 ที่ผ่านมา พบว่า มียอดการระดมทุนผ่านตลาด
หลักทรัพย์รวมจำนวน 17,400 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดการระดมทุนรวม 20,396 ล้านบาท ลดลงประมาณร้อยละ 15
ทั้งนี้ การระดมทุนที่เกิดขึ้นไตรมาสแรกปี 49 รวม 17,388 ล้านบาท แบ่งเป็นการระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก
(ไอพีโอ) จำนวน 2,665 ล้านบาท จากจำนวนบริษัทที่เสนอขายหุ้น 2 บริษัท ระดมทุนผ่านการขยายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง 5,293 ล้านบาท
ขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิม 4,748 ล้านบาท และจากการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อขายหุ้นสามัญ (วอร์แรนท์) จำนวน 4,683 ล้านบาท
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 49 จากไตรมาสก่อน รายงานจาก
บรัสเซลล์ เมื่อ 1 มิ.ย.49 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่ง
ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาสในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
0.3 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 49 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการสภา
ยุโรปคาดไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.0 ต่อปี ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาสและการส่งออกที่
ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อไตรมาสในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อไตรมาส โดยที่ผ่านมาการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากราคา
น้ำมันและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่จากรายงานของ Eurostat ในวันนี้แสดงให้เห็นภาพการ
จ้างงานที่ดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานยังคงที่อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ในเดือน เม.ย.49 เท่ากับเดือน มี.ค.49 ต่ำกว่าที่ตลาดไว้ที่ร้อยละ 8.1 นอกจาก
นี้ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเขตนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งในเดือน เม.ย.และ พ.ค.49 คณะกรรมการสภายุโรปจึงได้ปรับเพิ่มประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ปี 49 เป็นระหว่างร้อยละ 0.5-0.9 ต่อไตรมาสทั้ง 2 ไตรมาส เพิ่มจากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 0.3 - 0.8 และ 0.2 - 0.8 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ตามลำดับ และคาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 0.4 -1.0 ต่อไตรมาส โดยคาดว่าในปี 49 เศรษฐกิจของ Euro zone จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เพิ่มจากร้อยละ 1.3 ต่อปีใน
ปี 48 (รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซลเมื่อ 2 มิ.ย.
49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 224.69 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากระดับ 222.89 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงจำนวน 5.55 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน เม.ย. โดยเป็นผลจากการแปลงมูลค่าสินทรัพย์ที่ถืออยู่ในรูปเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอ่อนค่าลงในช่วง
ที่ผ่านมา โดยในเดือน เม.ย.49 เกาหลีใต้ถูกรัสเซียแย่งตำแหน่งอันดับที่ 4 ของประเทศที่มีทุนสำรองทางการระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกรอง
จากจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน (รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจาก สิงคโปร์เมื่อ 1 มิ.ย.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Purchasing managers’ index (PMI) ของ
สิงคโปร์ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 52.3 จากระดับ 50.4 ในเดือนก่อนหน้า (เม.ย.49) โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ
50 เป็นระดับที่บ่งชี้ว่าการขยายตัวของภาคการผลิต สำหรับดัชนีที่เป็นประกอบของ PMI ได้แก่ New orders index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.4 จากที่
ลดลงในเดือนก่อนหน้า Production index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.7 จากระดับ 50.9 ในเดือนก่อนหน้า และ Electronics sector index
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ระดับ 52.8 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน เม.ย.49 จะขยายตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ
วันที่ 1 มิ.ย.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การส่งออกของมาลเซียที่คิดเป็นสัดส่วนเกือบทั้งหมดของ
จีดีพีในเดือน เม.ย.49 จะขยายตัวร้อยละ 12.3 เทียบต่อปี ปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวเพียงร้อยละ 9.5 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และน้ำมันปาล์มขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีความกังวลลดลงเกี่ยว
กับการที่ค่าเงินริงกิตแข็งตัวขึ้นจนอาจกระทบการส่งออก ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าตัวเลขการส่งออกจะยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยชดเชยกับค่าเงินริงกิตที่แข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินริงกิตแข็ง
ค่าขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 นับตั้งแต่มาเลเซียยกเลิกการตรึงค่าเงินริงกิตกับดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ค.48 และในปีนี้นับจนถึงปัจจุบันค่าเงินริงกิต
แข็งค่าขึ้นมาแล้วร้อยละ 4 ทั้งนี้ การส่งออกของมาเลเซียขยายตัวในระดับตัวเลข 2 หลักทุกเดือนนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ยกเว้นเดือน มี.ค.49
เดือนเดียวที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และ DVDs มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด
ส่วนการนำเข้าสินค้าที่มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการนำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.1 เทียบต่อปีในเดือน เม.ย.49
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.0 ในเดือน มี.ค.49 ขณะที่ดุลการค้าเดือน เม.ย.49 คาดว่าจะเกินดุลลดลงเหลือ 8.2 พันล้านริงกิต (2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
ในเดือน เม.ย.49 จาก 8.5 พันล้านริงกิต ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มิ.ย. 49 1 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.202 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.99935/38.2784 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87438 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 710.30/ 7.40 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,800/11,900 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.13 65.74 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 55 สตางค์ เมื่อ 20 พ.ค. 49 29.39*/26.74* 29.39*/26.74* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อมั่นสัดส่วนเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะลดลงเหลือร้อยละ 2 ในกลางปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ยังเชื่อมั่นว่าสัดส่วนเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะสามารถลดลงเหลือร้อยละ 2 ในกลางปี 50 ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้เนื่องมาจากขณะนี้
ภาวะเศรษฐกิจยังคงดำเนินไปได้ดี จากการส่งออกที่ยังขยายตัว ส่งผลให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังสามารถชำระหนี้ได้ ขณะที่ ธพ.เองก็มีความ
ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่ออย่างมากด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบปี 49 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน พ.ค.49 ว่า อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.49 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 6.2 นับเป็นอัตราที่สูงขึ้นน้อยกว่าเดือน ต.ค.48 ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือน พ.ค.สูงขึ้น เนื่องจากหมวดสินค้าที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.9 เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 2.8 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 5.0 โดย
เฉพาะการปรับค่าธรรมเนียมรถไฟขึ้นอีกร้อยละ 40 และราคาสินค้าประเภทอุปกรณ์การเรียนปรับขึ้น ซึ่งเดือน พ.ค.เป็นช่วงเปิดเทอม ทำให้มีการ
ใช้จ่ายสินค้าหมวดนี้สูงมาก ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย. เนื่องจากราคาผักสดลดลง
ร้อยละ 1.7 เพราะฝนตกอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่าง ๆ มีมากขึ้น แต่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้สด น้ำอัดลม ปลา และสัตว์น้ำ ข้าวเหนียว
และขนมปังปอนด์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อครบ 6 เดือนเชื่อว่า อัตราเงินเฟ้อในครึ่ง
ปีแรกจะไม่เกินร้อยละ 6 และครึ่งปีหลังจะเป็นไปตามที่ประมาณการไว้ อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันทรงตัว เชื่อว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อเดือนคง
สูงขึ้นไม่มาก หรือไม่สูงเกินร้อยละ 6 ซึ่งประเมินว่าเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.จะไม่เกินร้อยละ 6 แน่นอน และมีแนวโน้มลดลงในครึ่งปีหลัง ทำให้
ก.พาณิชย์มั่นใจว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 บนสมมติฐานที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 58-62 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จีดีพีร้อยละ
4.5-5 ค่าเงินบาท 38-40 ต่อดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5-5 ค่าแรงขั้นต่ำ 190 บาทต่ำวัน (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ,
เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 49 เป็นร้อยละ 4.0-4.5 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้
ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสำหรับปี 49 ลงเป็นร้อยละ 4.0-4.5 จากเดิมที่ร้อยละ 4.0-5.0 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย
จะมีอัตราการขยายตัว (จากปีก่อนหน้า) ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 นี้ที่ร้อยละ 4.5-4.7 โดยเป็นผลจากการขยายตัวประมาณร้อยละ 5.3 ใน
ไตรมาสแรก และประมาณร้อยละ 3.7-4.0 ในไตรมาสที่สอง ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรกนั้น เป็นผลส่วนใหญ่มาจากการ
เปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
4. บจ.ระดมทุนผ่านตลาดหุ้นในไตรมาสแรกปี 49 ลดลงร้อยละ 15 ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจการระดมทุนของ บจ.ไตรมาสแรกปี 49 ที่ผ่านมา พบว่า มียอดการระดมทุนผ่านตลาด
หลักทรัพย์รวมจำนวน 17,400 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดการระดมทุนรวม 20,396 ล้านบาท ลดลงประมาณร้อยละ 15
ทั้งนี้ การระดมทุนที่เกิดขึ้นไตรมาสแรกปี 49 รวม 17,388 ล้านบาท แบ่งเป็นการระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก
(ไอพีโอ) จำนวน 2,665 ล้านบาท จากจำนวนบริษัทที่เสนอขายหุ้น 2 บริษัท ระดมทุนผ่านการขยายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง 5,293 ล้านบาท
ขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิม 4,748 ล้านบาท และจากการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อขายหุ้นสามัญ (วอร์แรนท์) จำนวน 4,683 ล้านบาท
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 49 จากไตรมาสก่อน รายงานจาก
บรัสเซลล์ เมื่อ 1 มิ.ย.49 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่ง
ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาสในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
0.3 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 49 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการสภา
ยุโรปคาดไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.0 ต่อปี ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาสและการส่งออกที่
ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อไตรมาสในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อไตรมาส โดยที่ผ่านมาการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากราคา
น้ำมันและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่จากรายงานของ Eurostat ในวันนี้แสดงให้เห็นภาพการ
จ้างงานที่ดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานยังคงที่อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ในเดือน เม.ย.49 เท่ากับเดือน มี.ค.49 ต่ำกว่าที่ตลาดไว้ที่ร้อยละ 8.1 นอกจาก
นี้ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเขตนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งในเดือน เม.ย.และ พ.ค.49 คณะกรรมการสภายุโรปจึงได้ปรับเพิ่มประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ปี 49 เป็นระหว่างร้อยละ 0.5-0.9 ต่อไตรมาสทั้ง 2 ไตรมาส เพิ่มจากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 0.3 - 0.8 และ 0.2 - 0.8 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ตามลำดับ และคาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 0.4 -1.0 ต่อไตรมาส โดยคาดว่าในปี 49 เศรษฐกิจของ Euro zone จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เพิ่มจากร้อยละ 1.3 ต่อปีใน
ปี 48 (รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซลเมื่อ 2 มิ.ย.
49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 224.69 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากระดับ 222.89 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงจำนวน 5.55 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน เม.ย. โดยเป็นผลจากการแปลงมูลค่าสินทรัพย์ที่ถืออยู่ในรูปเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอ่อนค่าลงในช่วง
ที่ผ่านมา โดยในเดือน เม.ย.49 เกาหลีใต้ถูกรัสเซียแย่งตำแหน่งอันดับที่ 4 ของประเทศที่มีทุนสำรองทางการระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกรอง
จากจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน (รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจาก สิงคโปร์เมื่อ 1 มิ.ย.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Purchasing managers’ index (PMI) ของ
สิงคโปร์ในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 52.3 จากระดับ 50.4 ในเดือนก่อนหน้า (เม.ย.49) โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ
50 เป็นระดับที่บ่งชี้ว่าการขยายตัวของภาคการผลิต สำหรับดัชนีที่เป็นประกอบของ PMI ได้แก่ New orders index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.4 จากที่
ลดลงในเดือนก่อนหน้า Production index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.7 จากระดับ 50.9 ในเดือนก่อนหน้า และ Electronics sector index
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ระดับ 52.8 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน เม.ย.49 จะขยายตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ
วันที่ 1 มิ.ย.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การส่งออกของมาลเซียที่คิดเป็นสัดส่วนเกือบทั้งหมดของ
จีดีพีในเดือน เม.ย.49 จะขยายตัวร้อยละ 12.3 เทียบต่อปี ปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวเพียงร้อยละ 9.5 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และน้ำมันปาล์มขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีความกังวลลดลงเกี่ยว
กับการที่ค่าเงินริงกิตแข็งตัวขึ้นจนอาจกระทบการส่งออก ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าตัวเลขการส่งออกจะยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยชดเชยกับค่าเงินริงกิตที่แข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินริงกิตแข็ง
ค่าขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 นับตั้งแต่มาเลเซียยกเลิกการตรึงค่าเงินริงกิตกับดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ค.48 และในปีนี้นับจนถึงปัจจุบันค่าเงินริงกิต
แข็งค่าขึ้นมาแล้วร้อยละ 4 ทั้งนี้ การส่งออกของมาเลเซียขยายตัวในระดับตัวเลข 2 หลักทุกเดือนนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ยกเว้นเดือน มี.ค.49
เดือนเดียวที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และ DVDs มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด
ส่วนการนำเข้าสินค้าที่มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการนำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.1 เทียบต่อปีในเดือน เม.ย.49
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.0 ในเดือน มี.ค.49 ขณะที่ดุลการค้าเดือน เม.ย.49 คาดว่าจะเกินดุลลดลงเหลือ 8.2 พันล้านริงกิต (2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
ในเดือน เม.ย.49 จาก 8.5 พันล้านริงกิต ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มิ.ย. 49 1 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.202 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.99935/38.2784 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87438 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 710.30/ 7.40 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,800/11,900 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.13 65.74 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 55 สตางค์ เมื่อ 20 พ.ค. 49 29.39*/26.74* 29.39*/26.74* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--