ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เข้าดูแลค่าเงินบาทต่อเนื่องเพื่อไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.
ยังคงเข้าดูแลค่าเงินบาทอีก เพื่อไม่ให้แข็งค่าขึ้นมากเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก และการปรับตัวของภาคธุรกิจ
และยืนยันว่าจะดูแลให้ค่าเงินบาทนิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยค่าเงินบาทในวานนี้ (16 ส.ค.49) ค่อนข้างนิ่งเพราะอยู่ระดับใกล้เคียงกับวันที่
15 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเคลื่อนไหวที่ 37.37-37.40 บาท สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เป็นเพราะยังมีเงินไหลเข้ามาในไทย
จำนวนมาก โดยมาที่ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ซึ่ง ธปท.มีการติดตามภาวะเงินไหลเข้าอย่างใกล้ชิด (ข่าวสด, สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. ก.คลังเผยแผนการควบรวม ธ.กรุงศรีอยุธยา และ บ.จีอีแคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิคต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า แผนการควบรวมกิจการของ บ.จีอีแคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค ในการเข้ามาซื้อหุ้นของ ธ.กรุงศรีอยุธยา เกินร้อยละ 25 ที่เสนอให้
ก.คลังพิจารณา ต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากอำนาจอนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นของ รมว.คลัง หรือเป็นอำนาจของ ครม. ดังนั้น
จึงต้องการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ชัดเจน เกี่ยวกับการถือหุ้นเกินร้อยละ
25 รวมทั้ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์มาตรา 5 ทวิ 5 เบญจ ที่ระบุว่า การให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ต้องรายงานให้
ธปท.รับทราบ และต่างชาติต้องถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ในสถาบันการเงิน ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้เสนอรายละเอียดและ
ความคิดเห็นทั้งหมดของการขอเข้าซื้อหุ้นใน ธ.กรุงศรีอยุธยาของกลุ่มบริษัทจีอีฯ ไปที่ ก.คลังทั้งหมดแล้ว ซึ่งรายละเอียดการเสนอแผนก็เป็นไป
ตามที่กลุ่มจีอีฯ และ ธ.กรุงศรีอยุธยาเสนอมา ส่วนจะอนุมัติตามที่เสนอมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ก.คลังพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าอีกประมาณ 1-2 วันคง
มีความชัดเจนขึ้น (บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
เปิดเผยถึงผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือน ก.ค.49 และในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี งปม. 49
(ต.ค.48-ก.ค.49) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย.49 มีจำนวน
3,260,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.06 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,937,051 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจ
ที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 999,136 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 323,835 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 32,112 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 6,005 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็น
สถาบันการเงินลดลง 3,405 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 41,521 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถแยกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ
541,408 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.61 และหนี้ในประเทศ 2,718,614 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.39 และเป็นหนี้ระยะยาว
2,653,861 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.41 และหนี้ระยะสั้น 606,161 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.59 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
(ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
4. ยอดการใช้น้ำมัน 7 เดือนแรกของปี 49 ลดลง ขณะที่ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
เปิดเผยว่า สถานการณ์พลังงานในช่วง 7 เดือนแรกของปี 49 ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศได้ปรับลดน้ำมันดีเซลลงเป็นเดือนที่ 13 นับแต่เดือน
ก.ค.48 เฉลี่ยวันละ 56.5 ล้านลิตร เหลือ 51.7 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 8.4 ขณะที่เบนซิน 95 และ 91 ลดลงร้อยละ 2.1 เฉลี่ยจาก
วันละ 20.1 ล้านลิตร เหลือวันละ 19.7 ล้านลิตร เพราะราคาน้ำมันสูงขึ้น รวมทั้งผู้ใช้รถยนต์หันไปใช้พลังงานทดแทน สำหรับปริมาณการนำเข้า
น้ำมันดิบช่วง 7 เดือนแรกมีปริมาณ 8.34 แสนบาร์เรล/วัน มีอัตราลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และทำให้มีการ
ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 1.03 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 57.6 แบ่งเป็นการส่งออกน้ำมันดิบ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เฉลี่ยวันละ 6.1 หมื่นบาร์เรล และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เฉลี่ยวันละ 1.28 แสนบาร์เรล
(โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ สรอ. ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 16 ส.ค. 49 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จาก
เดือนก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากคงที่อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อเดือนเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน เช่นเดียวกับ
รายงานเมื่อวานนี้ที่ชี้ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตก็ชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่การสร้างบ้านใหม่ลดลงร้อยละ 2.5 ต่อปีเหลือ 1.795 ล้านหน่วย
จากจำนวน 1.841 ล้านหน่วยในเดือน มิ.ย.49 เช่นเดียวกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้เพียงร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นอัตราเพียง
ครึ่งหนึ่งของร้อยละ 0.8 ในเดือน มิ.ย.49 เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ซึ่ง
นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีส่วนทำให้ ธ.กลาง สรอ.หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย
เป็นครั้งแรกหลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่กลางปี 47 เป็นต้นมา โดย ธ.กลาง สรอ.มีกำหนดจะประชุม
เพื่อกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 20 ก.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
2. รายได้ค่าจ้างแรงงานของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 อัตราค่าจ้างของอังกฤษเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วที่สุดมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.1 ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าจ้างในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรวมทั้งเงินโบนัสเพิ่มขึ้น
ในขณะที่อัตราการว่างงานกลับเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษวิตกว่าต้นทุนพลังงานจะก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อในด้าน
ค่าจ้างขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราค่าจ้างยังขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นระดับราคาที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ Peter Dixon
นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank แสดงความประหลาดใจมากที่อัตราค่าจ้างขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และเห็นว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
ยังไม่น่าวิตก สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และอยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่
2 ปี 43 บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนขยายตัวชะลอลงในเดือน ก.ค.49 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 16 ส.ค.49 The National
Bureau of Statistics เปิดเผยว่า การลงทุนในโรงงาน อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ถาวรอื่นๆ ในเขตเมืองของจีนในช่วงเดือน
ม.ค.-ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากช่วง 6 เดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.49) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
31.3 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการลงทุนฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การลงทุนฯ ที่
ขยายตัวชะลอลงดังกล่าวนับเป็นข่าวดี เนื่องจากเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า ความพยายามของรัฐบาลในการที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้เกิดผลแล้ว ทั้งนี้ มีความกังวลว่าการขยายตัวอย่างมากของการลงทุน จะส่งผลกระทบให้เกิด
ภาวะอุปทานล้นเกินและทำให้หนี้เสียของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินนโยบายต่างๆ นับตั้งแต่ การปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงเดือน เม.ย.49 การปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งที่สองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง
การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโครงการลงทุนทั่วประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จีนยังมีความจำเป็นที่จะต้องลดความร้อนแรงของ
การขยายตัวของการลงทุน จนกว่าอัตราการขยายตัวจะเข้าสู่ระดับปกติคือต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการและความเร่งด่วนในการ
ดำเนินการของรัฐบาลเป็นสำคัญ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
16 ส.ค.49 The Statistics Department เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี
ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.49) เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อปี โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาการขนส่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหาร โดยดัชนีราคาการ
ขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 12.6 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างเชื่อมั่นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. จะไม่ส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 ส.ค.
นี้อย่างแน่นอน โดยก่อนหน้านี้ ธ.กลางมาเลเซียเคยเปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมจะสามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ได้ ตราบเท่าที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ส.ค. 49 16 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.394 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2161/37.5002 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12333 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 712.07/ 15.68 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.49 68.7 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 29.79*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เข้าดูแลค่าเงินบาทต่อเนื่องเพื่อไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.
ยังคงเข้าดูแลค่าเงินบาทอีก เพื่อไม่ให้แข็งค่าขึ้นมากเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก และการปรับตัวของภาคธุรกิจ
และยืนยันว่าจะดูแลให้ค่าเงินบาทนิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยค่าเงินบาทในวานนี้ (16 ส.ค.49) ค่อนข้างนิ่งเพราะอยู่ระดับใกล้เคียงกับวันที่
15 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเคลื่อนไหวที่ 37.37-37.40 บาท สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เป็นเพราะยังมีเงินไหลเข้ามาในไทย
จำนวนมาก โดยมาที่ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ซึ่ง ธปท.มีการติดตามภาวะเงินไหลเข้าอย่างใกล้ชิด (ข่าวสด, สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. ก.คลังเผยแผนการควบรวม ธ.กรุงศรีอยุธยา และ บ.จีอีแคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิคต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า แผนการควบรวมกิจการของ บ.จีอีแคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค ในการเข้ามาซื้อหุ้นของ ธ.กรุงศรีอยุธยา เกินร้อยละ 25 ที่เสนอให้
ก.คลังพิจารณา ต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากอำนาจอนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นของ รมว.คลัง หรือเป็นอำนาจของ ครม. ดังนั้น
จึงต้องการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ชัดเจน เกี่ยวกับการถือหุ้นเกินร้อยละ
25 รวมทั้ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์มาตรา 5 ทวิ 5 เบญจ ที่ระบุว่า การให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ต้องรายงานให้
ธปท.รับทราบ และต่างชาติต้องถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ในสถาบันการเงิน ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้เสนอรายละเอียดและ
ความคิดเห็นทั้งหมดของการขอเข้าซื้อหุ้นใน ธ.กรุงศรีอยุธยาของกลุ่มบริษัทจีอีฯ ไปที่ ก.คลังทั้งหมดแล้ว ซึ่งรายละเอียดการเสนอแผนก็เป็นไป
ตามที่กลุ่มจีอีฯ และ ธ.กรุงศรีอยุธยาเสนอมา ส่วนจะอนุมัติตามที่เสนอมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ก.คลังพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าอีกประมาณ 1-2 วันคง
มีความชัดเจนขึ้น (บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
เปิดเผยถึงผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือน ก.ค.49 และในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี งปม. 49
(ต.ค.48-ก.ค.49) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย.49 มีจำนวน
3,260,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.06 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,937,051 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจ
ที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 999,136 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 323,835 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 32,112 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 6,005 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็น
สถาบันการเงินลดลง 3,405 ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 41,521 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถแยกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ
541,408 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.61 และหนี้ในประเทศ 2,718,614 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.39 และเป็นหนี้ระยะยาว
2,653,861 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.41 และหนี้ระยะสั้น 606,161 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.59 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
(ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
4. ยอดการใช้น้ำมัน 7 เดือนแรกของปี 49 ลดลง ขณะที่ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
เปิดเผยว่า สถานการณ์พลังงานในช่วง 7 เดือนแรกของปี 49 ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศได้ปรับลดน้ำมันดีเซลลงเป็นเดือนที่ 13 นับแต่เดือน
ก.ค.48 เฉลี่ยวันละ 56.5 ล้านลิตร เหลือ 51.7 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 8.4 ขณะที่เบนซิน 95 และ 91 ลดลงร้อยละ 2.1 เฉลี่ยจาก
วันละ 20.1 ล้านลิตร เหลือวันละ 19.7 ล้านลิตร เพราะราคาน้ำมันสูงขึ้น รวมทั้งผู้ใช้รถยนต์หันไปใช้พลังงานทดแทน สำหรับปริมาณการนำเข้า
น้ำมันดิบช่วง 7 เดือนแรกมีปริมาณ 8.34 แสนบาร์เรล/วัน มีอัตราลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และทำให้มีการ
ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 1.03 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 57.6 แบ่งเป็นการส่งออกน้ำมันดิบ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เฉลี่ยวันละ 6.1 หมื่นบาร์เรล และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เฉลี่ยวันละ 1.28 แสนบาร์เรล
(โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ สรอ. ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 16 ส.ค. 49 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จาก
เดือนก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากคงที่อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อเดือนเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน เช่นเดียวกับ
รายงานเมื่อวานนี้ที่ชี้ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตก็ชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่การสร้างบ้านใหม่ลดลงร้อยละ 2.5 ต่อปีเหลือ 1.795 ล้านหน่วย
จากจำนวน 1.841 ล้านหน่วยในเดือน มิ.ย.49 เช่นเดียวกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้เพียงร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นอัตราเพียง
ครึ่งหนึ่งของร้อยละ 0.8 ในเดือน มิ.ย.49 เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ซึ่ง
นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีส่วนทำให้ ธ.กลาง สรอ.หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย
เป็นครั้งแรกหลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่กลางปี 47 เป็นต้นมา โดย ธ.กลาง สรอ.มีกำหนดจะประชุม
เพื่อกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 20 ก.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
2. รายได้ค่าจ้างแรงงานของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 อัตราค่าจ้างของอังกฤษเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วที่สุดมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.1 ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าจ้างในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรวมทั้งเงินโบนัสเพิ่มขึ้น
ในขณะที่อัตราการว่างงานกลับเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษวิตกว่าต้นทุนพลังงานจะก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อในด้าน
ค่าจ้างขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราค่าจ้างยังขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นระดับราคาที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ Peter Dixon
นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank แสดงความประหลาดใจมากที่อัตราค่าจ้างขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และเห็นว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
ยังไม่น่าวิตก สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และอยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่
2 ปี 43 บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนขยายตัวชะลอลงในเดือน ก.ค.49 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 16 ส.ค.49 The National
Bureau of Statistics เปิดเผยว่า การลงทุนในโรงงาน อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ถาวรอื่นๆ ในเขตเมืองของจีนในช่วงเดือน
ม.ค.-ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากช่วง 6 เดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.49) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
31.3 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการลงทุนฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การลงทุนฯ ที่
ขยายตัวชะลอลงดังกล่าวนับเป็นข่าวดี เนื่องจากเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า ความพยายามของรัฐบาลในการที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้เกิดผลแล้ว ทั้งนี้ มีความกังวลว่าการขยายตัวอย่างมากของการลงทุน จะส่งผลกระทบให้เกิด
ภาวะอุปทานล้นเกินและทำให้หนี้เสียของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินนโยบายต่างๆ นับตั้งแต่ การปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงเดือน เม.ย.49 การปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งที่สองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง
การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโครงการลงทุนทั่วประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จีนยังมีความจำเป็นที่จะต้องลดความร้อนแรงของ
การขยายตัวของการลงทุน จนกว่าอัตราการขยายตัวจะเข้าสู่ระดับปกติคือต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการและความเร่งด่วนในการ
ดำเนินการของรัฐบาลเป็นสำคัญ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
16 ส.ค.49 The Statistics Department เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี
ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.49) เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อปี โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาการขนส่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหาร โดยดัชนีราคาการ
ขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 12.6 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างเชื่อมั่นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. จะไม่ส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 ส.ค.
นี้อย่างแน่นอน โดยก่อนหน้านี้ ธ.กลางมาเลเซียเคยเปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมจะสามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ได้ ตราบเท่าที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ส.ค. 49 16 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.394 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2161/37.5002 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12333 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 712.07/ 15.68 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.49 68.7 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 29.79*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--