วันนี้(12 มี.ค.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดแถลงข่าวในเวลา 10.00 น. ว่าจากการที่ได้มีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศอยู่ในขณะนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าในการพยายามหาทางออกร่วมกันของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ และองค์กรต่าง ๆ ในสังคมนั้นว่าเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวมของเรา อย่างไรก็ดี ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นในการจะหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรลุตามความต้องการของทุก ๆ ฝ่ายในสังคมไทยได้นั้น จะต้องมองถึงทางเข้าไปสู่ปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในประเทศชาติบ้านเมืองของเราในปัจจุบันด้วย ว่าต้นตอของปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร ถ้าเราพยายามหาทางออกโดยไม่มุ่งไปสู่ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงแล้ว เราก็จะพบแต่เพียงทางออกชั่วคราว ซึ่งไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นวันนี้สังคมไทยจะต้องตระหนักถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดวิกฤตในสังคม ในประเทศชาติบ้านเมืองของเราด้วย ไม่ควรที่จะปัดปัญหา แล้วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเป็นครั้งคราวเท่านั้น ถ้าเรากระทำการอย่างนั้นก็ไม่แตกต่างจากการที่เราเอา “น้ำหอมไปปะพรมอยู่บนกองขยะ” ซึ่งก็คงไม่สามารถจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ นอกจากจะต้องนำขยะมารีไซเคิล เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้
อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายได้พยายามออกมาเรียกร้องเสนอให้มีการพบปะกันทั้ง 3 ฝ่าย คือฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ ฝ่ายกลุ่มพรรคฝ่ายค้านเดิม รวมทั้งรัฐบาล โดยเฉพาะในรายการ “ถึงลูกถึงคน” เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น ท่านนายกฯ ได้พูดอย่างชัดเจน ยอมรับในรายการว่า พร้อมที่จะออกทีวีกับตัวแทนพันธมิตรและตัวแทนฝ่ายค้านเดิม แต่พอเมื่อวานนี้(เสาร์ 9 มี.ค.) ปรากฎว่า ท่านนายกฯ ได้เปลี่ยนคำพูดของท่าน โดยจะไม่ยอมออกทีวี จะใช้วิธีปิดห้องคุยกัน ในการเปลี่ยนคำพูดของนายกรัฐมนตรีนั้น ชี้ให้เห็นถึงวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำที่ควรจะยึดมั่นในคำพูดของตนและสร้างความเชื่อถือศรัทธาต่อพี่น้องประชาชน เพียงแค่ยังไม่ทันข้ามวัน ไม่ถึง 24 ชม. ท่านนายกฯ ก็ได้เปลี่ยนคำพูดของตนเอง จึงไม่ทราบว่าท่านนายกฯ กลัวอะไร ถึงจะไม่ยอมออกทีวี ต่อหน้าพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ในการพูดคุยกันถึงปัญหาบ้านเมืองของเรา เพื่อที่จะหาทางออกร่วมกัน เพราะถ้าท่านนายกฯ โปร่งใสจริง ก็ไม่น่าจะกลัวอะไร ท่านนายกฯ ต้องเข้าใจว่าปัญหาขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือปัญหาส่วนตัวระหว่างท่านนายกฯ กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองในขณะนี้นั้นเป็นปัญหาของพวกเราทุก ๆ คนร่วมกัน เมื่อไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวนั้น จึงไม่ควรใช้วิธีการคุยกันอย่างลับ ๆ ปิดห้องคุยกัน เพราะไม่ใช่เรื่องความลับของทางราชการ ไม่ใช่เรื่องความลับที่จะกระทบความมั่นคงของประเทศ แต่เป็นเรื่องที่มีการเคลื่อนไหวกันอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อหน้าประชาชน มีการกล่าวหาถึงการแสดงจุดยืนของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมที่จะพบปะพูดคุยอย่างเปิดเผยตลอดเวลา เพื่อร่วมกันหาทางออกอันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติของเรา
นอกเหนือจากนั้นท่านนายกฯ ได้บอกว่า ท่านเป็นนายกที่ถูกตรวจสอบมากที่สุด นายองอาจกล่าวต่อไปว่า ข้อความที่ท่านได้กล่าวนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่คิดว่าท่านนายกฯ กลับเป็นนายกฯ ที่หนีการตรวจสอบมากที่สุด นับตั้งแต่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 44 ท่านก็หนีการตรวจสอบด้วยการควบรวมพรรคเสรีธรรม มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย ภายหลังได้ยุบพรรคความหวังใหม่ มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย และก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ก็ได้ยุบพรรคชาติพัฒนา ให้มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย จะเห็นได้ว่ากระบวนการของการยุบพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาร่วมกับพรรคไทยรักไทยนั้น ก็คือกระบวนการในการหาช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้เสียงมากที่สุดเพื่อให้ฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการทำลายหลักการสำคัญในระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตย หลักการสำคัญก็คือการตรวจสอบ แต่ปรากฎว่านายกรัฐมนตรีนั้นได้อาศัยช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้ห้ามการรวบพรรค ยุบพรรคมารวมกันได้ หลังการเลือกตั้งจึงทำให้ท่านนายกฯ ได้อาศัยจุดนี้หาประโยชน์ให้พรรคของตนเอง
เมื่อวานนี้เช่นกัน ท่านนายกฯ ได้ประกาศในการปราศรัยว่า ขอตายที่เมืองไทย ไม่หนีไปไหนเด็ดขาด นายองอาจ ยื่นทางเลือกให้กับท่านนายกฯ ว่า ผู้นำที่ประกาศที่จะตายในประเทศที่เป็นเรือนเกิดของตนเอง มักจะหนีออกนอกประเทศก่อนประชาชนคนอื่นเสมอ และหากท่านนายกฯ ประกาศต้องการที่จะตายที่เมืองไทยจริง ๆ ท่านนายกฯ จะต้องเริ่มขบคิดตั้งแต่วันนี้ซึ่งยังไม่สายว่าที่ท่านต้องการจะตายที่เมืองไทยนั้น ท่านจะตายอย่างให้คนสรรเสริญ หรือจะตายแบบให้คนสาปแช่งก่นด่าทั้งประเทศ
ต่อกรณีที่มีการระเบิดที่หน้าบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีนั้น นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่า มาถึงวันนี้ทางรัฐบาลควรจะเร่งรัดเอาจริงเอาจังในการค้นหามือวางระเบิดหน้าบ้านประธานองคมนตรี มากกว่าที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำประเทศนั้นไม่ควรที่จะชี้นำว่าการระเบิดนั้นเป็นฝีมือของฝ่ายใดทั้งสิ้น โดยเฉพาะ การที่ท่านนายกฯ ชี้นำเป็นนัยยะ ว่าการระเบิดที่เกิดขึ้นหน้าบ้าน พล.อ.เปรม นั้นต้องให้ไปถามพวกม็อบสนามหลวงนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอี่น ๆ ไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ รอบคอบ และถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม และถูกต้องตามกระบวนการของการสืบสวนสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้
อย่างไรก็ดีตามที่เมื่อวานนี้มีรายงานข่าวทางทหารได้รับแจ้งจากหน่วยข่าวประเมินว่า มีหลายฝ่ายได้รับผลประโยชน์จากเหตุการณ์ระเบิดที่หน้าบ้านประธานองคมนตรีนั้น หนึ่งในนั้นได้ระบุว่ามีพรรคฝ่ายค้านรวมอยู่ด้วย ซึ่งในส่วนของฝ่ายค้านได้มีพรรคประชาธิปัตย์ร่วมอยู่ด้วยนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์ขอปฏิเสธรายงานหน่วยข่าวของทหาร ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากเหตุระเบิดหน้าบ้านประธานองคมนตรี นอกจากไม่ได้ประโยชน์ ใด ๆ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีความคิดใด ๆ ในการที่จะไปเกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นวิธีการที่อยู่นอกเหนือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นการประเมินสถานการณ์ของหน่วยข่าวต่าง ๆ ขอให้ประเมินบนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน และความเป็นจริง ก่อนที่จะมีการปล่อยให้ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้เล็ดลอดออกมาทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชน และก่อให้เกิดความเสียหายต่อพรรคฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์
กรณีที่ท่านนายกฯ ได้กล่าวพาดพิงถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ชื่อว่าต่อสู้เพื่อเผด็จการ แต่มาถึงวันนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคกลับไม่เคารพระบอบประชาธิปไตย ไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง นายองอาจกล่าวว่า การไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้แสดงถึงความไม่เคารพต่อระบอบประชาธิปไตยแต่ประการใด เพราะรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ตามมาตรา 328 ว่า การไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมาเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองไม่ได้ เพราะฉะนั้นการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์โดยการไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้นั้น เพราะเราเลือกแนวทางการต่อสู้ทางการเมืองแบบสันติวิธี ต่อการเลือกที่ไม่ชอบธรรม โดยมีสาเหตุมาจากการยุบสภาที่ไม่ชอบธรรม และมองได้อย่างชัดเจนว่าหากพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยนั้น เท่ากับเรายอมรับเอาระบอบอันชั่วร้ายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ยังคงอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้คัดค้านวิธีการเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องในขณะนี้ อย่างไรก็ดีทุกวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังคงต่อสู้กับเผด็จการอยู่ และจุดยืนในการต่อสู้กับเผด็จการยังคงเหมือนเดิมแต่ปัจจุบันนี้เราไม่ได้ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เพราะรูปแบบของการเผด็จการได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ขณะนี้เรากำลังต่อสู้กับเผด็จการทุนนิยม ต่อสู้กับธุรกิจการเมืองซึ่งมีความเลวร้ายมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา อีกทั้งเผด็จการทุนนิยมนี้เป็นเผด็จการสายพันธุ์ใหม่ ที่อาศัยความสลับซับซ้อนสร้างการเมืองไทยให้เป็นสีเทา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ทำให้สังคมของพี่น้องประชาชน จะติดตามตรวจสอบไม่ได้อย่างง่าย ๆ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์วิตกกังวลอีกประการหนึ่งคือ กรณีน.พ.เปรมศักดิ์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและไปอุปสมบทอยู่ในขณะนี้นั้น ปรากฎว่าสิ่งที่เรามีความวิตกกังวลในขณะนี้คือคำกล่าวของท่านนายกฯ ที่ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องนี้ท่านนายกฯ ตอบว่าพรรคประชากรไทย อาจจะถึง 5% ก็ได้ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากจะเรียนถามท่านนายกฯ ว่า ท่านนายกฯ นึกถึงพรรคประชากรไทยที่จะได้ถึง 5% เพราะอะไร ในขณะที่มีพรรคการเมืองอื่นมากมาย ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ท่านนึกถึงพรรคประชากรไทยเพราะมีความรู้จักมักคุ้นพอที่จะมีส่วนลุ้นที่จะให้พรรคประชากรไทยได้ 5% จากการเลือกตั้งครั้งนี้หรือ และจากการเลือกตั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พรรคประชากรไทยได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์น้อยกว่าพรรคการเมืองที่เราไม่เคยได้ยินชื่อบางพรรคเสียอีก นายองอาจยังเรียกร้องว่าพรรคไทยรักไทยอย่าพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงของรัฐธรรมนูญให้เป็นอย่างอื่น และรู้สึกเสียดายคนของไทยรักไทยที่มีมือกฏหมายหลายคนแต่พยายามออกมาบิดเบือนประเด็นนี้ และขอฝากไปยังกกต.ให้จับตาดูผลการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลิสต์ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าจะมีความพยายามจากพรรคการเมืองบางพรรคที่จะไปสนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆบางพรรคให้ได้ปาร์ตี้ลิสต์มากพอที่จะมาทดแทนปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคไทยรักไทย1 คนที่หลุดออกไป เพราะปัจจุบันมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 44 ล้านคนทั่วประเทศ ร้อยละ 5 ของคะนนปาร์ตี้ลิสต์จะต้องได้ประมาณ 2 ล้านคะแนน
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองใหญ่ๆบางพรรคจะไปถ่ายเทคะแนนซึ่งอาจจะต้องใช้เขตเลือกตั้งประมาณ 60-70 เขตทั่วประเทศจาก400 เขต เพราะเคยมีการทำแล้วในอดีตสมัยที่พรรคไทยรักไทยถูกใบแดง เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ได้มีการถ่ายเทคะแนน นายบุญเติม จันทะวัฒน์ อดีตสส.ร้อยเอ็ด ทั้งที่ในการเลือกตั้งครั้งแรกได้คะแนนไม่กี่ร้อยคะแนน แต่พอมีการเลือกตั้งซ่อมกลับได้คะแนนมากกว่าเดิม อย่างกรณีที่จ.นราธิวาสเช่นเดียวกัน
จึงอยากฝากไปยังกกต.ให้จับตาดูการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม และพรรคเชื่อว่าหากหลังการเลือกตั้งได้จำนวนส.ส.ไม่ถึง500 คน ก็ไม่สามารถเปิดสภาได้ หากไทยรักไทยยังฝืนจะขอเปิดสภาก็จะขัดต่อกฎหมาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 มี.ค. 2549--จบ--
อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายได้พยายามออกมาเรียกร้องเสนอให้มีการพบปะกันทั้ง 3 ฝ่าย คือฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ ฝ่ายกลุ่มพรรคฝ่ายค้านเดิม รวมทั้งรัฐบาล โดยเฉพาะในรายการ “ถึงลูกถึงคน” เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น ท่านนายกฯ ได้พูดอย่างชัดเจน ยอมรับในรายการว่า พร้อมที่จะออกทีวีกับตัวแทนพันธมิตรและตัวแทนฝ่ายค้านเดิม แต่พอเมื่อวานนี้(เสาร์ 9 มี.ค.) ปรากฎว่า ท่านนายกฯ ได้เปลี่ยนคำพูดของท่าน โดยจะไม่ยอมออกทีวี จะใช้วิธีปิดห้องคุยกัน ในการเปลี่ยนคำพูดของนายกรัฐมนตรีนั้น ชี้ให้เห็นถึงวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำที่ควรจะยึดมั่นในคำพูดของตนและสร้างความเชื่อถือศรัทธาต่อพี่น้องประชาชน เพียงแค่ยังไม่ทันข้ามวัน ไม่ถึง 24 ชม. ท่านนายกฯ ก็ได้เปลี่ยนคำพูดของตนเอง จึงไม่ทราบว่าท่านนายกฯ กลัวอะไร ถึงจะไม่ยอมออกทีวี ต่อหน้าพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ในการพูดคุยกันถึงปัญหาบ้านเมืองของเรา เพื่อที่จะหาทางออกร่วมกัน เพราะถ้าท่านนายกฯ โปร่งใสจริง ก็ไม่น่าจะกลัวอะไร ท่านนายกฯ ต้องเข้าใจว่าปัญหาขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือปัญหาส่วนตัวระหว่างท่านนายกฯ กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองในขณะนี้นั้นเป็นปัญหาของพวกเราทุก ๆ คนร่วมกัน เมื่อไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวนั้น จึงไม่ควรใช้วิธีการคุยกันอย่างลับ ๆ ปิดห้องคุยกัน เพราะไม่ใช่เรื่องความลับของทางราชการ ไม่ใช่เรื่องความลับที่จะกระทบความมั่นคงของประเทศ แต่เป็นเรื่องที่มีการเคลื่อนไหวกันอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อหน้าประชาชน มีการกล่าวหาถึงการแสดงจุดยืนของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมที่จะพบปะพูดคุยอย่างเปิดเผยตลอดเวลา เพื่อร่วมกันหาทางออกอันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติของเรา
นอกเหนือจากนั้นท่านนายกฯ ได้บอกว่า ท่านเป็นนายกที่ถูกตรวจสอบมากที่สุด นายองอาจกล่าวต่อไปว่า ข้อความที่ท่านได้กล่าวนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่คิดว่าท่านนายกฯ กลับเป็นนายกฯ ที่หนีการตรวจสอบมากที่สุด นับตั้งแต่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 44 ท่านก็หนีการตรวจสอบด้วยการควบรวมพรรคเสรีธรรม มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย ภายหลังได้ยุบพรรคความหวังใหม่ มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย และก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ก็ได้ยุบพรรคชาติพัฒนา ให้มาอยู่กับพรรคไทยรักไทย จะเห็นได้ว่ากระบวนการของการยุบพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาร่วมกับพรรคไทยรักไทยนั้น ก็คือกระบวนการในการหาช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้เสียงมากที่สุดเพื่อให้ฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการทำลายหลักการสำคัญในระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตย หลักการสำคัญก็คือการตรวจสอบ แต่ปรากฎว่านายกรัฐมนตรีนั้นได้อาศัยช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้ห้ามการรวบพรรค ยุบพรรคมารวมกันได้ หลังการเลือกตั้งจึงทำให้ท่านนายกฯ ได้อาศัยจุดนี้หาประโยชน์ให้พรรคของตนเอง
เมื่อวานนี้เช่นกัน ท่านนายกฯ ได้ประกาศในการปราศรัยว่า ขอตายที่เมืองไทย ไม่หนีไปไหนเด็ดขาด นายองอาจ ยื่นทางเลือกให้กับท่านนายกฯ ว่า ผู้นำที่ประกาศที่จะตายในประเทศที่เป็นเรือนเกิดของตนเอง มักจะหนีออกนอกประเทศก่อนประชาชนคนอื่นเสมอ และหากท่านนายกฯ ประกาศต้องการที่จะตายที่เมืองไทยจริง ๆ ท่านนายกฯ จะต้องเริ่มขบคิดตั้งแต่วันนี้ซึ่งยังไม่สายว่าที่ท่านต้องการจะตายที่เมืองไทยนั้น ท่านจะตายอย่างให้คนสรรเสริญ หรือจะตายแบบให้คนสาปแช่งก่นด่าทั้งประเทศ
ต่อกรณีที่มีการระเบิดที่หน้าบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีนั้น นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่า มาถึงวันนี้ทางรัฐบาลควรจะเร่งรัดเอาจริงเอาจังในการค้นหามือวางระเบิดหน้าบ้านประธานองคมนตรี มากกว่าที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำประเทศนั้นไม่ควรที่จะชี้นำว่าการระเบิดนั้นเป็นฝีมือของฝ่ายใดทั้งสิ้น โดยเฉพาะ การที่ท่านนายกฯ ชี้นำเป็นนัยยะ ว่าการระเบิดที่เกิดขึ้นหน้าบ้าน พล.อ.เปรม นั้นต้องให้ไปถามพวกม็อบสนามหลวงนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอี่น ๆ ไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ รอบคอบ และถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม และถูกต้องตามกระบวนการของการสืบสวนสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้
อย่างไรก็ดีตามที่เมื่อวานนี้มีรายงานข่าวทางทหารได้รับแจ้งจากหน่วยข่าวประเมินว่า มีหลายฝ่ายได้รับผลประโยชน์จากเหตุการณ์ระเบิดที่หน้าบ้านประธานองคมนตรีนั้น หนึ่งในนั้นได้ระบุว่ามีพรรคฝ่ายค้านรวมอยู่ด้วย ซึ่งในส่วนของฝ่ายค้านได้มีพรรคประชาธิปัตย์ร่วมอยู่ด้วยนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์ขอปฏิเสธรายงานหน่วยข่าวของทหาร ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากเหตุระเบิดหน้าบ้านประธานองคมนตรี นอกจากไม่ได้ประโยชน์ ใด ๆ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีความคิดใด ๆ ในการที่จะไปเกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นวิธีการที่อยู่นอกเหนือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นการประเมินสถานการณ์ของหน่วยข่าวต่าง ๆ ขอให้ประเมินบนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน และความเป็นจริง ก่อนที่จะมีการปล่อยให้ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้เล็ดลอดออกมาทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชน และก่อให้เกิดความเสียหายต่อพรรคฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์
กรณีที่ท่านนายกฯ ได้กล่าวพาดพิงถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ชื่อว่าต่อสู้เพื่อเผด็จการ แต่มาถึงวันนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคกลับไม่เคารพระบอบประชาธิปไตย ไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง นายองอาจกล่าวว่า การไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้แสดงถึงความไม่เคารพต่อระบอบประชาธิปไตยแต่ประการใด เพราะรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ตามมาตรา 328 ว่า การไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมาเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองไม่ได้ เพราะฉะนั้นการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์โดยการไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้นั้น เพราะเราเลือกแนวทางการต่อสู้ทางการเมืองแบบสันติวิธี ต่อการเลือกที่ไม่ชอบธรรม โดยมีสาเหตุมาจากการยุบสภาที่ไม่ชอบธรรม และมองได้อย่างชัดเจนว่าหากพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยนั้น เท่ากับเรายอมรับเอาระบอบอันชั่วร้ายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ยังคงอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้คัดค้านวิธีการเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องในขณะนี้ อย่างไรก็ดีทุกวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังคงต่อสู้กับเผด็จการอยู่ และจุดยืนในการต่อสู้กับเผด็จการยังคงเหมือนเดิมแต่ปัจจุบันนี้เราไม่ได้ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เพราะรูปแบบของการเผด็จการได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ขณะนี้เรากำลังต่อสู้กับเผด็จการทุนนิยม ต่อสู้กับธุรกิจการเมืองซึ่งมีความเลวร้ายมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา อีกทั้งเผด็จการทุนนิยมนี้เป็นเผด็จการสายพันธุ์ใหม่ ที่อาศัยความสลับซับซ้อนสร้างการเมืองไทยให้เป็นสีเทา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ทำให้สังคมของพี่น้องประชาชน จะติดตามตรวจสอบไม่ได้อย่างง่าย ๆ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์วิตกกังวลอีกประการหนึ่งคือ กรณีน.พ.เปรมศักดิ์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยและไปอุปสมบทอยู่ในขณะนี้นั้น ปรากฎว่าสิ่งที่เรามีความวิตกกังวลในขณะนี้คือคำกล่าวของท่านนายกฯ ที่ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องนี้ท่านนายกฯ ตอบว่าพรรคประชากรไทย อาจจะถึง 5% ก็ได้ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์อยากจะเรียนถามท่านนายกฯ ว่า ท่านนายกฯ นึกถึงพรรคประชากรไทยที่จะได้ถึง 5% เพราะอะไร ในขณะที่มีพรรคการเมืองอื่นมากมาย ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ท่านนึกถึงพรรคประชากรไทยเพราะมีความรู้จักมักคุ้นพอที่จะมีส่วนลุ้นที่จะให้พรรคประชากรไทยได้ 5% จากการเลือกตั้งครั้งนี้หรือ และจากการเลือกตั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พรรคประชากรไทยได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์น้อยกว่าพรรคการเมืองที่เราไม่เคยได้ยินชื่อบางพรรคเสียอีก นายองอาจยังเรียกร้องว่าพรรคไทยรักไทยอย่าพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงของรัฐธรรมนูญให้เป็นอย่างอื่น และรู้สึกเสียดายคนของไทยรักไทยที่มีมือกฏหมายหลายคนแต่พยายามออกมาบิดเบือนประเด็นนี้ และขอฝากไปยังกกต.ให้จับตาดูผลการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลิสต์ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าจะมีความพยายามจากพรรคการเมืองบางพรรคที่จะไปสนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆบางพรรคให้ได้ปาร์ตี้ลิสต์มากพอที่จะมาทดแทนปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคไทยรักไทย1 คนที่หลุดออกไป เพราะปัจจุบันมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 44 ล้านคนทั่วประเทศ ร้อยละ 5 ของคะนนปาร์ตี้ลิสต์จะต้องได้ประมาณ 2 ล้านคะแนน
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองใหญ่ๆบางพรรคจะไปถ่ายเทคะแนนซึ่งอาจจะต้องใช้เขตเลือกตั้งประมาณ 60-70 เขตทั่วประเทศจาก400 เขต เพราะเคยมีการทำแล้วในอดีตสมัยที่พรรคไทยรักไทยถูกใบแดง เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ได้มีการถ่ายเทคะแนน นายบุญเติม จันทะวัฒน์ อดีตสส.ร้อยเอ็ด ทั้งที่ในการเลือกตั้งครั้งแรกได้คะแนนไม่กี่ร้อยคะแนน แต่พอมีการเลือกตั้งซ่อมกลับได้คะแนนมากกว่าเดิม อย่างกรณีที่จ.นราธิวาสเช่นเดียวกัน
จึงอยากฝากไปยังกกต.ให้จับตาดูการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม และพรรคเชื่อว่าหากหลังการเลือกตั้งได้จำนวนส.ส.ไม่ถึง500 คน ก็ไม่สามารถเปิดสภาได้ หากไทยรักไทยยังฝืนจะขอเปิดสภาก็จะขัดต่อกฎหมาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 มี.ค. 2549--จบ--