ชาวสวนยางสุดปลื้มรับวาเลนไทน์ หลังราคายางที่อุบลราชธานีสูงถึงกิโลละ 72 บาท นับเป็นปีทองของเกษตรกรทุกภูมิภาคอย่างแท้จริง คาดเพราะภัยแล้งและเหตุการณ์ในสามชายแดนใต้ส่งผลราคายางพุ่ง
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการเปิดตลาดประมูลการซื้อขายยางพารา ที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจำนวนมากในเขตอำเภอบุณฑริกและอำเภอใกล้เคียง ทยอยนำยางพาราแผ่นดิบออกมาขายกันอย่างคึกคัก ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเมื่อราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 72 บาท
เลขาฯ สศก. กล่าวต่ออีกว่า ปี 2548 นับว่าเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นฤดูที่เริ่มเปิดกรีดยางพารา ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้ยังอยู่ที่ระดับ 62.50 บาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเกือบถึง 70 บาท และได้ปรับตัวอ่อนลงมาอยู่ในระดับ 56-65 บาทตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจาก ปีที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงและความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลิตลดลง ประกอบกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เกษตรกรผู้ปลูกยางส่วนใหญ่ไม่สามารถออกไปกรีดยางตามปกติได้ ทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการของตลาดขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางพาราแผ่นดิบในท้องตลาดยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงอีกต่อไป เลขาฯ สศก. กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการเปิดตลาดประมูลการซื้อขายยางพารา ที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจำนวนมากในเขตอำเภอบุณฑริกและอำเภอใกล้เคียง ทยอยนำยางพาราแผ่นดิบออกมาขายกันอย่างคึกคัก ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเมื่อราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 72 บาท
เลขาฯ สศก. กล่าวต่ออีกว่า ปี 2548 นับว่าเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นฤดูที่เริ่มเปิดกรีดยางพารา ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้ยังอยู่ที่ระดับ 62.50 บาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเกือบถึง 70 บาท และได้ปรับตัวอ่อนลงมาอยู่ในระดับ 56-65 บาทตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจาก ปีที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงและความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลิตลดลง ประกอบกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เกษตรกรผู้ปลูกยางส่วนใหญ่ไม่สามารถออกไปกรีดยางตามปกติได้ ทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการของตลาดขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางพาราแผ่นดิบในท้องตลาดยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงอีกต่อไป เลขาฯ สศก. กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-