ACMECS
Contract Farming : โครงการความร่วมมือหลักภายใต้ ACMECS
Contract Farming เป็นโครงการความร่วมมือในสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS)มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาคการเกษตรกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า ด้วยการเข้าไปใช้ที่ดินและแรงงานในประเทศเหล่านี้ทำการเพาะปลูกและรับซื้อพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้ ทั้งนี้ ในการส่งสินค้าดังกล่าวกลับมายังไทยประเทศคู่สัญญาในกลุ่ม ACMECS จะได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% โดยในเบื้องต้นครอบคลุมสินค้าเกษตรจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ละหุ่ง มันฝรั่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน
สปป.ลาว
การทำ Contract Farming ใน สปป.ลาว
ปัจจุบันนักลงทุนไทยนิยมเข้าไปทำโครงการ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว เนื่องจากมีพื้นที่ราบลุ่มจำนวนมากที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชกระจายอยู่ทั่วประเทศ ประกอบกับผู้ประกอบการไทยสามารถส่งผลผลิตจากโครงการดังกล่าวกลับมายังไทยโดยไม่เสียภาษีและไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านทางด่านศุลกากรท่าลี่ บริเวณชายแดนจังหวัดเลยกับแขวงไชยะบุรีของ สปป.ลาว ทั้งนี้ ขั้นตอนการทำ Contract Farming ในสปป.ลาว เริ่มจากผู้ประกอบการต้องการจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีนำเข้า ก่อนเข้าไปติดต่อขออนุมัติโครงการกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนของ สปป.ลาว และแขวงที่ต้องการเข้าไปทำ Contract
Farming หลังจากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการเพาะปลูก
พม่า
โครงการ Contract Farming ในพม่า
การทำ Contract Farming ในพม่าได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้น เนื่องจากพม่ามีพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้มากถึง 66.75 ล้านไร่ นอกจากนี้ พม่ายังมีนโยบายสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในภาคเกษตรกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำ Contract Farming ในพม่า สำหรับรายการพืชเป้าหมายเพิ่มเติมซึ่งไทยต้องการส่งเสริมให้มีการทำ Contract Farming กับพม่า ได้แก่อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากพืชเหล่านี้สามารถนำเข้ามาใช้ผลิตพลังงานทดแทนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันยังมีบริษัทเอกชนไทยเข้าไปปลูกอ้อยในลักษณะไร่คู่สัญญาตัวอย่าง(Model Contract Farming)ในจังหวัดแปรของพม่าแล้ว
เวียดนาม
Tay Ninh : ประตูสู่เวียดนามตอนใต้
Tay Ninh เป็นจังหวัดชายแดนตอนใต้ของเวียดนามที่มีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวทางการค้า การลงทุนตลอดจนการท่องเที่ยว เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าสำคัญที่สุดของเวียดนาม ขณะเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจชายแดน Xa Mat และ Moc Bai ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาและเชื่อมต่อมายังไทย นอกจากนี้ Tay Ninh ยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของกัมพูชา เช่น นครวัด ประกอบกับมีโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมผ่าน Tay Ninh เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งระหว่างทะเลจีนใต้ฝั่งตะวันออกเข้ากับมหาสุทรอินเดียทางฝั่งตะวันตก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พส/พห-
Contract Farming : โครงการความร่วมมือหลักภายใต้ ACMECS
Contract Farming เป็นโครงการความร่วมมือในสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS)มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาคการเกษตรกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า ด้วยการเข้าไปใช้ที่ดินและแรงงานในประเทศเหล่านี้ทำการเพาะปลูกและรับซื้อพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้ ทั้งนี้ ในการส่งสินค้าดังกล่าวกลับมายังไทยประเทศคู่สัญญาในกลุ่ม ACMECS จะได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% โดยในเบื้องต้นครอบคลุมสินค้าเกษตรจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ละหุ่ง มันฝรั่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน
สปป.ลาว
การทำ Contract Farming ใน สปป.ลาว
ปัจจุบันนักลงทุนไทยนิยมเข้าไปทำโครงการ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว เนื่องจากมีพื้นที่ราบลุ่มจำนวนมากที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชกระจายอยู่ทั่วประเทศ ประกอบกับผู้ประกอบการไทยสามารถส่งผลผลิตจากโครงการดังกล่าวกลับมายังไทยโดยไม่เสียภาษีและไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านทางด่านศุลกากรท่าลี่ บริเวณชายแดนจังหวัดเลยกับแขวงไชยะบุรีของ สปป.ลาว ทั้งนี้ ขั้นตอนการทำ Contract Farming ในสปป.ลาว เริ่มจากผู้ประกอบการต้องการจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีนำเข้า ก่อนเข้าไปติดต่อขออนุมัติโครงการกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนของ สปป.ลาว และแขวงที่ต้องการเข้าไปทำ Contract
Farming หลังจากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการเพาะปลูก
พม่า
โครงการ Contract Farming ในพม่า
การทำ Contract Farming ในพม่าได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้น เนื่องจากพม่ามีพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้มากถึง 66.75 ล้านไร่ นอกจากนี้ พม่ายังมีนโยบายสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในภาคเกษตรกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำ Contract Farming ในพม่า สำหรับรายการพืชเป้าหมายเพิ่มเติมซึ่งไทยต้องการส่งเสริมให้มีการทำ Contract Farming กับพม่า ได้แก่อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากพืชเหล่านี้สามารถนำเข้ามาใช้ผลิตพลังงานทดแทนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันยังมีบริษัทเอกชนไทยเข้าไปปลูกอ้อยในลักษณะไร่คู่สัญญาตัวอย่าง(Model Contract Farming)ในจังหวัดแปรของพม่าแล้ว
เวียดนาม
Tay Ninh : ประตูสู่เวียดนามตอนใต้
Tay Ninh เป็นจังหวัดชายแดนตอนใต้ของเวียดนามที่มีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวทางการค้า การลงทุนตลอดจนการท่องเที่ยว เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าสำคัญที่สุดของเวียดนาม ขณะเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจชายแดน Xa Mat และ Moc Bai ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาและเชื่อมต่อมายังไทย นอกจากนี้ Tay Ninh ยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของกัมพูชา เช่น นครวัด ประกอบกับมีโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมผ่าน Tay Ninh เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งระหว่างทะเลจีนใต้ฝั่งตะวันออกเข้ากับมหาสุทรอินเดียทางฝั่งตะวันตก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พส/พห-