นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ได้จัดเจรจาธุรกิจ โดยนำโรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิจากภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบปะเจรจาธุรกิจกับร้านค้า / ภัตตาคาร / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ ในงาน “ ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย ” วันที่ 28 กรกฎาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรมรอยัล พาราไดซ์ ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
สืบเนื่องจากกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premium) โดยร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือก และรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้นโดยบ่งชี้ถึงคุณค่า ที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กร หลักทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 14 ล้านคน ที่เดินทางมาประเทศไทยให้รู้จัก และลิ้มรสข้าวหอมมะลิไทยแท้ ๆ จนเกิดความประทับใจกลับไปเล่าขาน และหาบริโภคตามภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในประเทศของตน
ที่ผ่านมากรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยนำผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิแท้ที่ได้รับการรับรอง / ห้างสรรพสินค้า / ร้านค้า / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง / ภัตตาคาร / ผู้ส่งออก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบปะหาช่องทางในการนำข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และ สยามพารากอน ได้นำข้าวจากโรงสีที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จาก 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด นำไปวางจำหน่ายในโฮมเฟรชมาร์ท และกูร์เมต์มาร์เก็ต ของเดอะมอลล์ทุกสาขา ทั่วประเทศ
ลำดับต่อไป กรมฯ จึงจัดงานในรูปแบบดังกล่าว ในภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวภายใต้ชื่องาน “ ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย ” ครั้งแรกในเขตภาคตะวันออกครอบคลุมจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา นครนายก และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นกัน ครั้งต่อไปกำหนดจัดงานในเขตภาคใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง และจังหวัดสงขลา ในวันที่ 28 กรกฎาคม ศกนี้ คาดว่าจะได้มีการเจรจาเพื่อนำข้าวหอมมะลิแท้มาจำหน่ายให้ผู้บริโภคในเขตภาคใต้ได้บริโภคต่อไป สำหรับในครั้งต่อไปกำหนดจัดงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และเชียงใหม่ นายราเชนทร์ฯ กล่าว
สำหรับสถิติปี 2548 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ปริมาณ 2.26 ล้านตัน มูลค่า 34,584 ล้านบาท และในปี 2549 (ม.ค. — มิ.ย.) ส่งออกแล้ว ปริมาณ 1.25 ล้านตัน มูลค่า 18,430 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
สืบเนื่องจากกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premium) โดยร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือก และรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้นโดยบ่งชี้ถึงคุณค่า ที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กร หลักทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 14 ล้านคน ที่เดินทางมาประเทศไทยให้รู้จัก และลิ้มรสข้าวหอมมะลิไทยแท้ ๆ จนเกิดความประทับใจกลับไปเล่าขาน และหาบริโภคตามภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในประเทศของตน
ที่ผ่านมากรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยนำผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิแท้ที่ได้รับการรับรอง / ห้างสรรพสินค้า / ร้านค้า / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง / ภัตตาคาร / ผู้ส่งออก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบปะหาช่องทางในการนำข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และ สยามพารากอน ได้นำข้าวจากโรงสีที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จาก 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด นำไปวางจำหน่ายในโฮมเฟรชมาร์ท และกูร์เมต์มาร์เก็ต ของเดอะมอลล์ทุกสาขา ทั่วประเทศ
ลำดับต่อไป กรมฯ จึงจัดงานในรูปแบบดังกล่าว ในภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวภายใต้ชื่องาน “ ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย ” ครั้งแรกในเขตภาคตะวันออกครอบคลุมจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา นครนายก และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นกัน ครั้งต่อไปกำหนดจัดงานในเขตภาคใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง และจังหวัดสงขลา ในวันที่ 28 กรกฎาคม ศกนี้ คาดว่าจะได้มีการเจรจาเพื่อนำข้าวหอมมะลิแท้มาจำหน่ายให้ผู้บริโภคในเขตภาคใต้ได้บริโภคต่อไป สำหรับในครั้งต่อไปกำหนดจัดงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และเชียงใหม่ นายราเชนทร์ฯ กล่าว
สำหรับสถิติปี 2548 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ปริมาณ 2.26 ล้านตัน มูลค่า 34,584 ล้านบาท และในปี 2549 (ม.ค. — มิ.ย.) ส่งออกแล้ว ปริมาณ 1.25 ล้านตัน มูลค่า 18,430 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-