สถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับเงิน
จากข้อมูลชมรมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทยพบว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องประดับเงินในประเทศไทย จำนวนโรงงาน 500 แห่ง และมี
แรงงานรวม 80,000 คน อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทยเพื่อการส่งออกมีพัฒนาการมามากกว่า 20 ปีจนปัจจุบันได้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการ
ผลิตเครื่องประดับเงินที่ใหญ่ที่สุดรองจากประเทศอิตาลี โดยมียอดการส่งออกเป็นมูลค่า 17,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทย
เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และคาดว่ายอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยโดยรวม จะรักษาระดับการเติบโตได้ต่อไปในปี
2549 โดยดูได้จากยอดการส่งออกเครื่องประดับเงินในระยะ 10 ปี จากปี 2539 - 2548 ดังนี้
ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับเงินไทยไปยังตลาดโลก
ระหว่างปี 2539 — 2548
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายการสินค้า | มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
| 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครื่องประดับเงิน | 5,316 6,906.20 7,935.20 7,909.80 8,258.10 10,944.10 10,581.20 11,449.90 12,810.70 16,917.30
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข้อมูลสถิติการส่งออกในปี 2548 ยอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.6 และเนื่องจากราคาทองมี
แนวโน้มจะสูงขึ้นอีก จึงคาดว่ายอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยโดยรวมจะรักษาระดับการเติบโตในปี 2549 ทั้งนี้มีสาเหตุจากปัจจัยสนับสนุน
หลายประการ ได้แก่
1. ราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ได้สร้างโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงิน กล่าวคือ ความต้องการเครื่องประดับเงินมั่นคงขึ้นใน
ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 หลังจากได้รับแรงกระตุ้นจากราคาทองที่สูงขึ้น ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกจึงสั่งซื้อเครื่องประดับทองเข้าร้านเป็นจำนวนลดลง
และสั่งซื้อเครื่องประดับเงินเพิ่มมากขึ้น หากราคาทองคำยังคงเพิ่มสูงขึ้นในปี 2549 ก็คาดว่า ยอดจำหน่ายเครื่องประดับเงินจะสูงขึ้นกว่าเมื่อปี
2548
2. แม้ว่าราคาโลหะเงินจะเพิ่มขึ้นในปี 2548 แต่ก็ไม่เพิ่มสูงมากนัก เมื่อเทียบกับราคาทองคำ ลูกค้าหันมาสั่งซื้อเครื่องประดับเงินมาก
ขึ้นเพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยง ในขณะเดียวกัน ลูกค้าบางรายที่คาดว่าราคาเงินจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2549 ก็สั่งซื้อเครื่องประดับเงินไปเก็บไว้เพิ่มขึ้นใน
ช่วงปี 2548 เพื่อรอรับเทศกาลวันวาเลนไทน์และวันแม่ เนื่องจากคาดว่ายอดจำหน่ายในยุโรปจะเพิ่มขึ้น และกระแสความนิยมเครื่องประดับเงินมีอยู่
สูงในตลาด
3. ผู้ผลิตเครื่องประดับทองคำของไทยหลายรายได้ขยายสายการผลิตให้หลากหลายมากขึ้น โดยเริ่มหันมาผลิตเครื่องประดับเงินด้วย
หรือขยายสายการผลิตเครื่องประดับเงินที่มีอยู่เดิมให้ได้รับประโยชน์จากความต้องการเครื่องประดับเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากยอดจำหน่ายเครื่อง
ประดับทองเดิมโตช้าลง
4. ผลตอบแทนจากการเปิดตัวเครื่องประดับเงินคุณภาพสูง รูปแบบแปลกใหม่ เข้าสู่ตลาด และมีการขยายกำลังการผลิตด้วยการใช้
เครื่องทุ่นแรง และกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย รวมถึงมีผู้ผลิต ผู้ส่งออกบางราย ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ของตนเอง ทำให้มี
ยอดการผลิต และการจำหน่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงตลาดหลักในสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น
อังกฤษ และตลาดใหม่แหล่งอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัสเซีย ซึ่งกำลังซื้อสูงขึ้นเช่นกัน
5. จากการที่ตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาสนใจพลอยสีกันอีกครั้ง ผู้ผลิตจึงได้ขยายธุรกิจด้านการผลักดันเครื่องประดับเงินที่ประดับ
ด้วยพลอยเนื้อแข็ง พลอยเนื้ออ่อน ซึ่งเป็นพลอยสี ส่งผลให้เครื่องประดับเงินมีรูปแบบและประเภทให้ลูกค้าได้เลือกและสั่งซื้อได้มากขึ้น
จากเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายเครื่องประดับเงินของไทยในตลาดต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ผลิตไทย
จะกำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับคู่แข่งขันในตลาดโลก เช่น จีนและอินเดีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย แต่ก็เป็นเพียงตลาดระดับล่างเท่า
นั้น คู้แข่งจีนมีความสามารถสูงในการผลิตเครื่องประดับเงินราคาต่ำ ในระยะยาวผู้ผลิตไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ในด้านต้นทุนแรงงาน ดังนั้น
ผู้ผลิตไทยจึงควรให้ความสำคัญกับตลาดระดับบน ด้วยการยกระดับการผลิตในแง่คุณภาพ การออกแบบ และการตลาดที่เดินตามกระแสแฟชั่นอยู่ตลอด
เวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
จากข้อมูลชมรมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทยพบว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องประดับเงินในประเทศไทย จำนวนโรงงาน 500 แห่ง และมี
แรงงานรวม 80,000 คน อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทยเพื่อการส่งออกมีพัฒนาการมามากกว่า 20 ปีจนปัจจุบันได้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการ
ผลิตเครื่องประดับเงินที่ใหญ่ที่สุดรองจากประเทศอิตาลี โดยมียอดการส่งออกเป็นมูลค่า 17,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทย
เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และคาดว่ายอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยโดยรวม จะรักษาระดับการเติบโตได้ต่อไปในปี
2549 โดยดูได้จากยอดการส่งออกเครื่องประดับเงินในระยะ 10 ปี จากปี 2539 - 2548 ดังนี้
ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับเงินไทยไปยังตลาดโลก
ระหว่างปี 2539 — 2548
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายการสินค้า | มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
| 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครื่องประดับเงิน | 5,316 6,906.20 7,935.20 7,909.80 8,258.10 10,944.10 10,581.20 11,449.90 12,810.70 16,917.30
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากข้อมูลสถิติการส่งออกในปี 2548 ยอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.6 และเนื่องจากราคาทองมี
แนวโน้มจะสูงขึ้นอีก จึงคาดว่ายอดการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยโดยรวมจะรักษาระดับการเติบโตในปี 2549 ทั้งนี้มีสาเหตุจากปัจจัยสนับสนุน
หลายประการ ได้แก่
1. ราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ได้สร้างโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงิน กล่าวคือ ความต้องการเครื่องประดับเงินมั่นคงขึ้นใน
ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 หลังจากได้รับแรงกระตุ้นจากราคาทองที่สูงขึ้น ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกจึงสั่งซื้อเครื่องประดับทองเข้าร้านเป็นจำนวนลดลง
และสั่งซื้อเครื่องประดับเงินเพิ่มมากขึ้น หากราคาทองคำยังคงเพิ่มสูงขึ้นในปี 2549 ก็คาดว่า ยอดจำหน่ายเครื่องประดับเงินจะสูงขึ้นกว่าเมื่อปี
2548
2. แม้ว่าราคาโลหะเงินจะเพิ่มขึ้นในปี 2548 แต่ก็ไม่เพิ่มสูงมากนัก เมื่อเทียบกับราคาทองคำ ลูกค้าหันมาสั่งซื้อเครื่องประดับเงินมาก
ขึ้นเพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยง ในขณะเดียวกัน ลูกค้าบางรายที่คาดว่าราคาเงินจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2549 ก็สั่งซื้อเครื่องประดับเงินไปเก็บไว้เพิ่มขึ้นใน
ช่วงปี 2548 เพื่อรอรับเทศกาลวันวาเลนไทน์และวันแม่ เนื่องจากคาดว่ายอดจำหน่ายในยุโรปจะเพิ่มขึ้น และกระแสความนิยมเครื่องประดับเงินมีอยู่
สูงในตลาด
3. ผู้ผลิตเครื่องประดับทองคำของไทยหลายรายได้ขยายสายการผลิตให้หลากหลายมากขึ้น โดยเริ่มหันมาผลิตเครื่องประดับเงินด้วย
หรือขยายสายการผลิตเครื่องประดับเงินที่มีอยู่เดิมให้ได้รับประโยชน์จากความต้องการเครื่องประดับเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากยอดจำหน่ายเครื่อง
ประดับทองเดิมโตช้าลง
4. ผลตอบแทนจากการเปิดตัวเครื่องประดับเงินคุณภาพสูง รูปแบบแปลกใหม่ เข้าสู่ตลาด และมีการขยายกำลังการผลิตด้วยการใช้
เครื่องทุ่นแรง และกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย รวมถึงมีผู้ผลิต ผู้ส่งออกบางราย ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ของตนเอง ทำให้มี
ยอดการผลิต และการจำหน่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงตลาดหลักในสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น
อังกฤษ และตลาดใหม่แหล่งอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัสเซีย ซึ่งกำลังซื้อสูงขึ้นเช่นกัน
5. จากการที่ตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาสนใจพลอยสีกันอีกครั้ง ผู้ผลิตจึงได้ขยายธุรกิจด้านการผลักดันเครื่องประดับเงินที่ประดับ
ด้วยพลอยเนื้อแข็ง พลอยเนื้ออ่อน ซึ่งเป็นพลอยสี ส่งผลให้เครื่องประดับเงินมีรูปแบบและประเภทให้ลูกค้าได้เลือกและสั่งซื้อได้มากขึ้น
จากเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายเครื่องประดับเงินของไทยในตลาดต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ผลิตไทย
จะกำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับคู่แข่งขันในตลาดโลก เช่น จีนและอินเดีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย แต่ก็เป็นเพียงตลาดระดับล่างเท่า
นั้น คู้แข่งจีนมีความสามารถสูงในการผลิตเครื่องประดับเงินราคาต่ำ ในระยะยาวผู้ผลิตไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ในด้านต้นทุนแรงงาน ดังนั้น
ผู้ผลิตไทยจึงควรให้ความสำคัญกับตลาดระดับบน ด้วยการยกระดับการผลิตในแง่คุณภาพ การออกแบบ และการตลาดที่เดินตามกระแสแฟชั่นอยู่ตลอด
เวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-