ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ปฏิเสธการแทรกแซงค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงค่าเงินบาทในช่วงนี้ว่า เริ่มอยู่ตัวแล้ว
โดยการที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37.62 เมื่อ 2 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ธปท.ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในส่วนของเงินทุนไหล
เข้าในปัจจุบันมีการไหลเข้าไม่มากนัก สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ธปท.ขอดูตัวเลขประมาณ 2 เดือนก่อนตัดสินใจว่าควรใช้นโยบายใดมาดูแล เพราะตัว
เลขเพียง 1 เดือนยังไม่สามารถบอกอะไรได้ นอกจากนี้ ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเริ่มติดลบน้อยลงนั้น ยัง
ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้อัตราเงินฝากที่แท้จริงยังไม่ได้เป็นบวก ล่าสุดในเดือนเม.ย.มีอัตราติดลบร้อยละ 0.06 ลดลงจาก
เดือน มี.ค.ที่ติดลบร้อยละ 0.66 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีที่แท้จริงในเดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนมี.ค.
ที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.90 (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ติดตามลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ภายหลังการปรับดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ธปท.ได้ติดตามดูแลหนี้ภาคครัวเรือนตาม
ปกติ โดยจะติดตามดูในส่วนของลูกหนี้ที่เคยกู้แบบดอกเบี้ยคงที่กับ ธพ. แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนมาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวว่า ลูกค้ากลุ่มนี้จะสามารถ
ปรับตัวรับภาระหนี้ที่ต้องผ่อนส่งต่องวดเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาที่ต้องส่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่น่ากังวล เพราะแม้อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ได้สูงถึงร้อยละ 20 เช่นในอดีต
ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับนี้ ธปท.มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะยังรับได้ไม่สร้างปัญหาหนี้เสียให้ระบบเพิ่มเติม (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, ไทยรัฐ,
ข่าวสด, มติชน)
3. จำนวนผู้ว่างงานในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น 8 หมื่นคน สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยภาวะการทำงานของประชากรไทยว่า ใน
เดือน มี.ค.49 มีผู้ว่างงาน 6.4 แสนคน สูงกว่าเดือน ก.พ.49 ถึง 8 หมื่นคน โดยว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 1.6 แสนคน สาขาการผลิต
1.1 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 6 หมื่นคน สาขาขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน 6 หมื่นคน การโรงแรม
และภัตตาคาร 2 หมื่นคน และอื่น ๆ 6 หมื่นคน ขณะที่มีผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.7 แสนคน ทั้งนี้ การว่างงานในเดือน มี.ค.
6.4 แสนคน พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราสูงสุดร้อยละ 2.9 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน รองลงมา กรุงเทพฯ ร้อยละ 1.5 ภาคใต้
ร้อยละ 1.3 และภาคเหนือร้อยละ 1.2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ว่างงานเพิ่มจากเดือน ก.พ. คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิต อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 พบว่า การว่างงานในปีนี้ลดลง 9 หมื่นคน โดยภาคเหนือลดลงมากสุด 5 หมื่นคน รอง
ลงมาภาคใต้ 3 หมื่น กรุงเทพฯ 2 หมื่นคน ภาคกลาง 2 หมื่นคน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับมีการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 3 หมื่นคน สำหรับผู้มี
งานทำในเดือน มี.ค.จำนวน 34.65 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อน 1.8 แสนคน (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. 4 บริษัทน้ำมันปรับเพิ่มราคาน้ำมัน 50 สตางค์ต่อลิตรวันนี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ค.49 ผู้ค้าน้ำมัน 4 ราย ประกอบด้วย บางจาก
เอสโซ่ คาลเท็กซ์ และปิโตรนาส ได้แจ้งปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิดอีก 50 สตางค์ต่อลิตรต่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) โดยมีผล
ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.49 เป็นต้นไป ซึ่งการปรับขึ้นดังกล่าวทำให้ราคาน้ำมันในประเทศในวันนี้ทำลายสถิติสูงสุดทุกผลิตภัณฑ์ โดยราคาน้ำมันในเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ เบนซิน 95 29.24 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 28.44 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอลล์ 27.74 บาทต่อลิตร และ
ดีเซล 26.59 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท.ระบุยังไม่ขึ้นราคาน้ำมันในวันนี้ แม้ค่าการตลาดล่าสุดยังติด
ลบประมาณ 1.40-1.70 บาทต่อลิตรก็ตาม โดยจะตัดสินใจในวันที่ 4 พ.ค.นี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันแล้วจะมีผลในวันต่อไปหรือไม่ ซึ่งหาก
ปตท.จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาก็จะปรับขึ้นในอัตราไม่เกิน 40 สตางค์ต่อลิตร (โลกวันนี้, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
5. ก.คลังยืนยันยังคงใช้นโยบายการจัดทำงบประมาณปี 50 แบบสมดุล รมช.ก.คลัง เปิดเผยถึงกรณีงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล
ปี 50 ว่า รัฐบาลมีนโยบายการจัดทำงบประมาณปี 50 แบบสมดุล ในวงเงินงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.476 ล้านล้านบาท เพราะการจัดเก็บรายได้
ของ 3 กรมเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตัวเลขการส่งออกและเศรษฐกิจยังไปได้ดี ดังนั้น เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะยังคงใช้นโยบายการจัดทำงบ
ประมาณแบบสมดุลเช่นเดิม ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดทำงบประมาณขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่เข้า
มากระทบ อาทิ ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจโลก และความร่วมมือในภูมิภาค (โลกวันนี้)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 พ.ค.49
The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการของ สรอ. ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ
63.0 จากระดับ 60.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ลดลงที่ระดับ 59.2 โดยมีสาเหตุจากการจ้างงานและการสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 เป็นระดับที่บ่งชี้การ
ขยายตัวของภาคบริการ สรอ.ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจ สำหรับดัชนีซึ่งเป็นประกอบ ได้แก่ Prices-paid index,
Jobs component และ New orders ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 70.5, 56.5 และ 64.6 จากระดับ 60.5, 54.6 และ 59.5 ในเดือนก่อนหน้า
ตามลำดับ โดย Prices-paid index เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 เป็นสัญญาณที่สร้างความกังวลมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบัน
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
3 พ.ค.49 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในเดือน มี.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อเดือน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่ม
ขึ้นของคำสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร โดยคำสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 71.3 โดยหากไม่รวมคำสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่งแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อเดือน ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุน
ที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ต่อเดือน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ต่อเดือน โดยคำสั่งซื้อ
สินค้าทุนที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและไม่รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายของภาคธุรกิจใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.9 ต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการว่างงานของเขตยูโรเดือน มี.ค.49 ปรับตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงบรัสเซลส์
ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 3 พ.ค.49 สนง.สถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเขตยูโรกำลังปรับตัวดีขึ้น พร้อม ๆ กับที่ต้องเผชิญ
ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และคาดการณ์ว่าเทียบต่อปีจะ
อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.1 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต
อันใกล้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบอยู่บ้างจากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น และการให้สินเชื่อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและใกล้เคียงกับร้อยละ 2 ต้องมีการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
0.25 เมื่อเดือน ธ.ค.48 และ มี.ค.49 จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอีกครั้งในเดือน มิ.ย.49
และจะขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 3.25 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ในเดือน เม.ย. ภาคก่อสร้างของอังกฤษชะลอตัว รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 49 ผลการสำรวจผู้จัดการจัดซื้อของ
The Chartered Institute for Purchasing and Supply ชี้ว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีการก่อสร้างของอังกฤษอยู่ที่ 53.7 (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) ชะลอลงจากระดับ 54.7 ในเดือน มี.ค. เนื่องจากการก่อสร้างบ้านชะลอลงอย่างมากหลังจากที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบมาก
กว่า 2 ปี อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ส่งผลน้อย
มากต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงินในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผลการสำรวจชี้ว่าตลาดสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจจะไม่แข็งแกร่งตาม
ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น โดยหัวหน้าเศรษฐกรจาก Deutsche Bank ในลอนดอนกล่าวว่าดูเหมือนว่าการชะลอตัวในภาคการก่อสร้างจะเพิ่มมาก
ขึ้น และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มชะลอลงตั้งแต่เดือนที่แล้วโดยดัชนี Housing Component ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5
จากระดับ 59.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ค. 49 3 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.56 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3545/37.6464 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.835 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 774.44/ 15.03 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,850/11,950 11,750/11,850 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.86 67.62 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 เม.ย. 49 28.34*/25.69** 28.34*/25.69** 19.69/14.59 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 1 บาท เมื่อ 28 เม.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ปฏิเสธการแทรกแซงค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงค่าเงินบาทในช่วงนี้ว่า เริ่มอยู่ตัวแล้ว
โดยการที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37.62 เมื่อ 2 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ธปท.ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในส่วนของเงินทุนไหล
เข้าในปัจจุบันมีการไหลเข้าไม่มากนัก สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ธปท.ขอดูตัวเลขประมาณ 2 เดือนก่อนตัดสินใจว่าควรใช้นโยบายใดมาดูแล เพราะตัว
เลขเพียง 1 เดือนยังไม่สามารถบอกอะไรได้ นอกจากนี้ ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเริ่มติดลบน้อยลงนั้น ยัง
ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้อัตราเงินฝากที่แท้จริงยังไม่ได้เป็นบวก ล่าสุดในเดือนเม.ย.มีอัตราติดลบร้อยละ 0.06 ลดลงจาก
เดือน มี.ค.ที่ติดลบร้อยละ 0.66 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีที่แท้จริงในเดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนมี.ค.
ที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.90 (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ติดตามลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ภายหลังการปรับดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ธปท.ได้ติดตามดูแลหนี้ภาคครัวเรือนตาม
ปกติ โดยจะติดตามดูในส่วนของลูกหนี้ที่เคยกู้แบบดอกเบี้ยคงที่กับ ธพ. แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนมาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวว่า ลูกค้ากลุ่มนี้จะสามารถ
ปรับตัวรับภาระหนี้ที่ต้องผ่อนส่งต่องวดเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาที่ต้องส่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่น่ากังวล เพราะแม้อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ได้สูงถึงร้อยละ 20 เช่นในอดีต
ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับนี้ ธปท.มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะยังรับได้ไม่สร้างปัญหาหนี้เสียให้ระบบเพิ่มเติม (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, ไทยรัฐ,
ข่าวสด, มติชน)
3. จำนวนผู้ว่างงานในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น 8 หมื่นคน สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยภาวะการทำงานของประชากรไทยว่า ใน
เดือน มี.ค.49 มีผู้ว่างงาน 6.4 แสนคน สูงกว่าเดือน ก.พ.49 ถึง 8 หมื่นคน โดยว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 1.6 แสนคน สาขาการผลิต
1.1 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 6 หมื่นคน สาขาขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน 6 หมื่นคน การโรงแรม
และภัตตาคาร 2 หมื่นคน และอื่น ๆ 6 หมื่นคน ขณะที่มีผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.7 แสนคน ทั้งนี้ การว่างงานในเดือน มี.ค.
6.4 แสนคน พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราสูงสุดร้อยละ 2.9 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน รองลงมา กรุงเทพฯ ร้อยละ 1.5 ภาคใต้
ร้อยละ 1.3 และภาคเหนือร้อยละ 1.2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ว่างงานเพิ่มจากเดือน ก.พ. คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิต อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 พบว่า การว่างงานในปีนี้ลดลง 9 หมื่นคน โดยภาคเหนือลดลงมากสุด 5 หมื่นคน รอง
ลงมาภาคใต้ 3 หมื่น กรุงเทพฯ 2 หมื่นคน ภาคกลาง 2 หมื่นคน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับมีการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 3 หมื่นคน สำหรับผู้มี
งานทำในเดือน มี.ค.จำนวน 34.65 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อน 1.8 แสนคน (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. 4 บริษัทน้ำมันปรับเพิ่มราคาน้ำมัน 50 สตางค์ต่อลิตรวันนี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ค.49 ผู้ค้าน้ำมัน 4 ราย ประกอบด้วย บางจาก
เอสโซ่ คาลเท็กซ์ และปิโตรนาส ได้แจ้งปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิดอีก 50 สตางค์ต่อลิตรต่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) โดยมีผล
ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.49 เป็นต้นไป ซึ่งการปรับขึ้นดังกล่าวทำให้ราคาน้ำมันในประเทศในวันนี้ทำลายสถิติสูงสุดทุกผลิตภัณฑ์ โดยราคาน้ำมันในเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ เบนซิน 95 29.24 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 28.44 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอลล์ 27.74 บาทต่อลิตร และ
ดีเซล 26.59 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท.ระบุยังไม่ขึ้นราคาน้ำมันในวันนี้ แม้ค่าการตลาดล่าสุดยังติด
ลบประมาณ 1.40-1.70 บาทต่อลิตรก็ตาม โดยจะตัดสินใจในวันที่ 4 พ.ค.นี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันแล้วจะมีผลในวันต่อไปหรือไม่ ซึ่งหาก
ปตท.จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาก็จะปรับขึ้นในอัตราไม่เกิน 40 สตางค์ต่อลิตร (โลกวันนี้, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
5. ก.คลังยืนยันยังคงใช้นโยบายการจัดทำงบประมาณปี 50 แบบสมดุล รมช.ก.คลัง เปิดเผยถึงกรณีงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล
ปี 50 ว่า รัฐบาลมีนโยบายการจัดทำงบประมาณปี 50 แบบสมดุล ในวงเงินงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.476 ล้านล้านบาท เพราะการจัดเก็บรายได้
ของ 3 กรมเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตัวเลขการส่งออกและเศรษฐกิจยังไปได้ดี ดังนั้น เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะยังคงใช้นโยบายการจัดทำงบ
ประมาณแบบสมดุลเช่นเดิม ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดทำงบประมาณขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่เข้า
มากระทบ อาทิ ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจโลก และความร่วมมือในภูมิภาค (โลกวันนี้)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 พ.ค.49
The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการของ สรอ. ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ
63.0 จากระดับ 60.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ลดลงที่ระดับ 59.2 โดยมีสาเหตุจากการจ้างงานและการสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 เป็นระดับที่บ่งชี้การ
ขยายตัวของภาคบริการ สรอ.ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจ สำหรับดัชนีซึ่งเป็นประกอบ ได้แก่ Prices-paid index,
Jobs component และ New orders ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 70.5, 56.5 และ 64.6 จากระดับ 60.5, 54.6 และ 59.5 ในเดือนก่อนหน้า
ตามลำดับ โดย Prices-paid index เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 เป็นสัญญาณที่สร้างความกังวลมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบัน
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
3 พ.ค.49 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในเดือน มี.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อเดือน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่ม
ขึ้นของคำสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร โดยคำสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 71.3 โดยหากไม่รวมคำสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่งแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อเดือน ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุน
ที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ต่อเดือน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ต่อเดือน โดยคำสั่งซื้อ
สินค้าทุนที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและไม่รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายของภาคธุรกิจใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.9 ต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการว่างงานของเขตยูโรเดือน มี.ค.49 ปรับตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงบรัสเซลส์
ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 3 พ.ค.49 สนง.สถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเขตยูโรกำลังปรับตัวดีขึ้น พร้อม ๆ กับที่ต้องเผชิญ
ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และคาดการณ์ว่าเทียบต่อปีจะ
อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.1 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต
อันใกล้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบอยู่บ้างจากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น และการให้สินเชื่อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและใกล้เคียงกับร้อยละ 2 ต้องมีการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
0.25 เมื่อเดือน ธ.ค.48 และ มี.ค.49 จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอีกครั้งในเดือน มิ.ย.49
และจะขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 3.25 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ในเดือน เม.ย. ภาคก่อสร้างของอังกฤษชะลอตัว รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 49 ผลการสำรวจผู้จัดการจัดซื้อของ
The Chartered Institute for Purchasing and Supply ชี้ว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีการก่อสร้างของอังกฤษอยู่ที่ 53.7 (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) ชะลอลงจากระดับ 54.7 ในเดือน มี.ค. เนื่องจากการก่อสร้างบ้านชะลอลงอย่างมากหลังจากที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบมาก
กว่า 2 ปี อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ส่งผลน้อย
มากต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงินในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผลการสำรวจชี้ว่าตลาดสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจจะไม่แข็งแกร่งตาม
ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น โดยหัวหน้าเศรษฐกรจาก Deutsche Bank ในลอนดอนกล่าวว่าดูเหมือนว่าการชะลอตัวในภาคการก่อสร้างจะเพิ่มมาก
ขึ้น และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มชะลอลงตั้งแต่เดือนที่แล้วโดยดัชนี Housing Component ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5
จากระดับ 59.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ค. 49 3 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.56 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3545/37.6464 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.835 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 774.44/ 15.03 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,850/11,950 11,750/11,850 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.86 67.62 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 เม.ย. 49 28.34*/25.69** 28.34*/25.69** 19.69/14.59 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 1 บาท เมื่อ 28 เม.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--