1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
จากการที่เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน - จีนมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 2 ปี โดยเวลานี้ภาษีสินค้าหลายรายการลดลงเป็น 0 % และอีกหลายรายการเริ่มทยอยลดภาษี ในการลดภาษีลงดังกล่าวส่งผลให้สินค้าไทยกับสินค้าจากเพื่อนบ้านหลายรายการที่เป็นคู่แข่งขันกันเองในตลาดจีน เช่น ยางพาราที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย เปิดเผยว่าขณะนี้สินค้ายางพาราไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นตามลำดับกับสินค้ายางพาราจากมาเลเซีย และอินโดนีเซียที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดจีน แต่ในภาพรวม ณ เวลานี้ ไทยยังสามารถส่งออกยางพาราไปจีนได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2548 ไทยมีการส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบไปจีนประมาณ 600,000 ตัน คาดว่าปีนี้จะส่งออกในระดับคงที่ เนื่องจากคาดว่าผลผลิตยางพาราของไทยในปีนี้จะเพิ่มจากปีที่ผ่านมาไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่หลัก เวลานี้ยังมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ทำให้กรีดยางได้น้อย ขณะที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายพื้นที่มีปัญหาความปลอดภัยทำให้ไม่สามารถออกไปกรีดยางได้
แม้ไทยสามารถครองตลาดยางพาราอันดับหนึ่งในจีนเวลานี้ แต่ไทยเริ่มเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับอินโดนีเซียที่มีต้นทุนในการรับซื้อยางจากเกษตรกรต่ำกว่าไทย ทำให้อินโดนีเซียขายยางให้จีนต่ำกว่าไทยถึง 4,000 บาท ส่งผลให้ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซียไปจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 100 % ขณะที่เวลานี้สินค้ายางพาราภายใต้เอฟทีเอจีนยังเก็บภาษีนำเข้าที่
ร้อยละ 20 เพราะถือเป็นสินค้าอ่อนไหวค่อยๆทยอยลดภาษี หากในอนาคตภาษีลดต่ำลง อินโดนีเซียถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากในตลาดจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ลดลงจาก 72.98 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.78 บาท หรือร้อยละ 5.18
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.69 บาท ลดลงจาก 72.11 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.42 บาท หรือร้อยละ 4.74
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.19 บาท ลดลงจาก 71.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.62 บาท หรือร้อยละ 5.04
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.19 บาท ลดลงจาก 70.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.66 บาท หรือร้อยละ 5.17
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.38 บาท ลดลงจาก 70.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.02 หรือร้อยละ 5.71
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.86 บาท ลดลงจาก 72.36 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.50 บาท หรือร้อยละ 6.22
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.14 บาท ลดลงจาก 39.22 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.08 บาท หรือร้อยละ 2.75
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.82 บาท ลดลงจาก 35.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.86 บาท หรือร้อยละ 2.41
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.95 บาท สูงขึ้นจาก 66.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.52 บาท หรือร้อยละ 2.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.80 บาท ลดลงจาก 86.48 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.68 บาท หรือร้อยละ 5.42
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.65 บาท ลดลงจาก 85.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.68 บาท หรือร้อยละ 5.48
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.07 บาท สูงขึ้นจาก 60.90 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือร้อยละ 1.92
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.55 บาท ลดลงจาก 86.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.82 บาท หรือร้อยละ 5.58
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.40 บาท ลดลงจาก 85.51 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.11 บาท หรือร้อยละ 5.98
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.82 บาท สูงขึ้นจาก 60.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือร้อยละ 1.92
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
- ไม่มีรายงาน
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน มีนาคม 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 329.38 เซนต์สิงคโปร์ (78.80 บาท) ลดลงจาก 347.44 เซนต์สิงคโปร์ (83.60 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 18.06 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 5.20
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 199.13 เซนต์สหรัฐ ( 77.95 บาท) ลดลงจาก 210.75 เซนต์สหรัฐ (83.03 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 11.62 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.51
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 179.88 เพนนี ( 70.42 บาท ) ลดลงจาก 187.31 เพนนี (73.79 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.43 เพนนี หรือร้อยละ 3.97
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.73 เยน (79.46 บาท) ลดลงจาก 259.00 เยน (85.75 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 19.27 เยน หรือร้อยละ 7.44
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-
จากการที่เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน - จีนมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 2 ปี โดยเวลานี้ภาษีสินค้าหลายรายการลดลงเป็น 0 % และอีกหลายรายการเริ่มทยอยลดภาษี ในการลดภาษีลงดังกล่าวส่งผลให้สินค้าไทยกับสินค้าจากเพื่อนบ้านหลายรายการที่เป็นคู่แข่งขันกันเองในตลาดจีน เช่น ยางพาราที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย เปิดเผยว่าขณะนี้สินค้ายางพาราไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นตามลำดับกับสินค้ายางพาราจากมาเลเซีย และอินโดนีเซียที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดจีน แต่ในภาพรวม ณ เวลานี้ ไทยยังสามารถส่งออกยางพาราไปจีนได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2548 ไทยมีการส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบไปจีนประมาณ 600,000 ตัน คาดว่าปีนี้จะส่งออกในระดับคงที่ เนื่องจากคาดว่าผลผลิตยางพาราของไทยในปีนี้จะเพิ่มจากปีที่ผ่านมาไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่หลัก เวลานี้ยังมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ทำให้กรีดยางได้น้อย ขณะที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายพื้นที่มีปัญหาความปลอดภัยทำให้ไม่สามารถออกไปกรีดยางได้
แม้ไทยสามารถครองตลาดยางพาราอันดับหนึ่งในจีนเวลานี้ แต่ไทยเริ่มเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับอินโดนีเซียที่มีต้นทุนในการรับซื้อยางจากเกษตรกรต่ำกว่าไทย ทำให้อินโดนีเซียขายยางให้จีนต่ำกว่าไทยถึง 4,000 บาท ส่งผลให้ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซียไปจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 100 % ขณะที่เวลานี้สินค้ายางพาราภายใต้เอฟทีเอจีนยังเก็บภาษีนำเข้าที่
ร้อยละ 20 เพราะถือเป็นสินค้าอ่อนไหวค่อยๆทยอยลดภาษี หากในอนาคตภาษีลดต่ำลง อินโดนีเซียถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากในตลาดจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ลดลงจาก 72.98 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.78 บาท หรือร้อยละ 5.18
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.69 บาท ลดลงจาก 72.11 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.42 บาท หรือร้อยละ 4.74
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.19 บาท ลดลงจาก 71.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.62 บาท หรือร้อยละ 5.04
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.19 บาท ลดลงจาก 70.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.66 บาท หรือร้อยละ 5.17
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.38 บาท ลดลงจาก 70.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.02 หรือร้อยละ 5.71
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.86 บาท ลดลงจาก 72.36 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.50 บาท หรือร้อยละ 6.22
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.14 บาท ลดลงจาก 39.22 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.08 บาท หรือร้อยละ 2.75
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.82 บาท ลดลงจาก 35.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.86 บาท หรือร้อยละ 2.41
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.95 บาท สูงขึ้นจาก 66.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.52 บาท หรือร้อยละ 2.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.80 บาท ลดลงจาก 86.48 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.68 บาท หรือร้อยละ 5.42
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.65 บาท ลดลงจาก 85.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.68 บาท หรือร้อยละ 5.48
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.07 บาท สูงขึ้นจาก 60.90 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือร้อยละ 1.92
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.55 บาท ลดลงจาก 86.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.82 บาท หรือร้อยละ 5.58
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.40 บาท ลดลงจาก 85.51 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.11 บาท หรือร้อยละ 5.98
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.82 บาท สูงขึ้นจาก 60.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือร้อยละ 1.92
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
- ไม่มีรายงาน
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน มีนาคม 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 329.38 เซนต์สิงคโปร์ (78.80 บาท) ลดลงจาก 347.44 เซนต์สิงคโปร์ (83.60 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 18.06 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 5.20
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 199.13 เซนต์สหรัฐ ( 77.95 บาท) ลดลงจาก 210.75 เซนต์สหรัฐ (83.03 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 11.62 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.51
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 179.88 เพนนี ( 70.42 บาท ) ลดลงจาก 187.31 เพนนี (73.79 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.43 เพนนี หรือร้อยละ 3.97
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.73 เยน (79.46 บาท) ลดลงจาก 259.00 เยน (85.75 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 19.27 เยน หรือร้อยละ 7.44
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-