1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงจัดฝึกอบรมผลิตพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพรรณไม้น้ำเพื่อเป็นรายได้หลักและรายได้เสริมมานานแล้ว เนื่องจากพรรณไม้น้ำที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้นกรมประมงจึงได้เผยแพร่กรรมวิธีในการเพาะเลี้ยงพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงที่ได้ปริมาณและคุณภาพการผลิต โดยศึกษาวิจัยชนิดของพรรณไม้น้ำที่ตลาดต้องการ พรรณไม้น้ำที่นิยมเลี้ยงเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ อะนูเบียส (Anubias) อะเมซอน (Echinodorus) ชบาน้ำ (Aponogeton) สาหร่ายเดนซ่า (Egeria dansa) ใบพาย (Cryptocoryne) และบัว (Nympha) เป็นต้น
ปัจจุบันกรมประมงได้เพาะพันธุ์ไม้น้ำโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการเพาะแบบสมัยใหม่ เนื่องจากโตเร็ว ได้ปริมาณผลผลิตมากในระยะเวลาสั้น และได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ทุกประการ นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตสม่ำเสมอ ปลอดโรค สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี และยังสามารถแก้ไขปัญหาพืชพรรณไม้น้ำที่หายากอีกด้วย
ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดฝึกอบรม หลักสูตร “การผลิตพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก” ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในวันที่ 16 มีนาคม 2549 โดยผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว สามารถติดต่อขอใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2549 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากต้องการทราบรายละเอียดสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรมประมง หมายเลขโทรศัพท์ 0-2558-0180 หรือ 0-2562-0600-15 ต่อ 13700-1 ในวันและเวลาราชการ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 — 21 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,220.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 572.19 ตัน สัตว์น้ำจืด 560.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.70 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.14 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.19 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.71 ตัน
การตลาด
กรมประมงเตรียมเปลี่ยนพันธุ์กุ้งก้ามกราม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแจ้งจากกระทรวงพาณิชย์นาวีและการประมงสาธารณรัฐเกาหลี ว่าได้มีการตรวจพบสารมาลาไคต์กรีน (Malachite Green) ในสินค้ากุ้งแช่แข็งนำเข้าจากไทยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จำนวน 144 Cartons หรือประมาณ 2,880 กิโลกรัม และกระทรวงพาณิชย์ฯ เกาหลีได้สั่งให้ผู้นำเข้าทำการทำลายหรือส่งกลับประเทศสินค้าใน lot ดังกล่าวแล้ว สารมาลาไคต์กรีนเป็นสารต้องห้ามในการผสมกับอาหาร เพราะเป็น สารก่อมะเร็งซึ่งเกาหลีได้ขอให้ไทยเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้าง ในขณะที่เกาหลีเองยืนยันว่าจะตรวจเข้มสารดังกล่าว หากตรวจพบซ้ำจะประกาศห้ามนำเข้าสินค้ากุ้งจากไทย ซึ่งจะมีผลต่อการนำเข้าในตลาดอื่นๆ ของไทยด้วย
กระทรวงเกษตรฯ ได้เจรจากับกระทรวงพาณิชย์ฯ ของเกาหลี ซึ่งยอมผ่อนผันมาตรการให้เข้มงวดน้อยลง โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ส่งออกสินค้าประมงของไทยเข้าเกาหลี ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2549 เป็นต้นไป และตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2549 เป็นต้นไป บริษัทที่จะส่งออกสินค้าประมงไปเกาหลีต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเท่านั้น ต้องมีหนังสือรับรองการปลอดสารมาลาไคต์กรีน จากกรมประมงเท่านั้นและจะมีการสุ่มตรวจสินค้าบางส่วน
ปัจจุบันไทยมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าประมง เช่น กุ้ง ปลาและตะพาบน้ำ เป็นต้น ไปยังเกาหลี เพิ่มขึ้น โดยในปี 2548 ไทยส่งออกปริมาณ 42,699 ตัน มูลค่า 4,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปริมาณ 32,479 ตัน มูลค่า 3,750 ล้านบาท ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 31.46 และ 31.47 ตามลำดับ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 177.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 180.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.68 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 27 ม.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.30 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 24.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 ม.ค 2549--
-พห-
การผลิต
กรมประมงจัดฝึกอบรมผลิตพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพรรณไม้น้ำเพื่อเป็นรายได้หลักและรายได้เสริมมานานแล้ว เนื่องจากพรรณไม้น้ำที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้นกรมประมงจึงได้เผยแพร่กรรมวิธีในการเพาะเลี้ยงพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงที่ได้ปริมาณและคุณภาพการผลิต โดยศึกษาวิจัยชนิดของพรรณไม้น้ำที่ตลาดต้องการ พรรณไม้น้ำที่นิยมเลี้ยงเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ อะนูเบียส (Anubias) อะเมซอน (Echinodorus) ชบาน้ำ (Aponogeton) สาหร่ายเดนซ่า (Egeria dansa) ใบพาย (Cryptocoryne) และบัว (Nympha) เป็นต้น
ปัจจุบันกรมประมงได้เพาะพันธุ์ไม้น้ำโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการเพาะแบบสมัยใหม่ เนื่องจากโตเร็ว ได้ปริมาณผลผลิตมากในระยะเวลาสั้น และได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ทุกประการ นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตสม่ำเสมอ ปลอดโรค สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี และยังสามารถแก้ไขปัญหาพืชพรรณไม้น้ำที่หายากอีกด้วย
ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดฝึกอบรม หลักสูตร “การผลิตพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก” ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในวันที่ 16 มีนาคม 2549 โดยผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว สามารถติดต่อขอใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2549 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากต้องการทราบรายละเอียดสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรมประมง หมายเลขโทรศัพท์ 0-2558-0180 หรือ 0-2562-0600-15 ต่อ 13700-1 ในวันและเวลาราชการ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 — 21 ม.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,220.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 572.19 ตัน สัตว์น้ำจืด 560.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.70 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.14 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.19 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.71 ตัน
การตลาด
กรมประมงเตรียมเปลี่ยนพันธุ์กุ้งก้ามกราม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแจ้งจากกระทรวงพาณิชย์นาวีและการประมงสาธารณรัฐเกาหลี ว่าได้มีการตรวจพบสารมาลาไคต์กรีน (Malachite Green) ในสินค้ากุ้งแช่แข็งนำเข้าจากไทยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จำนวน 144 Cartons หรือประมาณ 2,880 กิโลกรัม และกระทรวงพาณิชย์ฯ เกาหลีได้สั่งให้ผู้นำเข้าทำการทำลายหรือส่งกลับประเทศสินค้าใน lot ดังกล่าวแล้ว สารมาลาไคต์กรีนเป็นสารต้องห้ามในการผสมกับอาหาร เพราะเป็น สารก่อมะเร็งซึ่งเกาหลีได้ขอให้ไทยเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้าง ในขณะที่เกาหลีเองยืนยันว่าจะตรวจเข้มสารดังกล่าว หากตรวจพบซ้ำจะประกาศห้ามนำเข้าสินค้ากุ้งจากไทย ซึ่งจะมีผลต่อการนำเข้าในตลาดอื่นๆ ของไทยด้วย
กระทรวงเกษตรฯ ได้เจรจากับกระทรวงพาณิชย์ฯ ของเกาหลี ซึ่งยอมผ่อนผันมาตรการให้เข้มงวดน้อยลง โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ส่งออกสินค้าประมงของไทยเข้าเกาหลี ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2549 เป็นต้นไป และตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2549 เป็นต้นไป บริษัทที่จะส่งออกสินค้าประมงไปเกาหลีต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเท่านั้น ต้องมีหนังสือรับรองการปลอดสารมาลาไคต์กรีน จากกรมประมงเท่านั้นและจะมีการสุ่มตรวจสินค้าบางส่วน
ปัจจุบันไทยมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าประมง เช่น กุ้ง ปลาและตะพาบน้ำ เป็นต้น ไปยังเกาหลี เพิ่มขึ้น โดยในปี 2548 ไทยส่งออกปริมาณ 42,699 ตัน มูลค่า 4,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปริมาณ 32,479 ตัน มูลค่า 3,750 ล้านบาท ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 31.46 และ 31.47 ตามลำดับ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 177.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 180.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.68 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 27 ม.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.30 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 24.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 ม.ค 2549--
-พห-