พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 38/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2549
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อน ส่วนลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 30-31 มี.ค. คลื่นกระแสลมตะวันตกที่ปกคลุมประเทศพม่าจะเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 4 เม.ย. ประเทศไทยจะกลับสู่ฤดูร้อนตามปกติ
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค.ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุ ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-50% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 38-39 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง อุณหภูมิสูงสุด 40-41 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุ ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-50% ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 38-39 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง อุณหภูมิสูงสุด 40-41 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองและลม กระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ค้ำยันกิ่งหรือลำต้นของไม้ผล และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ด้วย รวมทั้งคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาความชื้นในดิน
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค.อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส และมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.- 4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 %ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค.อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส และมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.- 4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 %ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรระวังความเสียหายของผลผลิตทางเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้งในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมพัดแรง
กลาง
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส และมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 30 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 38-39 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส และมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 30 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 4 เม.ย. อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 38-39 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างพอเพียง โดยเฉพาะพืชไร่และผัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ตะวันออก
นช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อนทางตอนบนของภาค อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 30-40 % ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อนทางตอนบนของภาค อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 30-40 % ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เกษตรกรควรผูกโยงและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มขณะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณที่มีฝนตกน้อยโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ชาวสวนควรให้น้ำอย่างเพียงพอแก่ไม้ผลโดยเฉพาะที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น ส่วนชาวสวนยางพาราบริเวณตอนล่างของภาคควรดูแลบริเวณสวนให้โล่งเตียน อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันโรค ที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-