ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยังไม่ทบทวนมาตรการสำรอง 30% ในขณะนี้ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะ
ที่ปรึกษา นรม. เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นรม.พร้อมคณะที่ปรึกษาฯ ว่า ได้เสนอเอกสารข้อเสนอที่ให้ ธปท.ปรับมาตรการสำรอง 30% พร้อมทั้ง
เสนอ “สูตร X” หรือการบังคับให้มีการกันสำรอง X% ของเงินทุนต่างประเทศ ต่อ นรม.แล้ว โดยสาระสำคัญของ “สูตร X” คือเสนอให้มีการกัน
สำรองร้อยละ X ทั้งเม็ดเงินที่ลงในตลาด พธบ.และตลาดหุ้น และระบุว่าควรเริ่มที่อัตราการกันสำรองต่ำก่อนคือ 2-3% พร้อมทั้งให้มีการลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กันไปด้วย ซึ่งต่างจากมาตรการของ ธปท.ที่กำหนดกันสำรอง 30% ของเม็ดเงินที่ลงในตลาด พธบ. และมีกรอบระยะเวลา
1 ปี ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท.พร้อมรับฟังข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ และพร้อมอธิบายความจำเป็นในการออกมาตรการ อย่างไร
ก็ตาม ยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีการทบทวนหรือยกเลิกมาตรการแต่อย่างใด โดยคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัวตามเป้าหมายเดิม 4.5-5% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่า
เศรษฐกิจไทยปี 49 จะขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมาย แม้การบริโภคและการลงทุนระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่การส่งออกที่
ขยายตัวในเกณฑ์ดีเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจในปีนี้ ส่วนปี 50 การขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ในเป้าหมายเดิมคือ 4.5-5%
โดยการบริโภคและการลงทุนจะเป็นปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.49 ยังขยายตัวได้ดี
โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว โดยการส่งออกมีมูลค่า 11,871.9 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 20.71%
สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 11,500.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะ
ที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 10,129.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.50% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 9.5% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่
1,742.2 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 6 ปี (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 50 ขยายตัว 2.5-3.5% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์ได้ประมาณการ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วประเทศ (เงินเฟ้อ) ของไทยในปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.5-3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำและเหมาะสมกับอัตราการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่คาดว่าจะโตประมาณ 4-5% โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวคือ เงินบาทที่
แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคานำเข้าวัตถุดิบถูกลง และส่งผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าสำเร็จรูปถูกลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงจาก
ปัจจุบันเล็กน้อย นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ ได้คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 49 จะอยู่ระหว่างอัตรา 4.6-4.8% เนื่องจากราคาน้ำมันในเดือน ธ.ค.49
ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง จากการลดลงของสินค้าผักสดและผลไม้เนื่องจากอากาศที่เย็นลงเอื้ออำนวย
ต่อการเพาะปลูก จึงทำให้เงินเฟ้อในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและส่งผลให้เงินเฟ้อทั้งปีไม่เกิน
4.8% (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธปท.กำหนดหลักเกณฑ์ให้ ธพ.มีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนภายในที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในหนังสือเวียนไปยัง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องนำส่งร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม
Basel 2 หลักการที่ 2 หัวข้อหลักเกณฑ์การกำกับดูแลโดยทางการ (Final Draft) เนื้อหาโดยสรุปคือ ธพ.จะต้องมีกระบวนการประเมิน
ความเพียงพอของเงินกองทุนภายในที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่มี เพื่อใช้วัด ติดตามและควบคุมความเสี่ยงต่างๆ จากการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนี้ ต้องมีระดับเงินกองทุนสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 8.5% เพื่อรองรับความเสี่ยง และ ธปท.มีอำนาจสั่งการให้สำรองเงินกองทุนเพิ่มเติมตามที่
เหมาะสม (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 49
the Nationwide Building Society เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการกู้ยืมได้ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านให้ชะลอลงเล็กน้อยในปีนี้
โดยดัชนีราคาบ้านในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 เมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ
10.5 และเป็นครั้งแรกที่ราคาบ้านของอังกฤษขยายตัวเป็นตัวเลข 2 หลัก ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 47
ที่ราคาบ้านสูงขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ราคาบ้านโดยเฉลี่ยในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 173,746 ปอนด์ (340,600 ดอลลาร์
สรอ.) ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. หนี้ต่างประเทศของจีน ณ สิ้นเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.52 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 48 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 28 ธ.ค.49
The State Administration of Foreign Exchange เปิดเผยว่า หนี้ต่างประเทศของจีนในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 (ณ สิ้นเดือน
ก.ย.49) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.52 อยู่ที่จำนวน 304.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื้อเทียบกับสิ้นปี 48 ขณะที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้น ณ สิ้นเดือน
ก.ย.49 เพิ่มขึ้นจำนวน 12.45 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่จำนวน 168.59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ต่างประเทศระยะปานกลางและ
ระยะยาวในรอบ 9 เดือนแรก ปี 49 เพิ่มขึ้นจำนวน 11.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.อยู่ที่จำนวน 136.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เทียบกับสิ้นปี 48
ทั้งนี้ หนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือน ก.ย.49 มีจำนวนร้อยละ 55.28 ของหนี้โดยรวม ลดลงจากร้อยละ 55.81 ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ขณะที่รอยเตอร์
คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีนจะมีหนี้ระยะสั้นในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นจำนวน 2.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 5.3 และ 4.9 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาส 2 และไตรมาส 1 ปี 49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค. จะสูงขึ้นอีก รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 49 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าในเดือน ธ.ค. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ย. แต่ยังคงต่ำกว่า ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาที่เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่ง
แสดงภาวะเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ย. เนื่องจากอาหารและน้ำมันมี
ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าเดือนที่แล้ว และคาดว่าในไตรมาสแรกปี 50 อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอีก เนื่องจากอัตราค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามเงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนก่อนหน้ามีค่าแข็งแกร่งที่สุดในรอบกว่า 9 ปีทำให้สามารถชดเชยต้นทุนการนำเข้า
ของเกาหลีใต้ได้ แต่นักลงทุนในพันธบัตรมองว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทางการเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.50 ในการ
ประชุมนโยบายการเงินวันที่ 11 ม.ค. 50 เพื่อปรับลดสภาพคล่อง และลดความร้อนแรงของการขยายตัวในตลาดบ้านในประเทศ ทั้งนี้ทางการ
เกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขภาวะเงินเฟ้อรายเดือนอย่างเป็นทางการในปีนี้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนโดยทั่วไปใช้อัตราเงินเฟ้อรายปีเป็นหลัก
ในการชี้วัดภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
4. ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 28 ธ.ค.49
ธ.กลางมาเลเซีย เปิดเผยว่า ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.1 ในเดือน
ก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณเงิน M1 และ M2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และ 15.5 ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อโดยรวมในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน ต.ค.49 ทั้งนี้ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ ณ สิ้นเดือน พ.ย.49 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ลดลงจากสิ้นเดือน
ต.ค.49 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ธ.ค. 49 28 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.226 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.0231/36.3961 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13188 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.36/11.89 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.48 56.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยังไม่ทบทวนมาตรการสำรอง 30% ในขณะนี้ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะ
ที่ปรึกษา นรม. เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นรม.พร้อมคณะที่ปรึกษาฯ ว่า ได้เสนอเอกสารข้อเสนอที่ให้ ธปท.ปรับมาตรการสำรอง 30% พร้อมทั้ง
เสนอ “สูตร X” หรือการบังคับให้มีการกันสำรอง X% ของเงินทุนต่างประเทศ ต่อ นรม.แล้ว โดยสาระสำคัญของ “สูตร X” คือเสนอให้มีการกัน
สำรองร้อยละ X ทั้งเม็ดเงินที่ลงในตลาด พธบ.และตลาดหุ้น และระบุว่าควรเริ่มที่อัตราการกันสำรองต่ำก่อนคือ 2-3% พร้อมทั้งให้มีการลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กันไปด้วย ซึ่งต่างจากมาตรการของ ธปท.ที่กำหนดกันสำรอง 30% ของเม็ดเงินที่ลงในตลาด พธบ. และมีกรอบระยะเวลา
1 ปี ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท.พร้อมรับฟังข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ และพร้อมอธิบายความจำเป็นในการออกมาตรการ อย่างไร
ก็ตาม ยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีการทบทวนหรือยกเลิกมาตรการแต่อย่างใด โดยคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัวตามเป้าหมายเดิม 4.5-5% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่า
เศรษฐกิจไทยปี 49 จะขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมาย แม้การบริโภคและการลงทุนระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่การส่งออกที่
ขยายตัวในเกณฑ์ดีเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจในปีนี้ ส่วนปี 50 การขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ในเป้าหมายเดิมคือ 4.5-5%
โดยการบริโภคและการลงทุนจะเป็นปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.49 ยังขยายตัวได้ดี
โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว โดยการส่งออกมีมูลค่า 11,871.9 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 20.71%
สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 11,500.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะ
ที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 10,129.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.50% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 9.5% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่
1,742.2 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 6 ปี (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 50 ขยายตัว 2.5-3.5% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์ได้ประมาณการ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วประเทศ (เงินเฟ้อ) ของไทยในปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.5-3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำและเหมาะสมกับอัตราการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่คาดว่าจะโตประมาณ 4-5% โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวคือ เงินบาทที่
แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคานำเข้าวัตถุดิบถูกลง และส่งผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าสำเร็จรูปถูกลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงจาก
ปัจจุบันเล็กน้อย นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ ได้คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 49 จะอยู่ระหว่างอัตรา 4.6-4.8% เนื่องจากราคาน้ำมันในเดือน ธ.ค.49
ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง จากการลดลงของสินค้าผักสดและผลไม้เนื่องจากอากาศที่เย็นลงเอื้ออำนวย
ต่อการเพาะปลูก จึงทำให้เงินเฟ้อในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและส่งผลให้เงินเฟ้อทั้งปีไม่เกิน
4.8% (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธปท.กำหนดหลักเกณฑ์ให้ ธพ.มีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนภายในที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในหนังสือเวียนไปยัง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องนำส่งร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม
Basel 2 หลักการที่ 2 หัวข้อหลักเกณฑ์การกำกับดูแลโดยทางการ (Final Draft) เนื้อหาโดยสรุปคือ ธพ.จะต้องมีกระบวนการประเมิน
ความเพียงพอของเงินกองทุนภายในที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่มี เพื่อใช้วัด ติดตามและควบคุมความเสี่ยงต่างๆ จากการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนี้ ต้องมีระดับเงินกองทุนสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 8.5% เพื่อรองรับความเสี่ยง และ ธปท.มีอำนาจสั่งการให้สำรองเงินกองทุนเพิ่มเติมตามที่
เหมาะสม (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 49
the Nationwide Building Society เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการกู้ยืมได้ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านให้ชะลอลงเล็กน้อยในปีนี้
โดยดัชนีราคาบ้านในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 เมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ
10.5 และเป็นครั้งแรกที่ราคาบ้านของอังกฤษขยายตัวเป็นตัวเลข 2 หลัก ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 47
ที่ราคาบ้านสูงขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ราคาบ้านโดยเฉลี่ยในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 173,746 ปอนด์ (340,600 ดอลลาร์
สรอ.) ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. หนี้ต่างประเทศของจีน ณ สิ้นเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.52 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 48 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 28 ธ.ค.49
The State Administration of Foreign Exchange เปิดเผยว่า หนี้ต่างประเทศของจีนในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 (ณ สิ้นเดือน
ก.ย.49) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.52 อยู่ที่จำนวน 304.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื้อเทียบกับสิ้นปี 48 ขณะที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้น ณ สิ้นเดือน
ก.ย.49 เพิ่มขึ้นจำนวน 12.45 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่จำนวน 168.59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ต่างประเทศระยะปานกลางและ
ระยะยาวในรอบ 9 เดือนแรก ปี 49 เพิ่มขึ้นจำนวน 11.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.อยู่ที่จำนวน 136.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เทียบกับสิ้นปี 48
ทั้งนี้ หนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือน ก.ย.49 มีจำนวนร้อยละ 55.28 ของหนี้โดยรวม ลดลงจากร้อยละ 55.81 ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ขณะที่รอยเตอร์
คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีนจะมีหนี้ระยะสั้นในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นจำนวน 2.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 5.3 และ 4.9 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาส 2 และไตรมาส 1 ปี 49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค. จะสูงขึ้นอีก รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 49 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าในเดือน ธ.ค. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ย. แต่ยังคงต่ำกว่า ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาที่เงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่ง
แสดงภาวะเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ย. เนื่องจากอาหารและน้ำมันมี
ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าเดือนที่แล้ว และคาดว่าในไตรมาสแรกปี 50 อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอีก เนื่องจากอัตราค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามเงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนก่อนหน้ามีค่าแข็งแกร่งที่สุดในรอบกว่า 9 ปีทำให้สามารถชดเชยต้นทุนการนำเข้า
ของเกาหลีใต้ได้ แต่นักลงทุนในพันธบัตรมองว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทางการเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.50 ในการ
ประชุมนโยบายการเงินวันที่ 11 ม.ค. 50 เพื่อปรับลดสภาพคล่อง และลดความร้อนแรงของการขยายตัวในตลาดบ้านในประเทศ ทั้งนี้ทางการ
เกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขภาวะเงินเฟ้อรายเดือนอย่างเป็นทางการในปีนี้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนโดยทั่วไปใช้อัตราเงินเฟ้อรายปีเป็นหลัก
ในการชี้วัดภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
4. ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 28 ธ.ค.49
ธ.กลางมาเลเซีย เปิดเผยว่า ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.1 ในเดือน
ก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณเงิน M1 และ M2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และ 15.5 ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อโดยรวมในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน ต.ค.49 ทั้งนี้ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ ณ สิ้นเดือน พ.ย.49 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ลดลงจากสิ้นเดือน
ต.ค.49 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ธ.ค. 49 28 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.226 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.0231/36.3961 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13188 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.36/11.89 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.48 56.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--