กรุงเทพ--30 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (29 พฤษภาคม 2549) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนมาเลเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า ในช่วงแรกของการประชุมคณะกรรมการประสานงานระดับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Ministerial Meeting of the Coordinating Bureau of the Non-Aligned Movement - NAMCoB) ณ ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศปุตราจายา ประเทศมาเลเซีย สรุปสาระได้ดังต่อไปนี้
1. ประเทศไทยยินดีที่นายอิบราฮิม กัมบารี รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง มีโอกาสได้พบกับนางออง ซาน ซูจี ระหว่างการเยือนพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยได้เคยตั้งความหวังว่านางออง ซาน ซู จี จะได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม อย่างไรก็ดี มีข้อมูลว่าได้มีการขยายระยะเวลาการกักตัวนางออง ซาน ซู จี ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งทำให้ประเทศไทยผิดหวังที่ไม่ได้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี
2. ประเทศไทยขอเรียกร้องให้พม่าดำเนินการเพื่อให้มีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรมในกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า การปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี มีความสำคัญอย่างยิ่ง และ ประเทศไทยหวังจะได้เห็นกระบวนการที่เป็นรูปธรรมที่มุ่งไปสู่ประชาธิปไตยในพม่าด้วย
3. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าจะไม่ต้องการมองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่ก็รู้สึกผิดหวัง และหวังว่าจะไม่ต้องรอนานกว่าที่จะได้เห็นความคืบหน้าอย่างแท้จริงในกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า ประเทศไทยปรารถนาจะได้เห็นนางออง ซาน ซู จี ได้รับการปล่อยเป็นอิสระโดยเร็วที่สุด
4. ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่าในบ่ายวันเดียวกันนี้ ช่วงระหว่างการประชุม NAMCoB คณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนประเทศอาเซียนอื่นๆ จะได้รับฟังรายงานเกี่ยวกับการเยือนพม่าของผุ้แทนพิเศษของสหประชาชาติ
5. ประเทศไทยจะยังคงใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ กับพม่าต่อไป ซึ่งรู้สึกว่ามีส่วนช่วยในการ “ส่งสัญญาณ” จากในพม่า และจากประชาคมระหว่างประเทศด้วย ประเทศไทยประสงค์จะเปิดช่องทางเหล่านี้ไว้ และรู้สึกยินดีที่พม่ายังมีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน และกับประเทศไทย และยังปรึกษาหารือกันในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมด้วย จนถึงบัดนี้ ประเทศไทยและประชาคมระหว่างประเทศได้รับ “สัญญาณ” ที่สับสนจากพม่า ซึ่งแม้ว่าบางครั้งจะน่าผิดหวังบ้างแต่ก็มิได้เป็นสัญญาณลบไปเสียทั้งหมด ประเทศไทยจึงหวังว่ากระบวนการจะสามารถดำเนินไปสู่ผลที่ดีกว่านี้ได้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (29 พฤษภาคม 2549) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนมาเลเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า ในช่วงแรกของการประชุมคณะกรรมการประสานงานระดับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Ministerial Meeting of the Coordinating Bureau of the Non-Aligned Movement - NAMCoB) ณ ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศปุตราจายา ประเทศมาเลเซีย สรุปสาระได้ดังต่อไปนี้
1. ประเทศไทยยินดีที่นายอิบราฮิม กัมบารี รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง มีโอกาสได้พบกับนางออง ซาน ซูจี ระหว่างการเยือนพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยได้เคยตั้งความหวังว่านางออง ซาน ซู จี จะได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม อย่างไรก็ดี มีข้อมูลว่าได้มีการขยายระยะเวลาการกักตัวนางออง ซาน ซู จี ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งทำให้ประเทศไทยผิดหวังที่ไม่ได้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี
2. ประเทศไทยขอเรียกร้องให้พม่าดำเนินการเพื่อให้มีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรมในกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า การปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี มีความสำคัญอย่างยิ่ง และ ประเทศไทยหวังจะได้เห็นกระบวนการที่เป็นรูปธรรมที่มุ่งไปสู่ประชาธิปไตยในพม่าด้วย
3. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าจะไม่ต้องการมองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่ก็รู้สึกผิดหวัง และหวังว่าจะไม่ต้องรอนานกว่าที่จะได้เห็นความคืบหน้าอย่างแท้จริงในกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า ประเทศไทยปรารถนาจะได้เห็นนางออง ซาน ซู จี ได้รับการปล่อยเป็นอิสระโดยเร็วที่สุด
4. ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่าในบ่ายวันเดียวกันนี้ ช่วงระหว่างการประชุม NAMCoB คณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนประเทศอาเซียนอื่นๆ จะได้รับฟังรายงานเกี่ยวกับการเยือนพม่าของผุ้แทนพิเศษของสหประชาชาติ
5. ประเทศไทยจะยังคงใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ กับพม่าต่อไป ซึ่งรู้สึกว่ามีส่วนช่วยในการ “ส่งสัญญาณ” จากในพม่า และจากประชาคมระหว่างประเทศด้วย ประเทศไทยประสงค์จะเปิดช่องทางเหล่านี้ไว้ และรู้สึกยินดีที่พม่ายังมีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน และกับประเทศไทย และยังปรึกษาหารือกันในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมด้วย จนถึงบัดนี้ ประเทศไทยและประชาคมระหว่างประเทศได้รับ “สัญญาณ” ที่สับสนจากพม่า ซึ่งแม้ว่าบางครั้งจะน่าผิดหวังบ้างแต่ก็มิได้เป็นสัญญาณลบไปเสียทั้งหมด ประเทศไทยจึงหวังว่ากระบวนการจะสามารถดำเนินไปสู่ผลที่ดีกว่านี้ได้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-