กรุงเทพ--21 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้เกิดการปะทะระหว่างอิสราเอลและเลบานอน ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2549 และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการอพยพคนไทยที่อาศัยในเลบานอนออกมาสู่พื้นที่ปลอดภัยในซีเรียมาตามลำดับ นั้น
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เวลา14.00 น. นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ อุปทูต ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งขณะนี้กำลังปฏิบัติหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือคนไทยอยู่ที่กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านโทรศัพท์ทางไกลมายังกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในเลบานอน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ คนไทยจำนวน 29 ราย ได้อพยพออกจากเลบานอนมายังกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรียโดยปลอดภัย และอยู่ในความดูแลของคณะเจ้าหน้าที่ไทยแล้ว ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่จะหาทางทยอยส่งกลุ่มคนไทยดังกล่าวกลับสู่ประเทศไทยต่อไป โดยอุปทูตสุวัฒน์ฯ เปิดเผยว่า คนไทยชุดแรกจำนวนทั้งสิ้น 6 คน คาดว่าจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ผ่านทางดูไบ ภายในวันที่ 21 กรกฏาคม 2549 โดยสายการบินเอมิเรตส์ คือ นายวุฒิชัย รักจ้อย นายทองล่วน ขุนศรี น.ส. ศุภชยา กองทองนอก นายสมควร สีดาโล้น นายบุญส่ง บุบผามาลา และนางจันทร์ดา ปะตังโข
2. ขณะนี้ยังคงมีคนไทยหลงเหลืออยู่ในเลบานอนจำนวนหนึ่ง ประมาณ 60 คนเศษ กลุ่มแรกเป็นคนไทยที่ได้แต่งงานกับชาวเลบานอน เท่าที่ทราบประมาณ 6-7 ครอบครัว และยังไม่ประสงค์ที่จะเดินทางออกมาจากเลบานอนเนื่องจากต้องการอยู่กับครอบครัว กลุ่มที่สองเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในเลบานอนเป็นเวลานานหลายปี เคยผ่านสถานการณ์รุนแรงในเลบานอนครั้งก่อนๆ มาแล้ว และเชื่อว่าตนยังสามารถอยู่รอดในเลบานอนได้ เท่าที่ทราบมีประมาณ 6-7 คน ทั้งสองกลุ่มได้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยในเลบานอนแล้ว และยังจะรอดูสถานการณ์ในเลบานอนต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคนงานไทยจำนวนประมาณ 20-30 คนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอพยพออกจากประเทศเลบานอนหรือไม่ เนื่องจากส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าจะไม่สามารถกลับเข้าไปทำงานได้อีก และในขณะนี้ก็อยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยพอสมควร ทั้งนี้ กลุ่มคนไทยกลุ่มต่างๆ ก็ได้มีการติดต่อประสานกันอยู่กับคณะเจ้าหน้าที่ไทยที่รอให้ความช่วยเหลือในซีเรีย
เกี่ยวกับความกังวลด้านการทำงานนั้น อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งด้วยว่า คณะเจ้าหน้าที่ไทยในซีเรียได้มีโอกาสสนทนากับนายจ้างเลบานอนของคนงานไทยบางราย ซึ่งได้สัญญาว่า เมื่อสถานการณ์สงบลงแล้วและคนงานไทยที่หนีภัยสงครามไปสามารถกลับเข้าไปในเลบานอนได้แล้ว นายจ้างก็ยินดีที่จะให้คนงานไทยไปทำงานต่อไปได้
3. ต่อคำถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่รัฐบาลไทยจะส่งเครื่องบินพิเศษไปรับคนไทยที่เหลือกลับสู่ประเทศไทยนั้น อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งว่า ทราบว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในหลาย ทางที่รัฐบาลก็กำลังพิจารณาอยู่ โดยในรายละเอียดทางกรุงเทพฯ คงจะเป็นผู้ตัดสินใจต่อไป ในชั้นแรกได้รับคำสั่งให้ส่งคนไทยกลับประเทศโดยเที่ยวบินพาณิชย์ก่อน แต่ก็ต้องรับว่าสภาพความเป็นจริงที่ท่าอากาศยานกรุงดามัสกัสขณะนี้ มีความโกลาหลพอสมควร และเนื่องจากซีเรียเป็นเส้นทางอพยพหนีภัยหลักเส้นทางหนึ่งจากเลบานอน ก็ทำให้เป็นไปได้ว่าเครื่องบินพาณิชย์อาจมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้อพยพทั้งหมดได้ ซึ่งหากจำเป็นก็คงมีการพิจารณาส่งเครื่องบินพิเศษ
อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งด้วยว่า เส้นทางอพยพหลักของผู้หนีภัยสงครามอีกสองเส้นทางคือ ทางเรือจากเลบานอนข้ามไปไซปรัส และทางบกขึ้นไปทางเหนือผ่านตุรกี (ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับการประสานงานจากสถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย เสนอว่า รัฐบาลตุรกีพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราเข้าประเทศที่จุดผ่านแดน หรือ Visa on arrival สำหรับคนไทยที่ต้องการอพยพจากเลบานอนผ่านขึ้นไปทางตุรกี แต่ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฎว่ามีกลุ่มคนไทยที่ใช้เส้นทางดังกล่าว)
4. สำหรับในส่วนของการช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล ศูนย์ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลาง กระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งความคืบหน้าเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานทูตต่างๆ ในกรุงเทลอาวีฟว่า ฝ่ายอิสราเอลพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างชาติที่ประสงค์จะอพยพออกจากเลบานอนลงมายังอิสราเอล โดยขอให้แจ้งรายละเอียดต่างๆ เช่น เส้นทางและพาหนะที่จะใช้ในการอพยพ เพื่อจะได้แจ้งกองกำลังอิสราเอลในพื้นที่เลบานอนทราบและเปิดทางให้ ขณะเดียวกับ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จะเชิญเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยมาพบในวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 เพื่อขออีกทางหนึ่งให้ทางการอิสราเอลช่วยอำนวยความสะดวกในการอพยพคนงานไทยที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนอิสราเอลทางเหนือลงมาสู่พื้นที่ปลอดภัยทางตอนกลางประเทศด้วย
4.2 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟรายงานว่า จากการที่เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยได้เดินทางขึ้นไปเยี่ยมเยือนแรงงานไทยตามสถานที่ต่างๆ ในภาคเหนือของอิสราเอลใกล้บริเวณสู้รบ พบว่า
- ที่เขต โมเชว่า เมตูล่า (ติดพรมแดนอิสราเอล-เลบานอน) กองกำลัง Hizbollah ได้ยิงจรวดมาตกในฐานทัพทหารอิสราเอลในเขตดังกล่าวตลดเวลา และฝ่ายทหารอิสราเอลก็ได้ยิงโต้ตอบตลอดเวลาเช่นกัน แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ในเขตนี้มีแรงงานไทย 200 คน มีความเป็นอยู่ที่ดี ผู้จัดการอนุญาตให้แรงงานไทยหยุดพักในหลุมหลบภัย หรือย้ายงาน หรือขอกลับประเทศไทยได้ ซึ่งมีคนงานไทย 18 คนได้ขอย้ายออกจากพื้นที่ และมี 6 คนที่ขอออกจากอิสราเอลกลับประเทศไทย ในจำนวนนี้ คนงานไทย 2 รายคือ นายอธิวัฒน์ โมครัตน์ และนายรัตมะนี หิรัญอร ได้เดินทางมากับรถยนต์ของสถานทูตลงมายังกรุงเทลอาวีฟ เพื่อออกเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ส่วนอีก 4 รายกำลังอยู่ระหว่างประสานงาน และสถานเอกอัครราชทูตไทยได้เร่งติดต่อประสานงานกับบริษัทจัดหางานอิสราเอลเคลื่อนย้ายแรงงานไทยที่แสดงความประสงค์ ออกจากพื้นที่อันตรายแล้ว
- ที่เขต โมเชฟเยสด ฮามาล่า ยังไม่ถูกโจมตี มีแรงงานไทยอยู่ 150 คน ในจำนวนนี้มี 37 คนที่ขอย้ายออกจากพื้นที่เขตดังกล่าว และ 3 คน ขอกลับประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตกำลังติดต่อประสานงานให้เป็นไปตามความประสงค์
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลาง กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02 644 7245 โทรสาร 02 643 5521
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้เกิดการปะทะระหว่างอิสราเอลและเลบานอน ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2549 และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการอพยพคนไทยที่อาศัยในเลบานอนออกมาสู่พื้นที่ปลอดภัยในซีเรียมาตามลำดับ นั้น
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เวลา14.00 น. นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ อุปทูต ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งขณะนี้กำลังปฏิบัติหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือคนไทยอยู่ที่กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านโทรศัพท์ทางไกลมายังกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในเลบานอน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ คนไทยจำนวน 29 ราย ได้อพยพออกจากเลบานอนมายังกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรียโดยปลอดภัย และอยู่ในความดูแลของคณะเจ้าหน้าที่ไทยแล้ว ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่จะหาทางทยอยส่งกลุ่มคนไทยดังกล่าวกลับสู่ประเทศไทยต่อไป โดยอุปทูตสุวัฒน์ฯ เปิดเผยว่า คนไทยชุดแรกจำนวนทั้งสิ้น 6 คน คาดว่าจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ผ่านทางดูไบ ภายในวันที่ 21 กรกฏาคม 2549 โดยสายการบินเอมิเรตส์ คือ นายวุฒิชัย รักจ้อย นายทองล่วน ขุนศรี น.ส. ศุภชยา กองทองนอก นายสมควร สีดาโล้น นายบุญส่ง บุบผามาลา และนางจันทร์ดา ปะตังโข
2. ขณะนี้ยังคงมีคนไทยหลงเหลืออยู่ในเลบานอนจำนวนหนึ่ง ประมาณ 60 คนเศษ กลุ่มแรกเป็นคนไทยที่ได้แต่งงานกับชาวเลบานอน เท่าที่ทราบประมาณ 6-7 ครอบครัว และยังไม่ประสงค์ที่จะเดินทางออกมาจากเลบานอนเนื่องจากต้องการอยู่กับครอบครัว กลุ่มที่สองเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในเลบานอนเป็นเวลานานหลายปี เคยผ่านสถานการณ์รุนแรงในเลบานอนครั้งก่อนๆ มาแล้ว และเชื่อว่าตนยังสามารถอยู่รอดในเลบานอนได้ เท่าที่ทราบมีประมาณ 6-7 คน ทั้งสองกลุ่มได้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยในเลบานอนแล้ว และยังจะรอดูสถานการณ์ในเลบานอนต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคนงานไทยจำนวนประมาณ 20-30 คนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอพยพออกจากประเทศเลบานอนหรือไม่ เนื่องจากส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าจะไม่สามารถกลับเข้าไปทำงานได้อีก และในขณะนี้ก็อยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยพอสมควร ทั้งนี้ กลุ่มคนไทยกลุ่มต่างๆ ก็ได้มีการติดต่อประสานกันอยู่กับคณะเจ้าหน้าที่ไทยที่รอให้ความช่วยเหลือในซีเรีย
เกี่ยวกับความกังวลด้านการทำงานนั้น อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งด้วยว่า คณะเจ้าหน้าที่ไทยในซีเรียได้มีโอกาสสนทนากับนายจ้างเลบานอนของคนงานไทยบางราย ซึ่งได้สัญญาว่า เมื่อสถานการณ์สงบลงแล้วและคนงานไทยที่หนีภัยสงครามไปสามารถกลับเข้าไปในเลบานอนได้แล้ว นายจ้างก็ยินดีที่จะให้คนงานไทยไปทำงานต่อไปได้
3. ต่อคำถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่รัฐบาลไทยจะส่งเครื่องบินพิเศษไปรับคนไทยที่เหลือกลับสู่ประเทศไทยนั้น อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งว่า ทราบว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในหลาย ทางที่รัฐบาลก็กำลังพิจารณาอยู่ โดยในรายละเอียดทางกรุงเทพฯ คงจะเป็นผู้ตัดสินใจต่อไป ในชั้นแรกได้รับคำสั่งให้ส่งคนไทยกลับประเทศโดยเที่ยวบินพาณิชย์ก่อน แต่ก็ต้องรับว่าสภาพความเป็นจริงที่ท่าอากาศยานกรุงดามัสกัสขณะนี้ มีความโกลาหลพอสมควร และเนื่องจากซีเรียเป็นเส้นทางอพยพหนีภัยหลักเส้นทางหนึ่งจากเลบานอน ก็ทำให้เป็นไปได้ว่าเครื่องบินพาณิชย์อาจมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้อพยพทั้งหมดได้ ซึ่งหากจำเป็นก็คงมีการพิจารณาส่งเครื่องบินพิเศษ
อุปทูตสุวัฒน์ฯ แจ้งด้วยว่า เส้นทางอพยพหลักของผู้หนีภัยสงครามอีกสองเส้นทางคือ ทางเรือจากเลบานอนข้ามไปไซปรัส และทางบกขึ้นไปทางเหนือผ่านตุรกี (ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับการประสานงานจากสถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย เสนอว่า รัฐบาลตุรกีพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราเข้าประเทศที่จุดผ่านแดน หรือ Visa on arrival สำหรับคนไทยที่ต้องการอพยพจากเลบานอนผ่านขึ้นไปทางตุรกี แต่ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฎว่ามีกลุ่มคนไทยที่ใช้เส้นทางดังกล่าว)
4. สำหรับในส่วนของการช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล ศูนย์ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลาง กระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งความคืบหน้าเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานทูตต่างๆ ในกรุงเทลอาวีฟว่า ฝ่ายอิสราเอลพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างชาติที่ประสงค์จะอพยพออกจากเลบานอนลงมายังอิสราเอล โดยขอให้แจ้งรายละเอียดต่างๆ เช่น เส้นทางและพาหนะที่จะใช้ในการอพยพ เพื่อจะได้แจ้งกองกำลังอิสราเอลในพื้นที่เลบานอนทราบและเปิดทางให้ ขณะเดียวกับ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จะเชิญเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยมาพบในวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 เพื่อขออีกทางหนึ่งให้ทางการอิสราเอลช่วยอำนวยความสะดวกในการอพยพคนงานไทยที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนอิสราเอลทางเหนือลงมาสู่พื้นที่ปลอดภัยทางตอนกลางประเทศด้วย
4.2 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟรายงานว่า จากการที่เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยได้เดินทางขึ้นไปเยี่ยมเยือนแรงงานไทยตามสถานที่ต่างๆ ในภาคเหนือของอิสราเอลใกล้บริเวณสู้รบ พบว่า
- ที่เขต โมเชว่า เมตูล่า (ติดพรมแดนอิสราเอล-เลบานอน) กองกำลัง Hizbollah ได้ยิงจรวดมาตกในฐานทัพทหารอิสราเอลในเขตดังกล่าวตลดเวลา และฝ่ายทหารอิสราเอลก็ได้ยิงโต้ตอบตลอดเวลาเช่นกัน แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ในเขตนี้มีแรงงานไทย 200 คน มีความเป็นอยู่ที่ดี ผู้จัดการอนุญาตให้แรงงานไทยหยุดพักในหลุมหลบภัย หรือย้ายงาน หรือขอกลับประเทศไทยได้ ซึ่งมีคนงานไทย 18 คนได้ขอย้ายออกจากพื้นที่ และมี 6 คนที่ขอออกจากอิสราเอลกลับประเทศไทย ในจำนวนนี้ คนงานไทย 2 รายคือ นายอธิวัฒน์ โมครัตน์ และนายรัตมะนี หิรัญอร ได้เดินทางมากับรถยนต์ของสถานทูตลงมายังกรุงเทลอาวีฟ เพื่อออกเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ส่วนอีก 4 รายกำลังอยู่ระหว่างประสานงาน และสถานเอกอัครราชทูตไทยได้เร่งติดต่อประสานงานกับบริษัทจัดหางานอิสราเอลเคลื่อนย้ายแรงงานไทยที่แสดงความประสงค์ ออกจากพื้นที่อันตรายแล้ว
- ที่เขต โมเชฟเยสด ฮามาล่า ยังไม่ถูกโจมตี มีแรงงานไทยอยู่ 150 คน ในจำนวนนี้มี 37 คนที่ขอย้ายออกจากพื้นที่เขตดังกล่าว และ 3 คน ขอกลับประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตกำลังติดต่อประสานงานให้เป็นไปตามความประสงค์
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลาง กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02 644 7245 โทรสาร 02 643 5521
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-