นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมนี้ว่า จากกรณีคนร้ายทุบรถผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวและพนักงานเอเอสทีวี 2 รายในวันเดียวกันเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเป็นสัญญาณที่น่าวิตกกังวลว่า การคุกคามสื่อมวลชนด้วยการลอบประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินจะกลับมาอีกครั้ง และจะรุนแรงขึ้นในท่ามกลางสูญญากาศทางการเมืองในขณะนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจนายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมนี้ว่า จากกรณีคนร้ายทุบรถผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวและพนักงานเอเอสทีวี 2 รายในวันเดียวกันเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเป็นสัญญาณที่น่าวิตกกังวลว่า การคุกคามสื่อมวลชนด้วยการลอบประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินจะกลับมาอีกครั้ง และจะรุนแรงขึ้นในท่ามกลางสูญญากาศทางการเมืองในขณะนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญติดตามคดีดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด และหามาตรการคุ้มครอง เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้มากขึ้น
นายอภิชาต ระบุว่า ในช่วงเกือบ 6 ปี นับแต่ตั้งปี 2544 เป็นต้นมา เกิดเหตุร้ายในลักษณะคุกคาม ข่มขู่ ลอบทำร้ายนักข่าวและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เท่าที่รวบรวมได้มากกว่า 40 กรณี ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี 2549 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้สื่อข่าวตกอยู่ในความไม่ปลอดภัยบ่อยครั้งมาก อาทิ ผู้สื่อข่าวมติชนจ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกคนร้ายบุกยิงปืนใส่บ้านพักและรถยนต์, กรณีกลุ่มก่อกวนจุดประทัดยักษ์ถล่มที่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณสวนลุมพินี, กรณีม็อบจัดตั้งสนับสนุนรัฐบาลบุกปิดล้อมหนังสือพิมพ์เครือเนชั่น, กลุ่มเดียวกันยกขบวนไปที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และหนังสือพิมพ์แนวหน้า , กรณีผู้สื่อข่าวสาวสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ถูกทุบรถยนต์, ผู้สื่อข่าวสาวช่อง 11 ถูกผู้อำนวยการโรงเรียนคุกคาม ลวนลามระหว่างปฎิบัติงานข่าวที่จ.สระแก้ว ฯลฯ ก่อนจะเกิดกรณีคนร้ายทุบรถผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ เอเอสทีวี พร้อมทิ้งจดหมายข่มขู่นายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของสื่อในเครือผู้จัดการ สะท้อนให้เห็นว่ามีลักษณะของการคุกคามเพื่อหวังจะหยุดยั้งการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสิ้น
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุร้ายที่เกิดกับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งกว่า 40 กรณีนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความสนใจติดตามคดีน้อยมาก ทำให้การคลี่คลายเป็นไปอย่างล่าช้า มาถึงวันนี้จึงต้องเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดตามกำชับให้ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับคดีคุกคาม ลักลอบทำร้ายผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในทุกคดีได้เร่งรัดติดตามความคืบหน้าแล้วเปิดเผยให้สังคมได้รับทราบด้วย
“นักข่าวและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ในมือมีเพียงปากกา กระดาษ กล้อง และไมโครโฟนเท่านั้น ไม่มีอาวุธหรือเครื่องมืออะไรจะไปสู้รบปรบมือกับผู้หวังจะประทุษร้ายได้ เมื่อทำข่าว เสนอข่าวที่ไปกระทบใครเข้าก็มักจะถูกตอบโต้ด้วยวิธีการป่าเถื่อนมากขึ้นทุกที ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดูแล จะไม่แกล้งทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ปล่อยให้คนทำสื่อตกอยู่ในภาวะที่ต้องเสี่ยงกับภัยมืดและอิทธิเถื่อนทำนองอย่างนี้อีกต่อไป” นายอภิชาตกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ส.ค. 2549--จบ--
นายอภิชาต ระบุว่า ในช่วงเกือบ 6 ปี นับแต่ตั้งปี 2544 เป็นต้นมา เกิดเหตุร้ายในลักษณะคุกคาม ข่มขู่ ลอบทำร้ายนักข่าวและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เท่าที่รวบรวมได้มากกว่า 40 กรณี ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี 2549 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้สื่อข่าวตกอยู่ในความไม่ปลอดภัยบ่อยครั้งมาก อาทิ ผู้สื่อข่าวมติชนจ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกคนร้ายบุกยิงปืนใส่บ้านพักและรถยนต์, กรณีกลุ่มก่อกวนจุดประทัดยักษ์ถล่มที่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณสวนลุมพินี, กรณีม็อบจัดตั้งสนับสนุนรัฐบาลบุกปิดล้อมหนังสือพิมพ์เครือเนชั่น, กลุ่มเดียวกันยกขบวนไปที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และหนังสือพิมพ์แนวหน้า , กรณีผู้สื่อข่าวสาวสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ถูกทุบรถยนต์, ผู้สื่อข่าวสาวช่อง 11 ถูกผู้อำนวยการโรงเรียนคุกคาม ลวนลามระหว่างปฎิบัติงานข่าวที่จ.สระแก้ว ฯลฯ ก่อนจะเกิดกรณีคนร้ายทุบรถผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ เอเอสทีวี พร้อมทิ้งจดหมายข่มขู่นายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของสื่อในเครือผู้จัดการ สะท้อนให้เห็นว่ามีลักษณะของการคุกคามเพื่อหวังจะหยุดยั้งการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสิ้น
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุร้ายที่เกิดกับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งกว่า 40 กรณีนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความสนใจติดตามคดีน้อยมาก ทำให้การคลี่คลายเป็นไปอย่างล่าช้า มาถึงวันนี้จึงต้องเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดตามกำชับให้ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับคดีคุกคาม ลักลอบทำร้ายผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในทุกคดีได้เร่งรัดติดตามความคืบหน้าแล้วเปิดเผยให้สังคมได้รับทราบด้วย
“นักข่าวและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ในมือมีเพียงปากกา กระดาษ กล้อง และไมโครโฟนเท่านั้น ไม่มีอาวุธหรือเครื่องมืออะไรจะไปสู้รบปรบมือกับผู้หวังจะประทุษร้ายได้ เมื่อทำข่าว เสนอข่าวที่ไปกระทบใครเข้าก็มักจะถูกตอบโต้ด้วยวิธีการป่าเถื่อนมากขึ้นทุกที ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดูแล จะไม่แกล้งทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ปล่อยให้คนทำสื่อตกอยู่ในภาวะที่ต้องเสี่ยงกับภัยมืดและอิทธิเถื่อนทำนองอย่างนี้อีกต่อไป” นายอภิชาตกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ส.ค. 2549--จบ--