แท็ก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ประเทศสิงคโปร์
กระทรวงการคลัง
ทนง พิทยะ
ธนาคารโลก
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม ประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2549 และการประชุมอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 16-20 กันยายน 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ณ ขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ดังนี้
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เป็นประธานเปิดการประชุม โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันระบบโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ทุกประเทศหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โลกาภิวัตน์ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง ทุกประเทศจึงจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งในด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน แรงงาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างไรก็ตามโลกาภิวัตน์ก็ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ช่วยทำให้การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประชาชนก็จะได้รับความสะดวกสบาย มีทางเลือกมากขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้เน้นย้ำว่าการที่ทุกประเทศจะอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงนั้น รัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างธรรมาภิบาล เช่น การจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น และการพัฒนาการศึกษาให้แก่ประชาชน รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้กับประชาชนในประเทศด้วย เป็นต้น
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโลกได้เสนอท่าทีและจุดยืนของประเทศไทยว่าได้สนับสนุนและดำเนินมาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจน โดยมีเป้าหมายจะทำให้สำเร็จในปี 2552 ก่อนเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1 ปี (ปี 2553) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคโดยได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ขึ้นเพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อนบ้านและการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลกได้เปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้กู้ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสนับสนุนนโยบายการดำเนินงานของธนาคารโลกที่เน้นเรื่องธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยประเทศไทยได้ริเริ่มนำการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-procurement) มาใช้เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ในส่วนเรื่องการเพิ่มโควตาการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ให้อิงกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นั้น ประเทศไทยให้การสนับสนุนโดยให้มีการพิจารณาดำเนินการเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปี 2551 ต่อไป
2. การประชุมกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 39 (39th Meeting of Group of the South East Asia : SEA Group) และการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการ ครั้งที่ 74 (74th Meeting of the Development Committee) ในวันที่ 16 และ 18 กันยายน 2549 สรุปได้ ดังนี้
2.1 การประชุม SEA Group ครั้งที่ 39 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 มี Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซียเป็นประธาน มีการหารือ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของธนาคารโลกเพื่อสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น และการสร้างความเข้มแข็งของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมกับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development: IBRD)
2.2 การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการ ครั้งที่ 74 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2549 มีนาย Alberto Carrasquilla Barrera รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศโคลัมเบียเป็นประธาน สำหรับกลุ่ม SEA Group นั้น มีนาง Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่ม สาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้
การสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของธนาคารโลกเพื่อสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น (Strengthening Bank Group Work in Governance and Anticorruption) ที่ประชุมเห็นพ้องว่า การต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ซึ่งเป็นภารกิจที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการขจัดความยากจน โดยสนับสนุนให้รัฐบาลกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการบริหารจัดการบริการและทรัพยากรสาธารณะ ในการนี้ ธนาคารโลกได้เสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนธรรมาภิบาลและต่อต้านการคอร์รัปชั่นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1)ระดับประเทศ 2) ระดับโครงการ และ 3) ระดับนานาชาติ
การสร้างความเข้มแข็งของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมกับประเทศ ที่เป็นหุ้นส่วนของ IBRD (Strengthening the World Bank’s Engagement with IBRD Partner Countries) ที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมในประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Countries: MICs) เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้นับเป็นร้อยละ 80 ของประชากรโลก และเป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาความยากจนสูง ถึงแม้ว่าในระยะที่ผ่านมาประเทศใน กลุ่มดังกล่าวจะมีพัฒนาการในด้านเศรษฐกิจมากขึ้นแต่ระยะหลังประสบปัญหาด้านการพัฒนาการต่างๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs)
การปฏิรูประบบการศึกษา ที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการศึกษา ให้มีการจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อชักจูงให้ประเทศผู้บริจาคมาลงทุนและสนับสนุนการยกระดับทางการศึกษา ให้สำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ โดยมาตรการนี้มีนโยบาย 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การให้โอกาสทางการศึกษาที่สัมพันธ์กับตลาดแรงงาน 2) เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจที่สัมพันธ์กับงาน และ 3) การให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่ไม่สามารถจบการศึกษาได้ในครั้งแรก
แนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ (Clean Energy) ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งผู้ว่าการธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางในการลงทุนเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ เช่น การใช้พลังงานจากพืชทดแทน และพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ
3. การหารือทวิภาคี ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2549
3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับผู้แทนรัฐบาล 2 ประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา นาย Timothy D. Adams ปลัดกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงการสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการปฏิรูปบริษัทในตลาดทุน ให้มีความโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และขณะนี้ประเทศไทยได้ริเริ่มการประมูลอิเลคทรอนิกส์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (E-procurement)
ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา นาย L. Errol Cort รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ มีความสนใจที่จะให้มีความร่วมมือในด้านต่างๆ กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือด้านวิชาการที่จะให้การอบรมและแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่น การเงินการลงทุน เป็นต้น
3.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับสถาบันการเงินของรัฐบาล 2 แห่ง และธนาคารโลก ดังนี้
Agency Francaise de Development (AFD) นาย Jean-Michel Serverino ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AFD ได้แสดงความสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อนบ้านในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านประเทศไทย โดยประสานงานกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
Dubai International Financial Center (DIFC) นาย Omar Bin Sulaiman ผู้ว่าการ DIFC ได้ขอพบปะเพื่อแนะนำองค์กร และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ DIFC ต่อไปในอนาคต โดย DIFC เป็นหน่วยงานรัฐบาลตั้งอยู่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 เพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก ที่ให้บริการด้านการเงินครบวงจร (One Stop Service) โดยมีแหล่งเงินทุนจากรัฐบาล แต่ดำเนินงานในลักษณะเชิงพาณิชย์ มีจุดเด่น คือ เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ปลอดภาษีทั้งหมด และไม่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ธนาคารโลก นาย James W. Adams รองประธานธนาคารโลกกลุ่มเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศไทย และมีความยินดีในการจัดทำความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและธนาคารโลก เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในประเทศไทย 5 ปี (ปี 2550-2554) และหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไปในอนาคต
3.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ประกอบด้วย Merrill Lynch, Barclays Capital, Standard Charted Bank, Goldman Sachs, UBS Investment Bank, ANZ, Citigroup, CommerzBank AG, Daiwa Securities, Credit Suisse Securities, Mizuho, Nomura Securities, และ Deutsche Bank สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
สภาวะทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความมั่นใจว่า แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มจะชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยน่าจะรักษาระดับได้ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดีและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของไทยเน้นการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนมากกว่าเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยยังเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลแต่จะต้องใช้เวลาในเรื่องกระบวนการของการแปรรูปรวมถึงการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีความโปร่งใส
การพัฒนาตลาดทุนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในและต่างประเทศ ประเทศไทยได้อนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (Baht Bonds) ได้แล้ว
การเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินจะต้องไม่เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคธุรกิจทางการเงินของไทย โดยจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของการพัฒนาภาคการเงินของไทย
การหาพลังงานทดแทนน้ำมันของไทย โดยใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศ เช่น น้ำตาล มันสำปะหลัง เป็นต้น นำมาผลิตก๊าซ NGV น้ำมันปาล์มสำหรับผลิตไบโอดีเซล
ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน 2549
สถาบันการเงินหลายแห่งแสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น การลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในตราสาร Euro Commercial Paper (ECP) ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง เป็นต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2549 27 กันยายน 49--
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เป็นประธานเปิดการประชุม โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันระบบโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ทุกประเทศหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โลกาภิวัตน์ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง ทุกประเทศจึงจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งในด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน แรงงาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างไรก็ตามโลกาภิวัตน์ก็ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ช่วยทำให้การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประชาชนก็จะได้รับความสะดวกสบาย มีทางเลือกมากขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้เน้นย้ำว่าการที่ทุกประเทศจะอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงนั้น รัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างธรรมาภิบาล เช่น การจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น และการพัฒนาการศึกษาให้แก่ประชาชน รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้กับประชาชนในประเทศด้วย เป็นต้น
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโลกได้เสนอท่าทีและจุดยืนของประเทศไทยว่าได้สนับสนุนและดำเนินมาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจน โดยมีเป้าหมายจะทำให้สำเร็จในปี 2552 ก่อนเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1 ปี (ปี 2553) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคโดยได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ขึ้นเพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อนบ้านและการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลกได้เปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้กู้ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสนับสนุนนโยบายการดำเนินงานของธนาคารโลกที่เน้นเรื่องธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยประเทศไทยได้ริเริ่มนำการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-procurement) มาใช้เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ในส่วนเรื่องการเพิ่มโควตาการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ให้อิงกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นั้น ประเทศไทยให้การสนับสนุนโดยให้มีการพิจารณาดำเนินการเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปี 2551 ต่อไป
2. การประชุมกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 39 (39th Meeting of Group of the South East Asia : SEA Group) และการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการ ครั้งที่ 74 (74th Meeting of the Development Committee) ในวันที่ 16 และ 18 กันยายน 2549 สรุปได้ ดังนี้
2.1 การประชุม SEA Group ครั้งที่ 39 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 มี Tan Sri Nor Mohamed Yakcop รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซียเป็นประธาน มีการหารือ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของธนาคารโลกเพื่อสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น และการสร้างความเข้มแข็งของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมกับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development: IBRD)
2.2 การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการ ครั้งที่ 74 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2549 มีนาย Alberto Carrasquilla Barrera รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศโคลัมเบียเป็นประธาน สำหรับกลุ่ม SEA Group นั้น มีนาง Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่ม สาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้
การสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของธนาคารโลกเพื่อสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชั่น (Strengthening Bank Group Work in Governance and Anticorruption) ที่ประชุมเห็นพ้องว่า การต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ซึ่งเป็นภารกิจที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการขจัดความยากจน โดยสนับสนุนให้รัฐบาลกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการบริหารจัดการบริการและทรัพยากรสาธารณะ ในการนี้ ธนาคารโลกได้เสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนธรรมาภิบาลและต่อต้านการคอร์รัปชั่นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1)ระดับประเทศ 2) ระดับโครงการ และ 3) ระดับนานาชาติ
การสร้างความเข้มแข็งของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมกับประเทศ ที่เป็นหุ้นส่วนของ IBRD (Strengthening the World Bank’s Engagement with IBRD Partner Countries) ที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของธนาคารโลกในการมีส่วนร่วมในประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Countries: MICs) เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้นับเป็นร้อยละ 80 ของประชากรโลก และเป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาความยากจนสูง ถึงแม้ว่าในระยะที่ผ่านมาประเทศใน กลุ่มดังกล่าวจะมีพัฒนาการในด้านเศรษฐกิจมากขึ้นแต่ระยะหลังประสบปัญหาด้านการพัฒนาการต่างๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs)
การปฏิรูประบบการศึกษา ที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการศึกษา ให้มีการจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อชักจูงให้ประเทศผู้บริจาคมาลงทุนและสนับสนุนการยกระดับทางการศึกษา ให้สำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ โดยมาตรการนี้มีนโยบาย 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การให้โอกาสทางการศึกษาที่สัมพันธ์กับตลาดแรงงาน 2) เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจที่สัมพันธ์กับงาน และ 3) การให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่ไม่สามารถจบการศึกษาได้ในครั้งแรก
แนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ (Clean Energy) ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งผู้ว่าการธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางในการลงทุนเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ เช่น การใช้พลังงานจากพืชทดแทน และพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ
3. การหารือทวิภาคี ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2549
3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับผู้แทนรัฐบาล 2 ประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา นาย Timothy D. Adams ปลัดกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงการสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการปฏิรูปบริษัทในตลาดทุน ให้มีความโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และขณะนี้ประเทศไทยได้ริเริ่มการประมูลอิเลคทรอนิกส์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (E-procurement)
ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา นาย L. Errol Cort รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ มีความสนใจที่จะให้มีความร่วมมือในด้านต่างๆ กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือด้านวิชาการที่จะให้การอบรมและแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่น การเงินการลงทุน เป็นต้น
3.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับสถาบันการเงินของรัฐบาล 2 แห่ง และธนาคารโลก ดังนี้
Agency Francaise de Development (AFD) นาย Jean-Michel Serverino ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AFD ได้แสดงความสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อนบ้านในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านประเทศไทย โดยประสานงานกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
Dubai International Financial Center (DIFC) นาย Omar Bin Sulaiman ผู้ว่าการ DIFC ได้ขอพบปะเพื่อแนะนำองค์กร และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ DIFC ต่อไปในอนาคต โดย DIFC เป็นหน่วยงานรัฐบาลตั้งอยู่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 เพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก ที่ให้บริการด้านการเงินครบวงจร (One Stop Service) โดยมีแหล่งเงินทุนจากรัฐบาล แต่ดำเนินงานในลักษณะเชิงพาณิชย์ มีจุดเด่น คือ เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ปลอดภาษีทั้งหมด และไม่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ธนาคารโลก นาย James W. Adams รองประธานธนาคารโลกกลุ่มเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศไทย และมีความยินดีในการจัดทำความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและธนาคารโลก เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในประเทศไทย 5 ปี (ปี 2550-2554) และหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไปในอนาคต
3.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ประกอบด้วย Merrill Lynch, Barclays Capital, Standard Charted Bank, Goldman Sachs, UBS Investment Bank, ANZ, Citigroup, CommerzBank AG, Daiwa Securities, Credit Suisse Securities, Mizuho, Nomura Securities, และ Deutsche Bank สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
สภาวะทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความมั่นใจว่า แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มจะชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยน่าจะรักษาระดับได้ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดีและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของไทยเน้นการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนมากกว่าเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยยังเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลแต่จะต้องใช้เวลาในเรื่องกระบวนการของการแปรรูปรวมถึงการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีความโปร่งใส
การพัฒนาตลาดทุนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในและต่างประเทศ ประเทศไทยได้อนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (Baht Bonds) ได้แล้ว
การเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินจะต้องไม่เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคธุรกิจทางการเงินของไทย โดยจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของการพัฒนาภาคการเงินของไทย
การหาพลังงานทดแทนน้ำมันของไทย โดยใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศ เช่น น้ำตาล มันสำปะหลัง เป็นต้น นำมาผลิตก๊าซ NGV น้ำมันปาล์มสำหรับผลิตไบโอดีเซล
ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน 2549
สถาบันการเงินหลายแห่งแสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น การลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในตราสาร Euro Commercial Paper (ECP) ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง เป็นต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2549 27 กันยายน 49--