ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เห็นด้วยกับแนวทางการจัดทำ งปม.ปี 50 แบบขาดดุล ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจัดทำ งปม.ปี 50 แบบขาดดุลว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งรัฐจะต้องมีการใช้จ่ายมากขึ้น
ดังนั้น การมี งปม.ขาดดุลจะทำให้รัฐบาลมีเครื่องมือเพิ่มเติมในการดูแลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ฐานะหนี้สาธารณะในปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับที่เอื้อ
ต่อการที่รัฐบาลจะใช้ งปม.แบบขาดดุลได้อีกด้วย โดยสิ่งสำคัญของการใช้ งปม.ขาดดุลคือต้องไม่สร้างความเสี่ยงให้กับฐานะการคลังในระยะยาว
และการใช้จ่ายของรัฐบาลควรจะเป็นไปเพื่อการสร้างประสิทธิภาพการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การนำเงินไปลงทุนมากกว่า
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค สำหรับขนาดของการขาดดุล งปม.นั้น ควรจะพิจารณาให้อยู่ในวงเงินที่ไม่สร้างความเสี่ยงให้กับประเทศในระยะยาว
ซึ่ง ดร.อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า โดยปกติไม่ควรเกินกว่า 3% ของจีดีพี ซึ่งตามแนวคิดของรัฐบาลที่จะไม่ให้มีการ
ขาดดุลเกิน 2.5% ต่อจีดีพี ถือเป็นระดับที่เหมาะสม (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่าอาจไม่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ธปท.จะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเดือน
ส.ค. ที่ ก.พาณิชย์จะประกาศวันที่ 1 ก.ย. และตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.ค.ที่ ธปท.จะประกาศวันที่ 31 ส.ค. มาใช้ตัดสินใจเรื่องอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย โดยหากเงินเฟ้อลดลงและภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ค.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ กนง.ประเมินไว้ในการประชุมครั้งที่แล้ว ก็
หมายความว่าความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเงินเฟ้อจะมีน้อยลง ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5% ส่วนดอกเบี้ยของ
ธ.กลาง สรอ.อยู่ที่ 5.25% ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจน่าจะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อ
เริ่มลดลง ส่วนไตรมาส 4 ปีนี้ น่าจะเป็นจุดที่เศรษฐกิจแย่ที่สุด โดยไทยยังมีจุดที่เข้มแข็งคือ ภาคการส่งออก ภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว
ที่ขยายตัวดีมาก จึงเป็นแรงที่พยุงเศรษฐกิจไว้ได้ไม่ให้ปรับตัวลดลงมาก และโอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นขึ้นมาคงอยู่ประมาณต้นปีหน้า และเชื่อว่า
เงินเฟ้อในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มลดลง (ข่าวสด)
3. สศค.ประเมินว่าปี 50 เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวชะลอลง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยประมาณการ
เศรษฐกิจไทยในปี 49-52 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 49 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณการ
ส่งออกที่ขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนจะมี
แนวโน้มชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ 4.7% เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับเศรษฐกิจในปี 50 คาดว่าจะขยายตัว
3.5-4.5% ชะลอลงเล็กน้อยเพราะแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกอ่อนแรงลงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ส่วนปี
51-52 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 5-6% ตามการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและเอกชนที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามปกติ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 49 ยังคงมีความมั่นคง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เศรษฐกิจในปี 50 ที่ชะลอตามเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า รวมถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดทำ งปม.ปี 50 ล่าช้า (โลกวันนี้, มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ครัวเรือนไทย 75.7% มีภาระหนี้สิน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจ
สถานภาพหนี้ครัวเรือนทั่วประเทศจำนวน 1,187 ตัวอย่าง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ 75.7% มีหนี้สิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน
116,839.8 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 4,917 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบประมาณ 73.9% และหนี้นอกระบบ 21.6% โดยสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือน
ส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ปัญหาที่น่าวิตก เนื่องจากการผ่อนชำระหนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารายได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีปัญหาคือกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้
ต่ำกว่า 10,000 บาท เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีหนี้สินเฉลี่ย 117,407 บาท ซึ่งสูงกว่ารายได้ถึง 11.7 เท่า และครัวเรือนที่มีรายได้ตั้งแต่
10,000-20,000 บาท ซึ่งมีหนี้สินเฉลี่ย 108,632 บาท สูงกว่ารายได้ 7 เท่า โดยครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ให้เหตุผลว่า
เป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคาน้ำมันแพง สำหรับแหล่งเงินกู้สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน ญาติพี่น้อง
และบัตรเครดิต (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. จีดีพีของ สรอ. ในไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ.
เมื่อวันที่ 30 ส.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของ สรอ. ในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่
รายงานไว้ที่ร้อยละ 2.5 แต่ก็ยังน้อยกว่าผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็น
ผลจากมีการลงทุนทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นชดเชยกับการชะลอตัวลงในภาคการก่อสร้างที่พักอาศัย ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ ธ.กลาง
สรอ. ซึ่งคือตัวเลขราคาค่าใช้จ่ายของการบริโภคส่วนบุคคลลบด้วยราคาอาหารและพลังงาน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับ
ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2544 แต่ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดิมที่รายงานไว้ที่ร้อยละ 2.9 ด้านนักเศรษฐศาสตร์มองว่าโดยภาพรวมแล้วแรงกดดัน
จากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงและอาจจะทำให้ความเป็นไปได้ที่ ธ.กลาง สรอ. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งลดน้อยลง ทั้งนี้ ถ้าไม่นับรวมผล
กระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรินาในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน เศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 47 ที่
ขยายตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ขณะที่การใช้จ่ายของภาคธุรกิจใน
การก่อสร้างอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ประธาน
ธ.กลาง สรอ. มลรัฐดัลลัส กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจจะกำลังชะลอตัว แต่ตัวเลขการขยายตัวในระดับนี้ยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจเมื่อเทียบกับขนาด
เศรษฐกิจของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 30 ส.ค.49
สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษรายงานดัชนีชี้วัดยอดค้าปลีกจากผลสำรวจในระหว่างวันที่ 1-16 ส.ค.49 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +12 ในเดือน
ส.ค.49 จากระดับ +7 ในเดือน ก.ค.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 และสูงกว่าที่กลุ่มผู้ค้าปลีกเองคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +1 โดยส่วนใหญ่ที่
เพิ่มขึ้นเป็นยอดขายของร้านขายของชำและสินค้าในครัวเรือนที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษจะเพิ่งประกาศขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดหมายมาก่อนเมื่อต้นเดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาก็ตาม และสอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่แสดงยอดเงินกู้ซื้อบ้านในเดือน
ก.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปีโดยส่วนใหญ่เป็นการขอกู้เพื่อซื้อบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดบ้าน
ที่อยู่อาศัย นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนในปี 48 ขยายตัวร้อยละ 10.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 30 ส.ค.49 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า
สำนักงานสถิติทบทวนตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปี 48 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากร้อยละ 9.9 เนื่องจากการขยายตัวอย่าง
รวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งสำนักงานสถิติได้เปิดเผยผ่าน www.stats.gov.cn ว่า ภาคการเกษตรและการประมงในปี 48
ขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการขยายตัวร้อยละ 11.7 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานเบื้องต้นว่า
ทั้ง 3 ภาคมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.2 11.4 และ 9.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีของปี 48 ที่ทบทวนแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
จีนขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยเมื่อปี 47 และ 48 ขยายตัวร้อยละ 10.0 และ 10.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในปี 49
กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในไตรมาสแรกจีดีพีขยายตัวร้อยละ 10.3 ส่วนไตรมาส 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.3 อย่างไร
ก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินแนะนำว่า ควรดำเนินนโยบายการเงินและการบริหารอย่างเข้มข้น เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนลง
โดยเฉพาะภาคการลงทุนที่น่าวิตกว่าอาจเลวร้ายก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนในจีนยังขยายตัวเร็วเกินไป รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 30 ส.ค.49 นสพ.ซินหัวของทางการจีนรายงานแหล่งข่าวซึ่งเป็น
เจ้าหน้าที่ใน สนง.สถิติแห่งชาติและไม่ประสงค์ออกนามให้ความเห็นว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในจีนยังคงขยายตัวเร็วเกินไป และทางการจีน
ควรมีมาตรการออกมาควบคุมการลงทุนไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและทำให้การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มา
พึ่งพาการบริโภคในประเทศในการขยายตัวเป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้มีหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น โดย
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.5 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 ทั้งนี้การ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อมีส่วนทำให้การใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงควรสนับสนุนเฉพาะโครงการลงทุนที่มีประโยชน์ในขณะที่ควรเลิก
สนับสนุนโครงการที่มีผู้ลงทุนมากอยู่แล้วหรือที่ไม่มีจำเป็น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 49 30 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.553 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3475/37.6363 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.51/8.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,000/11,100 10,900/11,000 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.24 65.74 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.49*/27.54 28.99*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เห็นด้วยกับแนวทางการจัดทำ งปม.ปี 50 แบบขาดดุล ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจัดทำ งปม.ปี 50 แบบขาดดุลว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งรัฐจะต้องมีการใช้จ่ายมากขึ้น
ดังนั้น การมี งปม.ขาดดุลจะทำให้รัฐบาลมีเครื่องมือเพิ่มเติมในการดูแลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ฐานะหนี้สาธารณะในปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับที่เอื้อ
ต่อการที่รัฐบาลจะใช้ งปม.แบบขาดดุลได้อีกด้วย โดยสิ่งสำคัญของการใช้ งปม.ขาดดุลคือต้องไม่สร้างความเสี่ยงให้กับฐานะการคลังในระยะยาว
และการใช้จ่ายของรัฐบาลควรจะเป็นไปเพื่อการสร้างประสิทธิภาพการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การนำเงินไปลงทุนมากกว่า
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค สำหรับขนาดของการขาดดุล งปม.นั้น ควรจะพิจารณาให้อยู่ในวงเงินที่ไม่สร้างความเสี่ยงให้กับประเทศในระยะยาว
ซึ่ง ดร.อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า โดยปกติไม่ควรเกินกว่า 3% ของจีดีพี ซึ่งตามแนวคิดของรัฐบาลที่จะไม่ให้มีการ
ขาดดุลเกิน 2.5% ต่อจีดีพี ถือเป็นระดับที่เหมาะสม (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่าอาจไม่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ธปท.จะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเดือน
ส.ค. ที่ ก.พาณิชย์จะประกาศวันที่ 1 ก.ย. และตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.ค.ที่ ธปท.จะประกาศวันที่ 31 ส.ค. มาใช้ตัดสินใจเรื่องอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย โดยหากเงินเฟ้อลดลงและภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ค.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ กนง.ประเมินไว้ในการประชุมครั้งที่แล้ว ก็
หมายความว่าความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเงินเฟ้อจะมีน้อยลง ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5% ส่วนดอกเบี้ยของ
ธ.กลาง สรอ.อยู่ที่ 5.25% ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจน่าจะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อ
เริ่มลดลง ส่วนไตรมาส 4 ปีนี้ น่าจะเป็นจุดที่เศรษฐกิจแย่ที่สุด โดยไทยยังมีจุดที่เข้มแข็งคือ ภาคการส่งออก ภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว
ที่ขยายตัวดีมาก จึงเป็นแรงที่พยุงเศรษฐกิจไว้ได้ไม่ให้ปรับตัวลดลงมาก และโอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นขึ้นมาคงอยู่ประมาณต้นปีหน้า และเชื่อว่า
เงินเฟ้อในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มลดลง (ข่าวสด)
3. สศค.ประเมินว่าปี 50 เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวชะลอลง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยประมาณการ
เศรษฐกิจไทยในปี 49-52 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 49 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณการ
ส่งออกที่ขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนจะมี
แนวโน้มชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ 4.7% เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับเศรษฐกิจในปี 50 คาดว่าจะขยายตัว
3.5-4.5% ชะลอลงเล็กน้อยเพราะแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกอ่อนแรงลงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ส่วนปี
51-52 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 5-6% ตามการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและเอกชนที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามปกติ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 49 ยังคงมีความมั่นคง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เศรษฐกิจในปี 50 ที่ชะลอตามเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า รวมถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดทำ งปม.ปี 50 ล่าช้า (โลกวันนี้, มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ครัวเรือนไทย 75.7% มีภาระหนี้สิน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจ
สถานภาพหนี้ครัวเรือนทั่วประเทศจำนวน 1,187 ตัวอย่าง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ 75.7% มีหนี้สิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน
116,839.8 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 4,917 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบประมาณ 73.9% และหนี้นอกระบบ 21.6% โดยสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือน
ส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ปัญหาที่น่าวิตก เนื่องจากการผ่อนชำระหนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารายได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีปัญหาคือกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้
ต่ำกว่า 10,000 บาท เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีหนี้สินเฉลี่ย 117,407 บาท ซึ่งสูงกว่ารายได้ถึง 11.7 เท่า และครัวเรือนที่มีรายได้ตั้งแต่
10,000-20,000 บาท ซึ่งมีหนี้สินเฉลี่ย 108,632 บาท สูงกว่ารายได้ 7 เท่า โดยครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ให้เหตุผลว่า
เป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคาน้ำมันแพง สำหรับแหล่งเงินกู้สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน ญาติพี่น้อง
และบัตรเครดิต (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. จีดีพีของ สรอ. ในไตรมาส 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ.
เมื่อวันที่ 30 ส.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของ สรอ. ในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่
รายงานไว้ที่ร้อยละ 2.5 แต่ก็ยังน้อยกว่าผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็น
ผลจากมีการลงทุนทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นชดเชยกับการชะลอตัวลงในภาคการก่อสร้างที่พักอาศัย ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ ธ.กลาง
สรอ. ซึ่งคือตัวเลขราคาค่าใช้จ่ายของการบริโภคส่วนบุคคลลบด้วยราคาอาหารและพลังงาน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับ
ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2544 แต่ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดิมที่รายงานไว้ที่ร้อยละ 2.9 ด้านนักเศรษฐศาสตร์มองว่าโดยภาพรวมแล้วแรงกดดัน
จากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงและอาจจะทำให้ความเป็นไปได้ที่ ธ.กลาง สรอ. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งลดน้อยลง ทั้งนี้ ถ้าไม่นับรวมผล
กระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรินาในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน เศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 47 ที่
ขยายตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ขณะที่การใช้จ่ายของภาคธุรกิจใน
การก่อสร้างอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ประธาน
ธ.กลาง สรอ. มลรัฐดัลลัส กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจจะกำลังชะลอตัว แต่ตัวเลขการขยายตัวในระดับนี้ยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจเมื่อเทียบกับขนาด
เศรษฐกิจของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 30 ส.ค.49
สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษรายงานดัชนีชี้วัดยอดค้าปลีกจากผลสำรวจในระหว่างวันที่ 1-16 ส.ค.49 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +12 ในเดือน
ส.ค.49 จากระดับ +7 ในเดือน ก.ค.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 และสูงกว่าที่กลุ่มผู้ค้าปลีกเองคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +1 โดยส่วนใหญ่ที่
เพิ่มขึ้นเป็นยอดขายของร้านขายของชำและสินค้าในครัวเรือนที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษจะเพิ่งประกาศขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดหมายมาก่อนเมื่อต้นเดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาก็ตาม และสอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่แสดงยอดเงินกู้ซื้อบ้านในเดือน
ก.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปีโดยส่วนใหญ่เป็นการขอกู้เพื่อซื้อบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดบ้าน
ที่อยู่อาศัย นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนในปี 48 ขยายตัวร้อยละ 10.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 30 ส.ค.49 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า
สำนักงานสถิติทบทวนตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปี 48 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากร้อยละ 9.9 เนื่องจากการขยายตัวอย่าง
รวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งสำนักงานสถิติได้เปิดเผยผ่าน www.stats.gov.cn ว่า ภาคการเกษตรและการประมงในปี 48
ขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการขยายตัวร้อยละ 11.7 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานเบื้องต้นว่า
ทั้ง 3 ภาคมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.2 11.4 และ 9.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีของปี 48 ที่ทบทวนแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
จีนขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยเมื่อปี 47 และ 48 ขยายตัวร้อยละ 10.0 และ 10.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในปี 49
กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในไตรมาสแรกจีดีพีขยายตัวร้อยละ 10.3 ส่วนไตรมาส 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.3 อย่างไร
ก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินแนะนำว่า ควรดำเนินนโยบายการเงินและการบริหารอย่างเข้มข้น เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนลง
โดยเฉพาะภาคการลงทุนที่น่าวิตกว่าอาจเลวร้ายก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนในจีนยังขยายตัวเร็วเกินไป รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 30 ส.ค.49 นสพ.ซินหัวของทางการจีนรายงานแหล่งข่าวซึ่งเป็น
เจ้าหน้าที่ใน สนง.สถิติแห่งชาติและไม่ประสงค์ออกนามให้ความเห็นว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในจีนยังคงขยายตัวเร็วเกินไป และทางการจีน
ควรมีมาตรการออกมาควบคุมการลงทุนไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและทำให้การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มา
พึ่งพาการบริโภคในประเทศในการขยายตัวเป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้มีหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น โดย
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.5 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 ทั้งนี้การ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อมีส่วนทำให้การใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงควรสนับสนุนเฉพาะโครงการลงทุนที่มีประโยชน์ในขณะที่ควรเลิก
สนับสนุนโครงการที่มีผู้ลงทุนมากอยู่แล้วหรือที่ไม่มีจำเป็น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 49 30 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.553 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3475/37.6363 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.51/8.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,000/11,100 10,900/11,000 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.24 65.74 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.49*/27.54 28.99*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--