กรุงเทพ--14 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (Joint Commission on the Bilateral Cooperation between Thailand and Cambodia: JC) ครั้งที่ 5 ที่เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2548 ตามคำเชิญของนายฮอร์ นัมฮอง รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา ในฐานะประธานร่วมฝ่ายกัมพูชา
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม JC ไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 5 เพื่อทบทวนและติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชาตามมติที่ประชุม JC ครั้งที่ 4 การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - กัมพูชา (31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ที่เมืองเสียมราฐและอุบลราชธานี) การเยือนกัมพูชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (1 เมษายน 2548) และการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (13 - 14 พฤษภาคม 2548) ตลอดจนแสวงหาลู่ทาง เพื่อแก้ไขปัญหาความร่วมมือที่ยังขาดความคืบหน้า และผลักดันความร่วมมือใหม่ ๆ ในสาขาต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในฐานะที่ JC เป็นกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาพรวมของทั้งสองประเทศ
สำหรับประเด็นการหารือสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะร่วมมือกันผลักดันในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ความร่วมมือในการบริหารและจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด โครงการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) เช่น โครงการ contract farming การรับซื้อสินค้าเกษตร 10 ชนิดในอัตราภาษีร้อยละ 0 การค้าหักบัญชี การจัดตั้ง one-stop service เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า ความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาเครือข่ายคมนาคมทางบก การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีเพื่อสนับสนุนให้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจและทัศนคติในเชิงบวกระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เป็นต้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วาระการประชุมและประเด็นการหารือต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนี้ มีทั้งเรื่องในเชิง “สัญญลักษณ์” อาทิ การแก้ไขความ ตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต พ.ศ. 2544 เพื่อให้ครอบคลุมถึงการยกเว้นการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางราชการ และมีเรื่องอีกเป็นจำนวนมากที่เป็นประเด็นในเชิง “วิสัยทัศน์” เช่น ความร่วมมือด้านพลังงานและ การพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะปูทางไปสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสองประเทศ
การประชุมครั้งนี้ยังมีความสำคัญเนื่องจากการประชุม JC ไทย — กัมพูชาได้ว่างเว้นมาเกือบ 3 ปีนับจากการประชุมครั้งที่ 4 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม 2545 จึงถือเป็นการประชุมทวิภาคีไทย — กัมพูชาครั้งสำคัญครั้งแรกหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 55 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — กัมพูชา (ซึ่งรัฐบาลสองฝ่ายได้ตกลงกันจะจัดกิจกรรมฉลองวาระโอกาสสำคัญนี้ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2548 — 19 ธันวาคม 2549) ซึ่งจะมีผลเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองประเทศ
อนึ่ง ภายหลังการเข้าร่วมประชุม JC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดเดินทางไปเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี และนายสก อัน รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรีกัมพูชา ที่กรุงพนมเปญในวันที่ 21 ตุลาคม 2548 ซึ่งประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในกลไกของ JC จะได้รับการเน้นย้ำและสร้างพันธกรณีที่มั่นคงให้กับรัฐบาลสองฝ่ายในการผลักดันเรื่องที่ได้ตกลงกันแล้วให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (Joint Commission on the Bilateral Cooperation between Thailand and Cambodia: JC) ครั้งที่ 5 ที่เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2548 ตามคำเชิญของนายฮอร์ นัมฮอง รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา ในฐานะประธานร่วมฝ่ายกัมพูชา
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม JC ไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 5 เพื่อทบทวนและติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชาตามมติที่ประชุม JC ครั้งที่ 4 การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - กัมพูชา (31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ที่เมืองเสียมราฐและอุบลราชธานี) การเยือนกัมพูชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (1 เมษายน 2548) และการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (13 - 14 พฤษภาคม 2548) ตลอดจนแสวงหาลู่ทาง เพื่อแก้ไขปัญหาความร่วมมือที่ยังขาดความคืบหน้า และผลักดันความร่วมมือใหม่ ๆ ในสาขาต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในฐานะที่ JC เป็นกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาพรวมของทั้งสองประเทศ
สำหรับประเด็นการหารือสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะร่วมมือกันผลักดันในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ความร่วมมือในการบริหารและจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด โครงการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) เช่น โครงการ contract farming การรับซื้อสินค้าเกษตร 10 ชนิดในอัตราภาษีร้อยละ 0 การค้าหักบัญชี การจัดตั้ง one-stop service เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า ความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาเครือข่ายคมนาคมทางบก การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีเพื่อสนับสนุนให้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจและทัศนคติในเชิงบวกระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เป็นต้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วาระการประชุมและประเด็นการหารือต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนี้ มีทั้งเรื่องในเชิง “สัญญลักษณ์” อาทิ การแก้ไขความ ตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต พ.ศ. 2544 เพื่อให้ครอบคลุมถึงการยกเว้นการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางราชการ และมีเรื่องอีกเป็นจำนวนมากที่เป็นประเด็นในเชิง “วิสัยทัศน์” เช่น ความร่วมมือด้านพลังงานและ การพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะปูทางไปสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสองประเทศ
การประชุมครั้งนี้ยังมีความสำคัญเนื่องจากการประชุม JC ไทย — กัมพูชาได้ว่างเว้นมาเกือบ 3 ปีนับจากการประชุมครั้งที่ 4 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม 2545 จึงถือเป็นการประชุมทวิภาคีไทย — กัมพูชาครั้งสำคัญครั้งแรกหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 55 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — กัมพูชา (ซึ่งรัฐบาลสองฝ่ายได้ตกลงกันจะจัดกิจกรรมฉลองวาระโอกาสสำคัญนี้ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2548 — 19 ธันวาคม 2549) ซึ่งจะมีผลเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองประเทศ
อนึ่ง ภายหลังการเข้าร่วมประชุม JC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดเดินทางไปเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี และนายสก อัน รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรีกัมพูชา ที่กรุงพนมเปญในวันที่ 21 ตุลาคม 2548 ซึ่งประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในกลไกของ JC จะได้รับการเน้นย้ำและสร้างพันธกรณีที่มั่นคงให้กับรัฐบาลสองฝ่ายในการผลักดันเรื่องที่ได้ตกลงกันแล้วให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-