วันนี้(5 ก.พ.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามการชุมนุมนี้อย่างใกล้ชิด และเห็นว่าการชุมนุมครั้งนี้ เป็นการชุมนุมอย่างสงบ และเป็นการชุมนุมที่เกิดจากประชาชนนับแสนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล โดยการนำของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำของวุฒิสมาชิก รวมถึงอีกหลายองค์กรอิสระ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากรัฐบาล และเป็นการรวมตัวของประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่มีเหตุการณ์รวมตัว พฤษภาทมิฬ และเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่มีการรวมตัวของประชาชนประมาณ 1 แสนคน และเป็นการชุมนุมที่มีประเด็นไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยประเด็นแรกคือ การบริหารประเทศของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ เพราะเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมให้เหตุผลว่าพ.ต.ท.ทักษิณบริหารประเทศมา 5 ปี เป็นการทำลายกลไกในระบอบการตรวจสอบขององค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อเอื้อประโยชน์ของตนและบริวารของรัฐบาล
ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานป้องกันและปราบปราบกาสรทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่กฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจตรวจสอบการกระทำผิดของบุคคลที่อยู่ในการเมือง ในการตรวจสอบการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรตรวจสอบเหล่านี้ ได้ถูกแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ และยังมีการครอบงำ แทรกแซงวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นสภาสูงที่มีบทบาทหน้าที่ ๆ สำคัญในการตรวจสอบรัฐบาล
ปัญหาที่ 2 คือ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งเห็นได้ชัดเจน นายกฯ มีผลประโยชน์ส่วนตัวเกิดขึ้นในนโยบายของประเทศ และเป็นการชี้ว่ามีทุจริตเชิงนโยบายที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิดก็จะไม่สามารถติดตามตรวจสอบ หรือรู้ทันในการทุจริตเชิงนโยบายเหล่านี้ได้
ปัญหาที่ 3 มีการทุจริตในเครือญาติและบริวาร อย่างแพร่หลาย โดยนายกฯ ไม่ได้เอาจริงเอาจังในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกตัวเอง แต่มักจะมีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นกับพวกที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล มี 2 มาตราฐานอย่างชัดเจน
ปัญหาที่ 4 ที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อวานนี้คือการกระทำการไม่บังควรของท่านนายกฯ ในเรื่องของการพยายามดึงสถาบันของพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองหลายครั้ง พยายามกล่าวอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองโดยสิ้นเชิงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่พูดในรายการทักษิณพบประชาชนการพูดในลักษณะเช่นนั้นถือเป็นการไม่บังควร อย่างในที่ชุมนุมก็ได้พูดถึงประเด็นนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยมีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วหลายครั้ง
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องรัฐบาลว่าขอให้รัฐบาลมีสติ และใช้วิจารณญาณในการรับฟังเนื้อหาของผู้ชุมนุม รับฟังเนื้อหาที่เป็นความต้องการของประชาชนที่มาร่วมชุมนุมกัน และทบทวนตนเองว่า ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการมา 5 ปี มีสิ่งใดที่จะประกาศต่อสาธารณชนว่าจะปรับเปลี่ยน หรือ ดำเนินการเพื่อความถูกต้อง และที่สำคัญขอให้รัฐบาลหยุดการกระทำทุกเรื่องที่ยุยงให้มีการแบ่งฝ่าย ของคนในสังคม ของประชาชนในประเทศไทย โดยเฉพาะการทำตัวเป็น “แผ่นเสียงตกร่อง” กล่าวอ้าง 19 ล้านเสียง ที่เลือกพรรคไทยรักไทยมาเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการแบ่งฝ่ายของสังคมอย่างชัดเจน และหันมาบริหารประเทศด้วยความชอบธรรม เน้นเรื่องการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทั้งประเทศ ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมเฉพาะคนที่เลือกพรรคไทยรักไทยเท่านั้น เพราะว่าการแบ่งฝ่ายที่นายกฯ ทำมาตลอดทำให้เกิดปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จนถึงทุกวันนี้
“การชุมนุมเมื่อวานนี้ เป็นการชุมนุมที่เกิดจากความบริสุทธิ์ของประชาชนนับแสนคน แต่ว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนดูจะน้อยไป ทางด้านสื่อของรัฐ ดังนั้นจึงอยากจะขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดแทรกแซงความรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขอให้นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา และให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างรอบด้าน เพราะเราเชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศในขณะนี้มีการพัฒนาการรับรู้ทางการเมืองในการรับฟังข้อมูลหลาย ๆ ด้านมาประกอบการตัดสินใจ พรรคประชาธิปัตย์ขอชี้แจงอีกครั้งหนึ่งว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีนโยบายที่จะขนคนไปร่วมการชุมนุม การชุมนุมนั้นเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของบุคคลที่จะเดินทางไปเข้าร่วมโดยชอบ จะเห็นว่ามีผู้คนมาร่วมชุมนุมจากหลายจังหวัดโดยจะเป็นการเดินทางด้วยตนเอง มีบางคนทางภาคใต้ออกมาบ่นว่า ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ดูแลไม่ช่วยเหลือต้องเสียค่าเดินทางมาร่วมชุมนุมเอง ก็ขอยืนยันว่าสิ่งที่นายกฯพูดนั้นเป็นการกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์แบบลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน อาจจะเป็นเพราะนายกฯ อยู่ในภาวะวิกฤต และสติแตก เลยกล่าวหาคนอื่นอย่างเลื่อนลอยและไร้หลักฐาน พิสูจน์ได้จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้” นายสาธิตกล่าว
ส่วนนายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเสริมว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้ เพราะว่ามีรัฐมนตรีลาออกในขณะนี้แล้ว 2 คน คือ คุณอุไรวรรณ เทียนทอง รมต.กระทรวงวัฒนธรรม และคุณสรอรรถ กลิ่นปทุม รมต.กระทรวงไอซีที ที่ลาออกเมื่อคืนนี้ และมีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะมีรัฐมนตรีลาออกตามมาอีกหลายคน แสดงให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีเสถียรภาพแล้ว เพราะรัฐมนตรีในคณะลาออก โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลในการลาออกให้พี่น้องประชาชนเข้าใจได้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนในรัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลของตนเอง ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายกฯ รีบจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วน ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากปล่อยให้สถานการณ์ทางการเมืองอึมครึม
“เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านนายกฯ เที่ยวนี้ เพิ่งเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 ได้เพียงปีเดียว เพราะเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548 วันนี้ ครบปี แต่ว่ามีประชาชนออกมาเดินเต็มถนนเพื่อเรียกร้องให้ท่านนายกฯ ลาออก ดังนั้นจึงต้องการให้ท่านนายกฯ ทบทวนตนเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวท่าน” นายยุทธพงศ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.พ. 2549--จบ--
ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานป้องกันและปราบปราบกาสรทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่กฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจตรวจสอบการกระทำผิดของบุคคลที่อยู่ในการเมือง ในการตรวจสอบการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรตรวจสอบเหล่านี้ ได้ถูกแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ และยังมีการครอบงำ แทรกแซงวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นสภาสูงที่มีบทบาทหน้าที่ ๆ สำคัญในการตรวจสอบรัฐบาล
ปัญหาที่ 2 คือ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งเห็นได้ชัดเจน นายกฯ มีผลประโยชน์ส่วนตัวเกิดขึ้นในนโยบายของประเทศ และเป็นการชี้ว่ามีทุจริตเชิงนโยบายที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิดก็จะไม่สามารถติดตามตรวจสอบ หรือรู้ทันในการทุจริตเชิงนโยบายเหล่านี้ได้
ปัญหาที่ 3 มีการทุจริตในเครือญาติและบริวาร อย่างแพร่หลาย โดยนายกฯ ไม่ได้เอาจริงเอาจังในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกตัวเอง แต่มักจะมีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นกับพวกที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล มี 2 มาตราฐานอย่างชัดเจน
ปัญหาที่ 4 ที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อวานนี้คือการกระทำการไม่บังควรของท่านนายกฯ ในเรื่องของการพยายามดึงสถาบันของพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองหลายครั้ง พยายามกล่าวอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองโดยสิ้นเชิงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่พูดในรายการทักษิณพบประชาชนการพูดในลักษณะเช่นนั้นถือเป็นการไม่บังควร อย่างในที่ชุมนุมก็ได้พูดถึงประเด็นนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยมีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วหลายครั้ง
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องรัฐบาลว่าขอให้รัฐบาลมีสติ และใช้วิจารณญาณในการรับฟังเนื้อหาของผู้ชุมนุม รับฟังเนื้อหาที่เป็นความต้องการของประชาชนที่มาร่วมชุมนุมกัน และทบทวนตนเองว่า ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการมา 5 ปี มีสิ่งใดที่จะประกาศต่อสาธารณชนว่าจะปรับเปลี่ยน หรือ ดำเนินการเพื่อความถูกต้อง และที่สำคัญขอให้รัฐบาลหยุดการกระทำทุกเรื่องที่ยุยงให้มีการแบ่งฝ่าย ของคนในสังคม ของประชาชนในประเทศไทย โดยเฉพาะการทำตัวเป็น “แผ่นเสียงตกร่อง” กล่าวอ้าง 19 ล้านเสียง ที่เลือกพรรคไทยรักไทยมาเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการแบ่งฝ่ายของสังคมอย่างชัดเจน และหันมาบริหารประเทศด้วยความชอบธรรม เน้นเรื่องการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทั้งประเทศ ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมเฉพาะคนที่เลือกพรรคไทยรักไทยเท่านั้น เพราะว่าการแบ่งฝ่ายที่นายกฯ ทำมาตลอดทำให้เกิดปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จนถึงทุกวันนี้
“การชุมนุมเมื่อวานนี้ เป็นการชุมนุมที่เกิดจากความบริสุทธิ์ของประชาชนนับแสนคน แต่ว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนดูจะน้อยไป ทางด้านสื่อของรัฐ ดังนั้นจึงอยากจะขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดแทรกแซงความรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขอให้นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา และให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างรอบด้าน เพราะเราเชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศในขณะนี้มีการพัฒนาการรับรู้ทางการเมืองในการรับฟังข้อมูลหลาย ๆ ด้านมาประกอบการตัดสินใจ พรรคประชาธิปัตย์ขอชี้แจงอีกครั้งหนึ่งว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีนโยบายที่จะขนคนไปร่วมการชุมนุม การชุมนุมนั้นเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของบุคคลที่จะเดินทางไปเข้าร่วมโดยชอบ จะเห็นว่ามีผู้คนมาร่วมชุมนุมจากหลายจังหวัดโดยจะเป็นการเดินทางด้วยตนเอง มีบางคนทางภาคใต้ออกมาบ่นว่า ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ดูแลไม่ช่วยเหลือต้องเสียค่าเดินทางมาร่วมชุมนุมเอง ก็ขอยืนยันว่าสิ่งที่นายกฯพูดนั้นเป็นการกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์แบบลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน อาจจะเป็นเพราะนายกฯ อยู่ในภาวะวิกฤต และสติแตก เลยกล่าวหาคนอื่นอย่างเลื่อนลอยและไร้หลักฐาน พิสูจน์ได้จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้” นายสาธิตกล่าว
ส่วนนายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเสริมว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้ เพราะว่ามีรัฐมนตรีลาออกในขณะนี้แล้ว 2 คน คือ คุณอุไรวรรณ เทียนทอง รมต.กระทรวงวัฒนธรรม และคุณสรอรรถ กลิ่นปทุม รมต.กระทรวงไอซีที ที่ลาออกเมื่อคืนนี้ และมีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะมีรัฐมนตรีลาออกตามมาอีกหลายคน แสดงให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีเสถียรภาพแล้ว เพราะรัฐมนตรีในคณะลาออก โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลในการลาออกให้พี่น้องประชาชนเข้าใจได้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนในรัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลของตนเอง ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายกฯ รีบจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วน ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากปล่อยให้สถานการณ์ทางการเมืองอึมครึม
“เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านนายกฯ เที่ยวนี้ เพิ่งเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 ได้เพียงปีเดียว เพราะเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548 วันนี้ ครบปี แต่ว่ามีประชาชนออกมาเดินเต็มถนนเพื่อเรียกร้องให้ท่านนายกฯ ลาออก ดังนั้นจึงต้องการให้ท่านนายกฯ ทบทวนตนเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวท่าน” นายยุทธพงศ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.พ. 2549--จบ--