สรุปภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้เดือนพฤศจิกายน 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 3, 2006 14:59 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้เดือนพฤศจิกายน 2548 ยังคงค่อนข้างซบเซา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจเช่นที่ผ่านมาและฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของภาคใต้ช่วงปลายเดือน ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมลดลง ส่วนราคาสินค้าเกษตรหลัก คือ ยางพารา มีแนวโน้ม
ชะลอลง แต่ก็ยังทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ไม่มากนัก ขณะที่การส่งออกขยายตัว ทางด้านนักท่องเที่ยว แม้จะยังลดลง แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ภาคเกษตร
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผลผลิตพืชสำคัญของภาคใต้ ลดลงร้อยละ 2.6 ตามการลดลงของยางพารา เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ฝนตกหนักต่อเนื่อง ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 ตามราคายางพาราเป็นสำคัญ แต่มีแนวโน้มชะละลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน
ทางด้านประมงทะเล ยังคงซบเซา จากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูง ส่งผลให้เรือขนาดเล็กหยุดทำประมงจำนวนมาก นอกจากนี้ ในช่วงเดือนนี้เกิดลมมรสุมพัดผ่านในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เรือประมงไม่สามารถออกทะเลไปจับสัตว์น้ำได้ ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ มีจำนวน 28,772 เมตริกตัน มูลค่า 887.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 24.0 และ 26.1 ตามลำดับ
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง เดือนนี้มีปริมาณลดลง เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม ฝนตกหนักเกษตรกรเกรงการเกิดโรคระบาด จึงได้มีการจับจำหน่ายในช่วงเดือนที่ผ่านมา ด้านราคากุ้งขาวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนรัอยละ 12 เนื่องจาการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ราคากุ้งกุลาดำลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 เนื่องจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดสำคัญหันไปสั่งซื้อจากตลาดเวียดนามเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐอเมริกายังคงใช้มาตรการเอดีไทยและอินเดียต่อไป ทำให้สินค้ากุ้งไทยที่ส่งไปสหรัฐอเมริกายังคงถูกเก็บภาษีนำเข้าที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.95
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตยังคงลดลงตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลงทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและสัตว์น้ำ ส่วนต้นทุนการผลิตยังปรับขึ้นต่อเนื่องตามราคาวัตถุดิบ ขณะที่ความต้องการของตลาดโลกยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีปริมาณการส่งออกยาง 222,053.1 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 1.6 ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ มีปริมาณการส่งออก 71,284.5 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 9.7 และ สัตว์น้ำแช่แข็ง 12,743.3 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 39.9 แต่มีแนวโน้มดีขึ้นจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผลจากความกังวลการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกและโรควัวบ้า ทำให้มีความต้องการใช้ถุงมือยางและบริโภคอาหารบรรจุกระป๋อง ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าทั้ง 2 ชนิดเพิ่มขึ้น
ภาคบริการท่องเที่ยว
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ฟื้นตัวต่อเนื่อง เนื่องจาก เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยสูงขึ้น ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 210,081 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 21.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลง ร้อยละ 14.3 แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 19.9 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้เดือนพฤศจิกายน ยังคงขยายตัวสะท้อนจากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนตร์ใหม่ และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากผู้ประกอบการค้าทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปีให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน มีการจดทะเบียนรถยนใหม่ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.6 และ 26.1 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดนราธิวาสเท่านั้นที่ยังคงลดลง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ลดลงร้อยละ 3.5 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 แต่เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4.4
การลงทุนภาคเอกชน
ภาพโดยรวมของการลงทุนภาคเอกชนยังคงลดลงต่อเนื่อง แม้ว่า ผู้ประกอบการยังคงสนใจลงทุนในจังหวัดภาคใต้ ตอนบนก็ตาม ทั้งนี้ เครื่องชี้ภาวะการลงทุน คือ โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ และพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างซึ่งลดลง
การจ้างงาน
เดือนพฤศจิกายนนี้ จังหวัดในภาคใต้มีตำแหน่งงานว่าง 5,837 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.9 และตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.1 ขณะเดียวกันมีผู้สมัครงาน 3,309 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 และมี
การบรรจุงานจำนวน 1,537 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.9 สำหรับเดือนนี้ภาครัฐได้เปิดรับสมัครการจ้างงานในโครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย และอ.นาทวี) ระยะที่ 3 รับ
สมัครตั้งแต่วันที่ 17-25 พฤศจิกายน 2548
อนึ่ง จากการที่ภาครัฐอนุญาตให้นำเข้าแรงงานลาวเพื่อแก้ไขป้ญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยนำร่องในจังหวัดสงขลาก่อนจำนวน 9,000 คนนั้น ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการยื่นความต้องการประมาณ 5,600 ราย ขณะที่คนลาวว่างงานมากและพร้อมที่จะทำงาน แต่ประสบ
ปัญหาในกรทำวีซ่า ส่งผลให้ปัจจุบันสามารถนำเข้าแรงงานลาวได้เพียงประมาณ 100-200 คน เท่านั้น และจัดสรรให้รงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลก่อน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เดือนพฤศจิกายน 2548 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 เป็นการเพิ่มในอัตราที่ชะลอเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตามการชะลอตัวลงของราคาสินค้าในหมวดอาหารและ เครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ชะลดลงค่อนข้างมากจากร้อยละ 4.8 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยหมวดยานพานะและน้ำมันเชื่อเพลิง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.9 ขณะที่หมวดการสื่อสารยังคงลดลงร้อยละ 3.1 เท่ากับเดือนก่อน
ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาสินค้าต่างๆ ลดลง คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เบนซิน 95 และ 91 ลดลง 3 ครั้ง และดีเซลลดลง 3 ครั้ง เป็นสำคัญ ส่วนสินค้าหมวดเป็ด ไก่ ปรับเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 25.5
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ชะลอลงเช่นกัน โดยเดือนนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็นอัตราเพิ่มที่ลดลงเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อน
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนพฤศจิกายน 2548 การส่งออกมีมูลค่า 742.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยังคงเป็นผลจากการส่งออกสินค้าสำคัญ คือ ยางพารา โดยเฉพาะยางแท่งและน้ำยางข้น ได้มากขึ้น ส่วนการนำเข้า ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 214.3
ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 3.8 เนื่องจากนำเข้าสินค้าสำคัญลดลงเกือบทุกประเภท
การคลัง
รายได้จากการจัดเก็บภาษีในเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนทั้งสิ้น 1,665.7 ล้านบาท ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรได้ลดลง โดยจัดเก็บได้จำนวน 136.6 ล้านบาท และ 104.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 65.4 และ 3.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทน้ำมันได้จ่ายภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่หน้าโรงกลั่น ระยอง แทนที่จะมาจ่ายที่คลังน้ำมันปลอดภาษีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่ ภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ จำนวน 1,164.5 ล้านบาท และ 770.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 41.0 และ 131.0 ตามลำดับ
ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันด้านการฝากเงินสูง โดยมีนโยบายด้านดอกเบี้ยเป็นตัวกำหนดทำให้ลูกค้ามีการย้ายเงินฝากเพื่อต้องการรับผลประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ธนาคารต่างๆ ยังมีสินค้าตัวใหม่ๆ มาเพิ่มในตลาด ทำให้คาดว่าจะมีเงินฝากในระบบธนาคารเพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน คาดว่าจะมีประมาณ 334,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0
สำหรับสินเชื่อคงค้างคาดว่า มีจำนวนประมาณ 245,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 ทั้งนี้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 73.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 63.7
ทางด้านการใช้เช็คของภาคธุรกิจที่ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ในเดือนนี้ คาดว่า มีปริมาณ 365,000 ฉบับ มูลค่า 49,500 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 และ ร้อยละ 1.6
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนพฤศจิกายน 2548
เครื่องชี้ พ.ย.47 ต.ค.48 พ.ย.48 พ.ย.48/47
(%)
1.การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 44.89 64.46 59.97 33.6
ปาล์มทั้งทะลาย 3.80 3.40 3.13 -17.6
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 37,852 41,103 28,772 -24.0
มูลค่า (ล้านบาท) 1,200.1 1,061.9 887.0 -26.1
กุ้งกุลาดำขนาด 31-40 201.00 211.00 198.00 -1.5
ตัว/กก.(บาท/กก.)
2.การอุตสาหกรรม (เมตริตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 69,250.2 61,848.8 48,853.6 -29.3
ยางแท่ง 76,195.4 69,003.6 76,647.5 0.6
3.การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจ 245,245 173,080 210,081 -14.3
คนเข้าเมือง (คน)
4.การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่(คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,676 1,780 2,023 20.7
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 3,732 3,694 4,798 28.6
รถจักรยานยนต์ 31,420 24,553 30,307 -3.5
5.การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 27,529.9 28,203.1 30,513.6 10.8
ยาง 10,219.8 11,447.8 12,737.5 24.6
ไม้ยางพาราแปรรูปและ
เฟอร์นิเจอร์ 821.2 735.5 770.3 -6.2
ถุงมือยาง 1,346.4 1,445.7 1,687.7 25.4
สัตว์น้ำแช่แข็ง 2,143.5 2,044.2 1850.2 -13.7
อาหารกระป๋อง 1,083.1 976.5 1,133.0 4.6
ดีบุก 612.8 534.7 605.0 -1.3
แร่อื่นๆ 304.3 211.0 295.6 -2.9
ก๊าซธรรมชาติ 140.5 98.8 94.4 -32.8
น้ำมันดิบ 1,943.5 1,449.0 1,381.9 -28.9
มูลค่าการนำเข้า 8,977.1 12,664.4 8,802.9 -1.9
เครื่องจักรอุปกรณ์ 3,880.7 5,781.9 3,567.3 -8.1
น้ำมันเชื้อเพลิง 0.0 226.2 95.2
อุปกรณ์ก่อสร้าง 114.0 159.5 147.8 29.6
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,100.0 870.3 913.7 -16.9
6.ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ 107.0 113.1 112.8 5.4
(ปีฐาน 2545)
7.การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 14 5 9 -35.7
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,942.9 672.8 1,154.2 -40.6
การจ้างงาน (คน) 1,558 935 1,544 -0.9
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 451 416 377 -16.4
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 2,613.6 892.0 825.3 -68.4
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 207,733 136,290 127,377 -38.7
8.ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 10,403 5,496 5,837 -43.9
ผู้สมัครงาน (คน) 3,639 3,340 3,309 -9.1
การบรรจุงาน (อัตรา) 1,944 1,206 1,537 -20.9
9.การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 7,421.2 8237.9
ของส่วนราชการ
การจัดเก็บภาษีอากร 1,843.9 1,857.3 1,665.7 -9.7
สรรพากร 1,339.8 1,585.6 1,424.3 6.3
สรรพสามิต 395.3 154.8 136.6 -65.4
ศุลกากร 108.7 117.0 104.9 -3.6
10.การเงิน
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 396,426 355,322 365,000 -7.9
มูลค่า (ล้านบาท) 50,282.6 49,759.2 49,500 -1.6
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 0.8 0.8
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 458 485
เงินฝาก (ล้านบาท) 314,979.0 332,846.0 334,000.0 6.0
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 200,600.0 244,331.0 245.000.0 22.1
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 54,679.3 58,175.7 58,686.1 7.3
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 29,457.1 33,318.4 33,607.4 14.1
ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,809.8 1,519.6 2,468.1 36.4
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 45,992.9 51,818.9 52,201.4 13.5
ธนาคารเพื่อการส่งออกและ
นำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าย (ล้านบาท) 2,386.7 3,230.2 3,561.6 49.2

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ