สศข.5 เตือนพี่น้องชาวอีสานปีนี้แล้งหนักอีกระลอก ทำให้พื้นที่เกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก ด้านจังหวัดสร้างทำนบชั่วคราวพร้อมแจกจ่ายน้ำแก่ผู้ประสบภัย ขณะที่รัฐหนุนงบกว่า 73 ล้านบาทช่วยเหลือไปแล้วทั่วประเทศ
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยหลังรับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทุกปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 12 และ 14 จังหวัดตามลำดับ คาดว่าปีนี้จะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้นอีกเช่นเดียวกับปีที่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยทั้งประเทศสูงถึง66 จังหวัด และในปี 2549 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ม.ค.2549) พบว่ามีหมู่บ้านประสบภัยแล้งแล้วรวม 12,102 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 16.36 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 972,879 ครัวเรือน รวม 4,004,923 คน พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 632,963 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 157,656,180 บาท นอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหายอีกประมาณ 1,569,568 ไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 330,790,434 บาท จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือโดยได้มีการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) ขุดลอกหนองน้ำ รวมทั้งแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย โดยใช้งบประมาณไปแล้วทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 73.44 ล้านบาท
สำหรับการสนับสนุนจากกรมชลประทานในเขตพื้นที่ชลประทาน ในปีเพาะปลูก 2548/49 นั้น กำหนดเป้าหมายตามแผนการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางสำหรับการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน พื้นที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ได้แก่ สำนักชลประทานที่ 7 (จังหวัดอุบลราชธานี) และสำนักชลประทานที่ 8 (จังหวัดนครราชสีมา , บุรีรัมย์ , สุรินทร์ , ศรีษะเกษ) มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับน้ำ 94,941 ไร่ แยกเป็นนาปรัง 57,037 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 33,832 ไร่ ที่เหลือเป็นบ่อกุ้ง/ปลา สวนผลไม้และอื่น ๆ 4,072 ไร่ โดยมีปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร รวมทั้งสิ้น 358 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในอ่างเก็บน้ำ 1,759 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ทุกจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนได้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนจังหวัดที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไปแล้วระหว่างวันที่ 1 พ.ย.2548- 26 ม.ค. 2549 ทั้งประเทศมีจำนวน 31 จังหวัด
นางอัญชลี กล่าวทิ้งท้ายว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และคาดว่าจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอีก ดังนั้น จังหวัดที่เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งจึงควรติดตามพร้อมรายงานสรุปสถานการณ์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อระดมการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยหลังรับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทุกปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 12 และ 14 จังหวัดตามลำดับ คาดว่าปีนี้จะมีพื้นที่ประสบภัยเพิ่มขึ้นอีกเช่นเดียวกับปีที่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัยทั้งประเทศสูงถึง66 จังหวัด และในปี 2549 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ม.ค.2549) พบว่ามีหมู่บ้านประสบภัยแล้งแล้วรวม 12,102 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 16.36 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 972,879 ครัวเรือน รวม 4,004,923 คน พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 632,963 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 157,656,180 บาท นอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหายอีกประมาณ 1,569,568 ไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 330,790,434 บาท จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือโดยได้มีการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) ขุดลอกหนองน้ำ รวมทั้งแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย โดยใช้งบประมาณไปแล้วทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 73.44 ล้านบาท
สำหรับการสนับสนุนจากกรมชลประทานในเขตพื้นที่ชลประทาน ในปีเพาะปลูก 2548/49 นั้น กำหนดเป้าหมายตามแผนการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางสำหรับการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน พื้นที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ได้แก่ สำนักชลประทานที่ 7 (จังหวัดอุบลราชธานี) และสำนักชลประทานที่ 8 (จังหวัดนครราชสีมา , บุรีรัมย์ , สุรินทร์ , ศรีษะเกษ) มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับน้ำ 94,941 ไร่ แยกเป็นนาปรัง 57,037 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 33,832 ไร่ ที่เหลือเป็นบ่อกุ้ง/ปลา สวนผลไม้และอื่น ๆ 4,072 ไร่ โดยมีปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร รวมทั้งสิ้น 358 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในอ่างเก็บน้ำ 1,759 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ทุกจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนได้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนจังหวัดที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไปแล้วระหว่างวันที่ 1 พ.ย.2548- 26 ม.ค. 2549 ทั้งประเทศมีจำนวน 31 จังหวัด
นางอัญชลี กล่าวทิ้งท้ายว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และคาดว่าจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอีก ดังนั้น จังหวัดที่เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งจึงควรติดตามพร้อมรายงานสรุปสถานการณ์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อระดมการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-