นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ปี 2547 ธสน. ยังขยายสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่องและมีผลกำไรสุทธิในระดับที่น่าพอใจ โดยยอดสินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้น 826 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 150 ล้านบาท ผลประกอบการทั้งปี 2547 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีมีกำไรสุทธิ 477 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิที่สูงถึง 717 ล้านบาทเมื่อปี 2546 กำไรที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเพราะรายได้รับคืนจากหนี้ตัดจำหน่ายและหนี้สูญในปีนี้มีจำนวนที่น้อยลง โดยมีจำนวน 265 ล้านบาท เทียบกับจำนวนที่สูงถึง 516 ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว รายได้ดอกเบี้ยสุทธิก็มีจำนวนลดลงเนื่องจากดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สูงขึ้นและการแข่งขันที่สูงในประเทศไทยในการอำนวยสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลงในปีนี้
ธนาคารมีรายจ่ายสำรองหนี้สูญและส่วนสูญเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้ในปีที่ผ่านมาจำนวน 1,010 ล้านบาท ต่ำลงบ้างเมื่อเทียบกับจำนวนสำรอง 1,205 ล้านบาทในปี 2546
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 52,806 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จาก 47,930 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 49,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับ 43,129 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ในด้านปริมาณธุรกิจการรับซื้อและเรียกเก็บเงินตามตั๋วส่งออกมีมูลค่า 109,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 ส่วนปริมาณธุรกิจด้านการรับแจ้งประกันการส่งออกของปี 2547 มีจำนวน 30,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ณ สิ้นปี 2547 ธสน. มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เท่ากับ 4,905 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 ของยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวน 4,834 ล้านบาท เมื่อสิ้นไตรมาส 3 และจำนวน 4,106 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 9.5 สำหรับอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับร้อยละ 17.9
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมถึงผลการดำเนินงานในปี 2547 ว่าในปี 2547 ธสน. มีนโยบายให้ความสำคัญในการสนับสนุนผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.3 ของจำนวนลูกค้าทั้งหมดของ ธสน. โดยในปี 2547 ธสน. ได้อนุมัติสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ส่งออก SMEs 736 ราย เป็นวงเงินรวม 15,741 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6,659 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.3 เมื่อเทียบกับปี 2546
ในส่วนของการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ ธสน. ได้ให้วงเงินสินเชื่อและค้ำประกันแก่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนหรือให้บริการในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 รวม 22,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 โดยมีวงเงินอนุมัติใหม่ในปี 2547 จำนวน 7,302 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศและวงเงินกู้ระยะยาวแก่รัฐบาลพม่าเพื่อใช้ซื้อสินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงการจ้างบริการจากบริษัทของไทย
นอกจากนั้น ในปี 2547 ธสน. ได้ลงนามในความร่วมมือกับองค์กรในต่างประเทศเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ประกอบด้วยการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ การลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Kreditanstalt fuer Wiederaufbau: KfW) เพื่อให้ความร่วมมือในด้านการเงินและวิชาการระหว่างกัน รวมทั้งการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและเครือข่ายคมนาคมในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) การลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบราซิล (Banco National de Desenvolvimento Economic e Social — BNDES) ของประเทศบราซิลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือทางธุรกิจ และการลงนามในความตกลงว่าด้วยการให้บริการ Revolving Trade Financing Facility กับ Vneshtorgbank ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
นอกจากนี้ ธสน. ยังได้จัดอบรมและสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ส่งออก นักลงทุน และผู้ที่สนใจทั่วไป ในเรื่องการจัดทำเอกสารส่งออก การป้องกันความเสี่ยงในการส่งออก การให้ความรู้เกี่ยวกับลู่ทางการค้าและการลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงข้อมูลกฎระเบียบและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ การสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 50 ครั้ง โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและสัมมนา จำนวน 1,700 คน
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวถึงนโยบายการดำเนินงานของ ธสน. ปี 2548 ว่า ธสน. จะเน้นบทบาทเชิงรุกในการสร้างและพัฒนาผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศโดยให้การสนับสนุนทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยภารกิจที่สำคัญของ ธสน. ในปี 2548 ประกอบด้วยการสร้างผู้ประกอบการภายในประเทศให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่และช่วยเหลือผู้ส่งออกขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็ง การส่งเสริมให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสามารถเพิ่มหรือขยายการส่งออกให้มากขึ้น และการผลักดันให้ผู้ส่งออกรายใหญ่หรือนักธุรกิจไทยที่มีศักยภาพไปลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะเพื่อนผู้เชี่ยวชาญของผู้ส่งออก
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1146
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-
ธนาคารมีรายจ่ายสำรองหนี้สูญและส่วนสูญเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้ในปีที่ผ่านมาจำนวน 1,010 ล้านบาท ต่ำลงบ้างเมื่อเทียบกับจำนวนสำรอง 1,205 ล้านบาทในปี 2546
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 52,806 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จาก 47,930 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 49,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับ 43,129 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ในด้านปริมาณธุรกิจการรับซื้อและเรียกเก็บเงินตามตั๋วส่งออกมีมูลค่า 109,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 ส่วนปริมาณธุรกิจด้านการรับแจ้งประกันการส่งออกของปี 2547 มีจำนวน 30,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ณ สิ้นปี 2547 ธสน. มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เท่ากับ 4,905 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 ของยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวน 4,834 ล้านบาท เมื่อสิ้นไตรมาส 3 และจำนวน 4,106 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 9.5 สำหรับอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับร้อยละ 17.9
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมถึงผลการดำเนินงานในปี 2547 ว่าในปี 2547 ธสน. มีนโยบายให้ความสำคัญในการสนับสนุนผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.3 ของจำนวนลูกค้าทั้งหมดของ ธสน. โดยในปี 2547 ธสน. ได้อนุมัติสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ส่งออก SMEs 736 ราย เป็นวงเงินรวม 15,741 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6,659 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.3 เมื่อเทียบกับปี 2546
ในส่วนของการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ ธสน. ได้ให้วงเงินสินเชื่อและค้ำประกันแก่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนหรือให้บริการในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 รวม 22,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 โดยมีวงเงินอนุมัติใหม่ในปี 2547 จำนวน 7,302 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศและวงเงินกู้ระยะยาวแก่รัฐบาลพม่าเพื่อใช้ซื้อสินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงการจ้างบริการจากบริษัทของไทย
นอกจากนั้น ในปี 2547 ธสน. ได้ลงนามในความร่วมมือกับองค์กรในต่างประเทศเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ประกอบด้วยการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ การลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Kreditanstalt fuer Wiederaufbau: KfW) เพื่อให้ความร่วมมือในด้านการเงินและวิชาการระหว่างกัน รวมทั้งการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและเครือข่ายคมนาคมในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) การลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบราซิล (Banco National de Desenvolvimento Economic e Social — BNDES) ของประเทศบราซิลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือทางธุรกิจ และการลงนามในความตกลงว่าด้วยการให้บริการ Revolving Trade Financing Facility กับ Vneshtorgbank ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
นอกจากนี้ ธสน. ยังได้จัดอบรมและสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ส่งออก นักลงทุน และผู้ที่สนใจทั่วไป ในเรื่องการจัดทำเอกสารส่งออก การป้องกันความเสี่ยงในการส่งออก การให้ความรู้เกี่ยวกับลู่ทางการค้าและการลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงข้อมูลกฎระเบียบและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ การสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 50 ครั้ง โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและสัมมนา จำนวน 1,700 คน
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวถึงนโยบายการดำเนินงานของ ธสน. ปี 2548 ว่า ธสน. จะเน้นบทบาทเชิงรุกในการสร้างและพัฒนาผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศโดยให้การสนับสนุนทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยภารกิจที่สำคัญของ ธสน. ในปี 2548 ประกอบด้วยการสร้างผู้ประกอบการภายในประเทศให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่และช่วยเหลือผู้ส่งออกขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็ง การส่งเสริมให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสามารถเพิ่มหรือขยายการส่งออกให้มากขึ้น และการผลักดันให้ผู้ส่งออกรายใหญ่หรือนักธุรกิจไทยที่มีศักยภาพไปลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะเพื่อนผู้เชี่ยวชาญของผู้ส่งออก
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1146
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-