ศรีษะเกษเปิดบ้าน ต้อนรับผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิทั่วโลก สาธิตการทำนาและผลิตข้าวแบบดั้งเดิม พร้อมผลักดันผลผลิตข้าวหอมมะลิของจังหวัดออกสู่ตลาดโลก สร้างรายได้เข้าประเทศ
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อปลายปี 2548 ทางจังหวัดศรีษะเกษ ได้มีโอกาสต้อนรับนำคณะผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิในกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดหลักในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ฝรั่งเศส อินเดีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ เป็นต้น โดยลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชมการทำนาและการผลิตข้าวหอมมะลิแบบโบราณดั้งเดิม ที่บ้านทุ่ม ตำบลทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ มีชาวนามาสาธิตการไถนาด้วยควาย การเก็บเกี่ยวข้าว และการนวดข้าวโดยใช้มือให้คณะผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิดังกล่าวได้ชมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งคณะผู้เข้าชมการสาธิตได้ร่วมทดลองเกี่ยวข้าวและไถนา รวมทั้งการนวดข้าวด้วยมือกับเกษตรกรด้วย
นางอัญชลี ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอดีตที่ผ่านมา การผลิตข้าว จะผลิตให้แค่พอเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น และพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ยังไม่มีการคิดค้นข้าวพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาเลย แต่ต่อมาได้มีการคิดค้นผสมพันธุ์ข้าวขึ้นมาหลายพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 1 พันธุ์ ที่มีชื่อเสียงมาก จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ก็คือ ข้าวหอมมะลิจังหวัดศรีษะเกษ และได้มีการขยายกำลังการผลิตจนสามารถจนสามารถส่งออกไปขายที่ต่างประเทศ ทั้งยังสามารถนำเงินตราเข้ามายังประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาติใดในโลก ต่างก็ต้องมีอาหารหลักกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าว ขนมปัง หรืออื่นๆ โดยจะแตกต่างกันไปตามสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้นๆ เนื่องมาจากภูมิประเทศภูมิอากาศ ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย โดยเลือกข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากการหุงหรือต้มข้าวนั้นไม่ยุ่งยากนัก และยังสามารถเก็บไว้ทานในมื้อถัดไปได้อีกด้วย
สำหรับจังหวัดศรีษะเกษ ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิส่งออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้กับจังหวัดโดยมีผลผลิตประมาณ 889,424 ตันต่อปี ข้าวหอมมะลิจังหวัดศรีษะเกษ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นในเรื่องคุณภาพดี ปลอดสารเคมี — สารพิษ ทั้งยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อปลายปี 2548 ทางจังหวัดศรีษะเกษ ได้มีโอกาสต้อนรับนำคณะผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิในกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดหลักในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ฝรั่งเศส อินเดีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ เป็นต้น โดยลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชมการทำนาและการผลิตข้าวหอมมะลิแบบโบราณดั้งเดิม ที่บ้านทุ่ม ตำบลทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ มีชาวนามาสาธิตการไถนาด้วยควาย การเก็บเกี่ยวข้าว และการนวดข้าวโดยใช้มือให้คณะผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิดังกล่าวได้ชมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งคณะผู้เข้าชมการสาธิตได้ร่วมทดลองเกี่ยวข้าวและไถนา รวมทั้งการนวดข้าวด้วยมือกับเกษตรกรด้วย
นางอัญชลี ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอดีตที่ผ่านมา การผลิตข้าว จะผลิตให้แค่พอเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น และพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ยังไม่มีการคิดค้นข้าวพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาเลย แต่ต่อมาได้มีการคิดค้นผสมพันธุ์ข้าวขึ้นมาหลายพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 1 พันธุ์ ที่มีชื่อเสียงมาก จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ก็คือ ข้าวหอมมะลิจังหวัดศรีษะเกษ และได้มีการขยายกำลังการผลิตจนสามารถจนสามารถส่งออกไปขายที่ต่างประเทศ ทั้งยังสามารถนำเงินตราเข้ามายังประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาติใดในโลก ต่างก็ต้องมีอาหารหลักกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าว ขนมปัง หรืออื่นๆ โดยจะแตกต่างกันไปตามสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้นๆ เนื่องมาจากภูมิประเทศภูมิอากาศ ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย โดยเลือกข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากการหุงหรือต้มข้าวนั้นไม่ยุ่งยากนัก และยังสามารถเก็บไว้ทานในมื้อถัดไปได้อีกด้วย
สำหรับจังหวัดศรีษะเกษ ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิส่งออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้กับจังหวัดโดยมีผลผลิตประมาณ 889,424 ตันต่อปี ข้าวหอมมะลิจังหวัดศรีษะเกษ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นในเรื่องคุณภาพดี ปลอดสารเคมี — สารพิษ ทั้งยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-