(ต่อ1) แถลงข่าวผลงานกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ(8 พฤษภาคม 2549)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 11, 2006 14:26 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          2. การยื่นข้อเสนอผูกพันเปิดตลาดด้านบริการสำหรับการเจรจาในรอบที่ 4 (ปี 2005-2006) ข้อเสนอ (Offer)  การเปิดตลาดบริการของสมาชิกอาเซียนรอบที่ 4 ที่วางบนโต๊ะเจรจาขณะนี้ มีจำนวนกิจกรรม และระดับ   ข้อผูกพันเปิดตลาดที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง โดยเฉพาะข้อเสนอของบรูไน  อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจำนวนกิจกรรมที่เสนอต่ำกว่าเป้าหมายมาก  ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกปรับปรุงข้อเสนอผูกพันให้ดีขึ้น  ทั้งนี้มีกำหนดการให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของชาติอาเซียนลงนามรับรองข้อผูกพันเปิดตลาดสำหรับรอบนี้ประมาณเดือนสิงหาคม 2549 
สำหรับการประชุม CCS ครั้งหน้า ซึ่งเป็นครั้งที่ 47 นั้น มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2549 นี้ ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะได้หารือถึงแผนการเปิดตลาดจนถึงปี 2015 กันต่อเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสรุปผลการยื่นข้อผูกพันเปิดตลาดบริการเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามรับรองต่อไป
16. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) และการประชุมหารือกับประเทศคู่เจรจา ระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2549 ณ เกาะ Boracay ประเทศฟิลิปปินส์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายอุตตม สาวนายน) จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) และการประชุม AEM กับประเทศคู่เจรจา ณ เกาะ Boracay ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
- การประชุม AEM Retreat ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ที่ประชุมจะพิจารณาความคืบหน้าและกำหนดนโยบายการดำเนินมาตรการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ใน Phase 2 และเพิ่มสาขาใหม่ คือ Logistics Services รวมทั้ง การเร่งรัดจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้เร็วขึ้นจากปี 2020 เป็นปี 2015
การรวมกลุ่ม 11 สาขาสำคัญของอาเซียน (11 Priority Sectors) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาตรการส่วนใหญ่มีความคืบหน้าในการดำเนินงาน เช่น การพัฒนามาตรฐาน และความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ การจัดทำฐานข้อมูลมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTBs) เพื่อนำไปสู่การลด/ยกเลิกมาตรการ ดังกล่าว และการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window :ASW) ซึ่งครอบคลุมเรื่องการรับส่งข้อมูลในการขนสินค้าขาออกและฟอร์ม D โดยไทยและฟิลิปปินส์ จะเริ่มนำร่องดำเนินการก่อนในเดือนเมษายน 2549 นี้ นอกจากนี้ ควรเร่งรัดการดำเนินมาตรการเฉพาะของแต่ละสาขาที่ยังประสบปัญหาและไม่คืบหน้าเท่าที่ควร โดยจะรายงานผลความคืบหน้าและแผนการดำเนินงาน Phase 2 ของ Roadmap รายสาขา ที่จะนำเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 38 พิจารณาลงนามในพิธีสาร แก้ไขปรับปรุงRoadmaps ในเดือนสิงหาคม 2549
- การประชุม (AEM) กับประเทศคู่เจรจาในวันที่ 16 พฤษภาคม 2549
- การประชุม AEM-EU รับทราบผลการศึกษาของ ASEAN-EU Vision Group และกำหนดแนวทางความร่วมมือฯ จัดทำกรอบการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (Framework for Negotiation for the ASEAN-EU FTA)
- การประชุม AEM-ROK เพื่อหารือความคืบหน้าเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี
17. “ไทยเป็นเจ้าภาพการหารือนัดพิเศษเพื่อท่าทีร่วมของอาเซียนด้านการค้าบริการและการลงทุนสำหรับการเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญ”
ไทยเป็นเจ้าภาพหารือร่วมนัดพิเศษระหว่างคณะเจ้าหน้าที่เศรษฐกิจอาวุโสอาเซียน (SEOM) กับคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน (CCS) และคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน (CCI) ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 โดยมีนางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประชุมร่วมกับผู้แทนสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บูรไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 100 คน
ผลการหารือครั้งนี้ อาเซียนสามารถตกลงหาท่าทีร่วมได้ในบางประเด็น เช่นการขยายประโยชน์จากการเปิดตลาดให้แก่ประเทศอาเซียนด้วยกัน คำจำกัดความของนักลงทุนที่จะนำไปเจรจากับประเทศที่อาเซียนจัดทำ FTA โดยใช้แนวทางตามความตกลงการค้าบริการภายใต้ WTO กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (AFAS) และความตกลงการลงทุนในอาเซียน (AIA) อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากบางประเทศขาดกฎหมายรองรับ และมีบางประเด็นเป็นเรื่องระดับนโยบาย ได้แก่ การให้สิทธิประโยชน์ฯ แก่กิจการที่คนนอกภาคีเป็นเจ้าของ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมฯ จะนำประเด็นติดค้างเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2549 ณ ฟิลิปปินส์ พิจารณาต่อไป
เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว คณะผู้เจรจาของไทยและอาเซียนสามารถใช้เป็นกรอบท่าทีร่วมในการเจรจากับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ได้ ซึ่งในอนาคต อาเซียนมีแผนเจรจาเปิดเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญเพิ่มเติม เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เป็นต้น
ปัจจุบัน ไทยร่วมกับสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ อยู่ระหว่างจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับDialogue Partner ที่เป็นตลาดสำคัญ เช่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมทั้ง การลดภาษีสินค้า การเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ