วันนี้ (7 ส.ค.2549) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีพูดในรายการนายกฯ คุยกับประชาชนว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายฝ่ายเป็นห่วง ว่า ตรงนี้ตนอยากที่จะสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นตัวชี้วัดพื้นฐาน ในแง่ของการวัดว่าศักยภาพประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ ที่เปรียบเทียบในช่วงปี 2545 - 2548 นั้น อัตรการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไม่ได้แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน และนอกจากนั้นการใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็น ทุนทรัพย์ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อที่จะให้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทย ก็เป็นการใช้ที่สิ้นเปลืองมาก
ส่วนการอ้างถึงความระดับความสนใจของต่างชาติที่มีต่อการลงทุนในประเทศไทยนั้น นายกรณ์ กล่าวว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สะท้อนต่อข้อเท็จจริงเช่นกันจะเห็นว่าส่วนแบ่งของการลงทุนในประเทศไทยเมื่อเทียบการลงทุนที่มีทั่วโลกพบว่าลดลง จาก 0.6 เปอร์เซ็นต์ หรือช่วงปี 40 — 41 ขึ้นไปสูงถึงกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าจากการลงทุนที่มีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่ากับ 1 % ของการลงทุนทั้งหมด แต่ว่าระดับการลงทุนลดลงมาเรื่อยๆ โดยที่ ณ สิ้นปี 2547 ระดับการลงทุนโดยส่วนแบ่งตลาดนักลงทุนไทยลดลงเหลือเพียง 0.22 % ของเงินลงทุนทีมีทั่วโลก
“ถ้าเปรียบเทียบนอกจากจะลดลงอย่างน่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับระดับการลงทุนทีมีอย่างต่อเนื่องในอดีต แต่ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะเป็นสถิติตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันไม่ได้ระบุไว้ตรงนี้ แต่ว่ายกตัวอย่างในเวลาเดียวกันคือสิ้นปี 47 ส่วนแบ่งตลาดของเวียดนามในแง่ของการลงทุนโดยต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามนั้นสูงถึง 0.29% ของเรา 0.22% คือพูดง่ายๆ ณ วันนี้ต่างชาติเริ่มให้ความใจที่จะลงทุนในประเทศเวียดนามมากกว่าประเทศไทยแล้ว ส่วนไต้หวันเช่นดันครับมีระดับส่วนแบ่งการลงทุนราวๆ 0.25% ในช่วงปี 47 สูงกว่าเราเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ประเทศเขาเล็กกว่าเราเยอะ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ตรงนี้จึงมีคำถามขึ้นมาว่า ทำไมต่างชาติถึงเมินที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ล่าสุดที่เห็นคือการย้ายฐานกำลังการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีของสหรัฐอเมริกาจากไทยเป็นมาเลเซีย โดยที่อ้างประสิทธิภาพของบุคลากรในเมืองไทยที่ด้อยกว่าของ “ เพราะฉะนั้นตรงนี้นี่ถ้ารัฐบาลยังหลอกตัวเองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศํกยภาพน่าสนใจสำหรับนักลงทุนก็จะเป็นความเชื่อที่อันตราย เพราะจะไม่มีการเข้ามาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงว่าทำไมต่างชาติถึงให้ความสนใจด้านการลงทุนน้อยลง.” นายกรณ์ กล่าว
“ถ้าเปรียบเทียบนอกจากจะลดลงอย่างน่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับระดับการลงทุนทีมีอย่างต่อเนื่องในอดีต แต่ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะเป็นสถิติตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันไม่ได้ระบุไว้ตรงนี้ แต่ว่ายกตัวอย่างในเวลาเดียวกันคือสิ้นปี 47 ส่วนแบ่งตลาดของเวียดนามในแง่ของการลงทุนโดยต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามนั้นสูงถึง 0.29% ของเรา 0.22% คือพูดง่ายๆ ณ วันนี้ต่างชาติเริ่มให้ความใจที่จะลงทุนในประเทศเวียดนามมากกว่าประเทศไทยแล้ว ส่วนไต้หวันเช่นดันครับมีระดับส่วนแบ่งการลงทุนราวๆ 0.25% ในช่วงปี 47 สูงกว่าเราเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ประเทศเขาเล็กกว่าเราเยอะ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตรงนี้ก็เป็นคำถามขึ้นมาว่า ทำไมต่างชาติถึงเมินที่จะมาลงทุนในไทย โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีปัญหาอะไรตัวอย่างล่าสุดที่เห็นก็คือการย้ายฐานกำลังการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีของสหรัฐอเมริกาจากไทยเป็นมาเลเซีย โดยที่อ้างถึงประสิทธิภาพถึงบุคลากรในเมืองไทยที่ด้อยกว่าของมาเลเซียจนทำให้เขาโยกย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพราะฉะนั้นตรงนี้นี่ถ้ารัฐบาลยังหลอกตัวเองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศํกยภาพน่าสนใจสำหรับนักลงทุนก็จะเป็นความเชื่อที่อันตราย เพราะจะไม่มีการเข้ามาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงว่าทำไมต่างชาติถึงให้ความสนใจด้านการลงทุนน้อยลง
“การที่พ.ต.ท.ทักษิณได้อ้างว่า วันที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 57 ขณะนี้ลดลงเหลือร้อยละ 41.4 ซึ่งถือว่าลดลงมาก ประเด็นที่สำคัญก็คือตัวเลขที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พูดเป็นตัวเลขหนี้สาธารณะไม่ได้รวมถึงหนี้ ที่เรียกว่า หนี้กึ่งการคลัง (Quasi fiscal) หนี้ที่ไปฝากอยู่ตามสถาบันการเงิน หนี้ที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดเพราะนโยบายของรัฐบาลถ้ารวมหนี้กึ่งการคลังอาจมีมูลค่าถึง 5 — 6 แสนล้านบาท ก็จะทำให้หนี้โดยรวมของรัฐบาลอยู่ที่ 49 — 50 % ไม่ใช่ 41% ตามคำกล่าวอ้างของพ.ต.ท.ทักษิณ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้พูดถึงคือหนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวในช่วง 4 — 5 ปีภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลไทยรักไทย ทั้งที่หนี้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 104,000 บาทในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากเดิม 70,000 บาทในปี 2543 เพิ่มเกือบสองเท่า หนี้ครัวเรือนกู้บริโภคเพิ่มจาก 61% ของหนี้ทั้งหมดในปี 2543 เป็น 66% ในปี 2547 แปลว่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เอาไปลงทุนให้เกิดรายได้ แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มจาก 5.7 เท่าของรายได้ในปี 2543 เป็น 7.1 เท่าของรายได้ในปี 2547 “หนี้ที่เพิ่มเป็นปัญหาเร่งด่วน เพราะ คนจน 10% ของประเทศโดยเฉลี่ยมีหนี้เพิ่มจาก 7.5 เท่าของรายได้ในปี 2543 เป็น 18.2 เท่าของรายได้ในปี 2547” นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า หนี้ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นกว่ารายได้ ระหว่างปี 2543 และ 2547 ครัวเรือนไทยมีหนี้เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 10.3 ต่อปี ในขณะที่มีรายได้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.4 ต่อปีเท่านั้น ระหว่างช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และในช่วงปี 2543 และ 2547 ครัวเรือนทุกระดับมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้สูงขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ต่ำสุด 20% ของประเทศ ทำให้ประเทศกำลังเดินสู่วิกฤตหนี้ของประชาชน
ส่วนกรณีที่คุณทักษิณอ้างว่า จำนวนคนว่างงานลดลงจาก 1,190,000 คน เหลือเพียง 500,000 คนนั้น นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้ลดลงจริง แค่เลือกตัวเลขมาพูด จริงแล้วทุกปีพอขึ้นปีใหม่ก็มีคนตกงานทันที 3 — 5 แสนคน ซ่งเป็นวัฎจักรปกติของการจ้างงาน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น คือผู้นำประเทศนำตัวเลขมาอ้างโดยไม่ดูบริบทของตัวเลขที่แท้จริงนั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะเห็นได้ชัดว่าจำนวนคนว่างงาน ต้นปี 2548 เกือบเท่าช่วงก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะมาเป็นรัฐบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ส.ค. 2549--จบ--
ส่วนการอ้างถึงความระดับความสนใจของต่างชาติที่มีต่อการลงทุนในประเทศไทยนั้น นายกรณ์ กล่าวว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สะท้อนต่อข้อเท็จจริงเช่นกันจะเห็นว่าส่วนแบ่งของการลงทุนในประเทศไทยเมื่อเทียบการลงทุนที่มีทั่วโลกพบว่าลดลง จาก 0.6 เปอร์เซ็นต์ หรือช่วงปี 40 — 41 ขึ้นไปสูงถึงกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าจากการลงทุนที่มีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่ากับ 1 % ของการลงทุนทั้งหมด แต่ว่าระดับการลงทุนลดลงมาเรื่อยๆ โดยที่ ณ สิ้นปี 2547 ระดับการลงทุนโดยส่วนแบ่งตลาดนักลงทุนไทยลดลงเหลือเพียง 0.22 % ของเงินลงทุนทีมีทั่วโลก
“ถ้าเปรียบเทียบนอกจากจะลดลงอย่างน่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับระดับการลงทุนทีมีอย่างต่อเนื่องในอดีต แต่ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะเป็นสถิติตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันไม่ได้ระบุไว้ตรงนี้ แต่ว่ายกตัวอย่างในเวลาเดียวกันคือสิ้นปี 47 ส่วนแบ่งตลาดของเวียดนามในแง่ของการลงทุนโดยต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามนั้นสูงถึง 0.29% ของเรา 0.22% คือพูดง่ายๆ ณ วันนี้ต่างชาติเริ่มให้ความใจที่จะลงทุนในประเทศเวียดนามมากกว่าประเทศไทยแล้ว ส่วนไต้หวันเช่นดันครับมีระดับส่วนแบ่งการลงทุนราวๆ 0.25% ในช่วงปี 47 สูงกว่าเราเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ประเทศเขาเล็กกว่าเราเยอะ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ตรงนี้จึงมีคำถามขึ้นมาว่า ทำไมต่างชาติถึงเมินที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ล่าสุดที่เห็นคือการย้ายฐานกำลังการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีของสหรัฐอเมริกาจากไทยเป็นมาเลเซีย โดยที่อ้างประสิทธิภาพของบุคลากรในเมืองไทยที่ด้อยกว่าของ “ เพราะฉะนั้นตรงนี้นี่ถ้ารัฐบาลยังหลอกตัวเองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศํกยภาพน่าสนใจสำหรับนักลงทุนก็จะเป็นความเชื่อที่อันตราย เพราะจะไม่มีการเข้ามาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงว่าทำไมต่างชาติถึงให้ความสนใจด้านการลงทุนน้อยลง.” นายกรณ์ กล่าว
“ถ้าเปรียบเทียบนอกจากจะลดลงอย่างน่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับระดับการลงทุนทีมีอย่างต่อเนื่องในอดีต แต่ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะเป็นสถิติตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันไม่ได้ระบุไว้ตรงนี้ แต่ว่ายกตัวอย่างในเวลาเดียวกันคือสิ้นปี 47 ส่วนแบ่งตลาดของเวียดนามในแง่ของการลงทุนโดยต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามนั้นสูงถึง 0.29% ของเรา 0.22% คือพูดง่ายๆ ณ วันนี้ต่างชาติเริ่มให้ความใจที่จะลงทุนในประเทศเวียดนามมากกว่าประเทศไทยแล้ว ส่วนไต้หวันเช่นดันครับมีระดับส่วนแบ่งการลงทุนราวๆ 0.25% ในช่วงปี 47 สูงกว่าเราเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ประเทศเขาเล็กกว่าเราเยอะ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตรงนี้ก็เป็นคำถามขึ้นมาว่า ทำไมต่างชาติถึงเมินที่จะมาลงทุนในไทย โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีปัญหาอะไรตัวอย่างล่าสุดที่เห็นก็คือการย้ายฐานกำลังการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีของสหรัฐอเมริกาจากไทยเป็นมาเลเซีย โดยที่อ้างถึงประสิทธิภาพถึงบุคลากรในเมืองไทยที่ด้อยกว่าของมาเลเซียจนทำให้เขาโยกย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพราะฉะนั้นตรงนี้นี่ถ้ารัฐบาลยังหลอกตัวเองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศํกยภาพน่าสนใจสำหรับนักลงทุนก็จะเป็นความเชื่อที่อันตราย เพราะจะไม่มีการเข้ามาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงว่าทำไมต่างชาติถึงให้ความสนใจด้านการลงทุนน้อยลง
“การที่พ.ต.ท.ทักษิณได้อ้างว่า วันที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 57 ขณะนี้ลดลงเหลือร้อยละ 41.4 ซึ่งถือว่าลดลงมาก ประเด็นที่สำคัญก็คือตัวเลขที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พูดเป็นตัวเลขหนี้สาธารณะไม่ได้รวมถึงหนี้ ที่เรียกว่า หนี้กึ่งการคลัง (Quasi fiscal) หนี้ที่ไปฝากอยู่ตามสถาบันการเงิน หนี้ที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดเพราะนโยบายของรัฐบาลถ้ารวมหนี้กึ่งการคลังอาจมีมูลค่าถึง 5 — 6 แสนล้านบาท ก็จะทำให้หนี้โดยรวมของรัฐบาลอยู่ที่ 49 — 50 % ไม่ใช่ 41% ตามคำกล่าวอ้างของพ.ต.ท.ทักษิณ” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้พูดถึงคือหนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวในช่วง 4 — 5 ปีภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลไทยรักไทย ทั้งที่หนี้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 104,000 บาทในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากเดิม 70,000 บาทในปี 2543 เพิ่มเกือบสองเท่า หนี้ครัวเรือนกู้บริโภคเพิ่มจาก 61% ของหนี้ทั้งหมดในปี 2543 เป็น 66% ในปี 2547 แปลว่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เอาไปลงทุนให้เกิดรายได้ แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มจาก 5.7 เท่าของรายได้ในปี 2543 เป็น 7.1 เท่าของรายได้ในปี 2547 “หนี้ที่เพิ่มเป็นปัญหาเร่งด่วน เพราะ คนจน 10% ของประเทศโดยเฉลี่ยมีหนี้เพิ่มจาก 7.5 เท่าของรายได้ในปี 2543 เป็น 18.2 เท่าของรายได้ในปี 2547” นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า หนี้ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นกว่ารายได้ ระหว่างปี 2543 และ 2547 ครัวเรือนไทยมีหนี้เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 10.3 ต่อปี ในขณะที่มีรายได้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.4 ต่อปีเท่านั้น ระหว่างช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และในช่วงปี 2543 และ 2547 ครัวเรือนทุกระดับมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้สูงขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ต่ำสุด 20% ของประเทศ ทำให้ประเทศกำลังเดินสู่วิกฤตหนี้ของประชาชน
ส่วนกรณีที่คุณทักษิณอ้างว่า จำนวนคนว่างงานลดลงจาก 1,190,000 คน เหลือเพียง 500,000 คนนั้น นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้ลดลงจริง แค่เลือกตัวเลขมาพูด จริงแล้วทุกปีพอขึ้นปีใหม่ก็มีคนตกงานทันที 3 — 5 แสนคน ซ่งเป็นวัฎจักรปกติของการจ้างงาน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น คือผู้นำประเทศนำตัวเลขมาอ้างโดยไม่ดูบริบทของตัวเลขที่แท้จริงนั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะเห็นได้ชัดว่าจำนวนคนว่างงาน ต้นปี 2548 เกือบเท่าช่วงก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะมาเป็นรัฐบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ส.ค. 2549--จบ--