กรุงเทพ--24 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่นาย Sinnathamby Rajaratnam อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกของสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ถงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 ณ บ้านพักในสิงคโปร์ ขณะมีอายุ 90 ปี นั้น
รัฐบาลไทยได้แสดงความเสียใจต่อรัฐบาลสิงคโปร์ต่อการสูญเสียครั้งนี้แล้ว โดย ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีสารแสดงความเสียใจถึงนาย George Yeo รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ดังมีข้อความดังต่อไปนี้
“Excellency,
I am deeply saddened to learn of the passing away of Mr. S Rajaratnam, one of the founding fathers of Singapore.
Mr. S Rajaratnam rendered enormous contributions to the success story of Singapore and to the establishment of ASEAN in 1967. Among his many life-long achievements, we remember Mr. S Rajaratnam as a chief architect of Singapore’s foreign policy, whose wisdom helped foster the ties of friendship between Thailand and Singapore.
On behalf of the Government and people of Thailand, I wish to extend my deep sympathy and condolences, through you, to the Rajaratnam family and to the Government and people of Singapore for this great loss.
Accept, Excellency, the renewed assurances of my highest consideration.
Dr. Kantathi Suphamongkon
Minister of Foreign Affairs of Thailand”
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดการที่จะไปลงนามในสมุดไว้อาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 09.30 น. ด้วย
นาย S. Rajaratnam เป็นบุคคลที่ได้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การสร้างชาติของสิงคโปร์ ภายหลังจากที่ได้แยกตัวจากมาเลเซีย หรือสหพันธรัฐมลายาในขณะนั้น ออกมาเป็นประเทศใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยนาย Rajaratnam ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกของสิงคโปร์ รวมทั้งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่อยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดด้วย (15 ปี) อนึ่ง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ นาย S. Rajaratnam ยังได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2510
นาย Rajaratnam เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2458 ที่เมือง Jaffna ประเทศศรีลังกา และต่อมาครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานจากศรีลังกาไปยังมาเลเซีย นาย Rajaratnam สำเร็จการศึกษาจาก Victoria Institution กรุงกัวลาลัมเปอร์ และจาก Raffles Institution ที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นได้เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าว (ระหว่างปี พ.ศ. 2493-2497) แล้วได้เข้าสู่วงการเมืองโดยร่วมเป็นผู้ก่อตั้งพรรค People’s Action Party ร่วมกับนายลี กวนยู นายกรัฐมนตรีแรกของสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษาของรัฐบาลสิงคโปร์
นาย Rajaratnam เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลสหพันธรัฐมลายา (ระหว่างปี. พ.ศ. 2502 - 2508) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ (พ.ศ. 2508 - 2523) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2511 — 2514) รองนายกรัฐมนตรีอันดับสองของสิงคโปร์ (พ.ศ. 2523 - 2528) และรัฐมนตรีอาวุโส (พ.ศ. 2523 - 2531) เป็นตำแหน่งสุดท้าย ภายหลังจากเกษียณอายุทางการเมือง สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของสิงคโปร์ (ISEAS) ได้เชิดชูเกียรติโดยมอบตำแหน่ง Senior Distinguished Fellow ให้ และได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงปี พ.ศ. 2539
เมื่อประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ได้พร้อมใจกันประกาศ “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (The Bangkok Declaration) ก่อตั้งอาเซียน ที่กระทรวงการต่างประเทศ พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 นั้น นาย Rajaratnam ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ได้เป็นผู้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลสิงคโปร์
ผู้แทนรัฐบาลอื่นๆ ที่ได้ลงนามร่วมก่อตั้งอาเซียนได้แก่นาย Adam Malik รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้น (ซึ่งต่อมาจะได้เป็นรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย) นาย Narciso R. Ramos รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ (บิดาของอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส) Tun Abdul Razak รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (ต่อมาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย) และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเพียงท่านเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่นาย Sinnathamby Rajaratnam อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกของสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ถงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 ณ บ้านพักในสิงคโปร์ ขณะมีอายุ 90 ปี นั้น
รัฐบาลไทยได้แสดงความเสียใจต่อรัฐบาลสิงคโปร์ต่อการสูญเสียครั้งนี้แล้ว โดย ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีสารแสดงความเสียใจถึงนาย George Yeo รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ดังมีข้อความดังต่อไปนี้
“Excellency,
I am deeply saddened to learn of the passing away of Mr. S Rajaratnam, one of the founding fathers of Singapore.
Mr. S Rajaratnam rendered enormous contributions to the success story of Singapore and to the establishment of ASEAN in 1967. Among his many life-long achievements, we remember Mr. S Rajaratnam as a chief architect of Singapore’s foreign policy, whose wisdom helped foster the ties of friendship between Thailand and Singapore.
On behalf of the Government and people of Thailand, I wish to extend my deep sympathy and condolences, through you, to the Rajaratnam family and to the Government and people of Singapore for this great loss.
Accept, Excellency, the renewed assurances of my highest consideration.
Dr. Kantathi Suphamongkon
Minister of Foreign Affairs of Thailand”
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดการที่จะไปลงนามในสมุดไว้อาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 09.30 น. ด้วย
นาย S. Rajaratnam เป็นบุคคลที่ได้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การสร้างชาติของสิงคโปร์ ภายหลังจากที่ได้แยกตัวจากมาเลเซีย หรือสหพันธรัฐมลายาในขณะนั้น ออกมาเป็นประเทศใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยนาย Rajaratnam ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกของสิงคโปร์ รวมทั้งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่อยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดด้วย (15 ปี) อนึ่ง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ นาย S. Rajaratnam ยังได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2510
นาย Rajaratnam เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2458 ที่เมือง Jaffna ประเทศศรีลังกา และต่อมาครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานจากศรีลังกาไปยังมาเลเซีย นาย Rajaratnam สำเร็จการศึกษาจาก Victoria Institution กรุงกัวลาลัมเปอร์ และจาก Raffles Institution ที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นได้เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าว (ระหว่างปี พ.ศ. 2493-2497) แล้วได้เข้าสู่วงการเมืองโดยร่วมเป็นผู้ก่อตั้งพรรค People’s Action Party ร่วมกับนายลี กวนยู นายกรัฐมนตรีแรกของสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษาของรัฐบาลสิงคโปร์
นาย Rajaratnam เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลสหพันธรัฐมลายา (ระหว่างปี. พ.ศ. 2502 - 2508) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ (พ.ศ. 2508 - 2523) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2511 — 2514) รองนายกรัฐมนตรีอันดับสองของสิงคโปร์ (พ.ศ. 2523 - 2528) และรัฐมนตรีอาวุโส (พ.ศ. 2523 - 2531) เป็นตำแหน่งสุดท้าย ภายหลังจากเกษียณอายุทางการเมือง สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของสิงคโปร์ (ISEAS) ได้เชิดชูเกียรติโดยมอบตำแหน่ง Senior Distinguished Fellow ให้ และได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงปี พ.ศ. 2539
เมื่อประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ได้พร้อมใจกันประกาศ “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (The Bangkok Declaration) ก่อตั้งอาเซียน ที่กระทรวงการต่างประเทศ พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 นั้น นาย Rajaratnam ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ได้เป็นผู้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลสิงคโปร์
ผู้แทนรัฐบาลอื่นๆ ที่ได้ลงนามร่วมก่อตั้งอาเซียนได้แก่นาย Adam Malik รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้น (ซึ่งต่อมาจะได้เป็นรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย) นาย Narciso R. Ramos รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ (บิดาของอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส) Tun Abdul Razak รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (ต่อมาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย) และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเพียงท่านเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-